COVID-19

‘หมอธีระวัฒน์’ เตือน ‘ฝีดาษลิง’ พร้อมปะทุตลอดเวลา แนวโน้มพุ่ง ไม่จบง่าย ๆ

“หมอธีระวัฒน์” เตือน “ฝีดาษลิง” พร้อมปะทุตลอดเวลา แนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ชี้การระบาดแพร่กระจายจะไม่จบสิ้นในเวลาอันรวดเร็ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ว่า ฝีดาษลิงไม่ได้ติดต่อกันง่ายแบบที่เราเห็นในโควิด แม้ว่ากลไกการแพร่จะเป็นในลักษณะแบบเดียวกันคือ การสัมผัสใกล้ชิด โดยเฉพาะ ขณะมีเพศสัมพันธ์ สัมผัสกับผื่น (ยกเว้นที่เป็นสะเก็ดแล้ว) แพร่ทางละอองฝอย ไอ จาม และการแพร่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคนติดเชื้อเริ่มมีอาการแล้ว (ไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว ปวดหลัง ตามด้วยผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต)

ฝีดาษลิง

ฝีดาษลิงพร้อมปะทุขึ้นตลอดเวลา

ฝีดาษลิงเตรียมพร้อมที่จะมีการปะทุขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนในทุกประเทศทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษหรือฝีดาษซึ่งสามารถมีภูมิคุ้มกันข้ามไปยังฝีดาษลิงได้อย่างน้อยถึง 85%

แต่การฉีดวัคซีนไข้ทรพิษได้มีการยุติลงในปี 2523 ทั้งนี้เนื่องจากถือว่าไข้ทรพิษได้สูญไปจากโลกแล้ว ดังนั้นคนที่เกิดก่อนปี 2523 ในประเทศไทย ซึ่งน่าจะมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป น่าจะยังมีภูมิคุ้มกันฝีดาษลิงอยู่ได้ แต่ไม่ทั้งหมด

ทั้งนี้ เมื่ออ้างอิงตามหลักฐานที่มีการศึกษารายงานในวารสารนิวอิงแลนด์ในปี 2007 ศูนย์สัตว์จำพวกลิงในรัฐโอเรกอนของประเทศสหรัฐ โดยเป็นการศึกษาระยะยาวในเจ้าหน้าที่ 45 คนและทำการติดตามภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนไปยาวเฉลี่ย 15 ปีหรือนานกว่า พบว่า 60% ยังคงมีภูมิคุ้มกันต่อฝีดาษลิงได้ หลังจากที่ฉีด วัคซีนไข้ทรพิษแล้ว

ฝีดาษลิง
ภาพจากเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ฝีดาษลิงจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

โดยที่ประเมินว่าภูมิที่ยังเหลืออยู่นั้น ควรจะมีระยะเวลาที่ใช้ได้อยู่ถึง 90 ปีจากการดูหลักฐานในเซลล์ความจำระบบ B cell และระดับของภูมิในน้ำเหลือง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะสามารถยืนยาวได้ทั้งหมดทุกคนที่มีภูมิคุ้มกันหลงเหลืออยู่ ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพของ ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะถดถอยลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น สถานะภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity)ที่ได้รับจากวัคซีนไข้ทรพิษ ทั้งใน อาฟริกา และทั้งโลก น่าจะเริ่มเสื่อมโทรมไป

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันปาสเตอร์ได้ทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ รายงานใน bulletin ของ องค์การอนามัยโลกในปี 2020 และได้ข้อสรุป และตั้งข้อสังเกตว่าฝีดาษลิงจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แปรตาม สัดส่วนของภาวะภูมิคุ้มกันที่เริ่มลดลงในประชากรในประเทศแอฟริกา เช่น คองโก หลังจากที่หยุดการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันข้ามไปยังฝีดาษลิงได้ และเริ่มเห็นการระบาดหนาตาขึ้นเรื่อย ๆ

ฝีดาษลิง

และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเหมือนกับเป็นการนับวันรอปะทุ โดยที่ความสามารถในการแพร่จากคนหนึ่งไปสู่คนอื่นที่เดิมน้อยกว่าหนึ่ง ประมาณ 0.7-0.8 นั่นคือ คนติดเชื้อหนึ่งคน สามารถแพร่ต่อไปหาคนอื่นได้น้อยมาก แต่อาจจะสูงขึ้น เป็นมากกว่าหนึ่ง และนั่น หมายถึง การระบาดแพร่กระจายจะไม่จบสิ้นในเวลาอันรวดเร็ว (sustained transmission)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK