COVID-19

ท่องไว้ให้ขึ้นใจ 6 “อย่า” ในครึ่งปีหลังของ 2565 กับโอไมครอน

“หมอธีระวัฒน์” เตือน 6 “อย่า” ในครึ่งปีหลังของ 2565 กับโอไมครอน เมื่อยาต้านไวรัสยังเข้าถึงได้ยาก และเฉพาะกลุ่ม แนะระวังตัวป้องกันติดเชื้อ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha รวม 6 “อย่า” ในครึ่งปีหลังของ 2565 กับโอไมครอน (และอื่นๆ) ดังนี้

โอไมครอน

1. อย่าทะนงตนว่าเป็นหนุ่มสาวหรือไม่มีโรคประจำตัว แล้วไม่เป็นไร

นอกจากจะเป็นตัวแพร่เชื้อที่มีประสิทธิภาพแล้ว ที่สำคัญแพร่ไปยัง คนสูงวัย คนเปราะบาง ในครอบครัว ในชุมชน เราเห็นกันแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นในโรงพยาบาลขณะนี้ คนที่ดูแข็งแรงอายุ 40 ปี อาการหนักได้

2. อย่าคิดว่าเมื่อติดเชื้อแล้ว และเริ่มมีอาการจะรักษาง่าย ๆ

กลไกของการติดเชื้อเมื่อเข้าร่างกายแล้วจะเพิ่มจำนวน และถ้า หยุดยั้งไม่ได้หรือไม่ทัน เชื้อจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกระบบที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง

จากผลของการอักเสบจะกระทบทุกอวัยวะในร่างกาย และรวมทั้งทำให้เลือดข้น เกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ทั่วไปด้วย

shutterstock 2072122832

3. อย่าคิดว่ามียาต้านไวรัสแค่นั้นก็พอ

เพราะ ยาต้านขณะนี้ การเข้าถึง ยังไม่เร็วพอ เนื่องจากคนติดเชื้อมีหนาแน่น โรงพยาบาลเต็ม สายด่วนรับไม่ทัน

ยาต้านขณะนี้ จำเป็นต้องจ่ายเอง อย่างน้อยก็ตามสิทธิ และต้องผ่านการประเมิน ว่าสมควรได้ เช่น กลุ่ม 608

ยาโมลนูพิราเวียร์จากนอกราคาชุดละ 10,000 บาทขึ้นไป

ชุดที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ลาว เขมร ที่ขอสิทธิ ผลิตเองจากบริษัทตั้งแต่ต้น และอินเดีย ราคา ประมาณ 1,000 บาท แต่ร้านยาจำหน่ายไม่ได้ เพราะผิดกฎหมาย

ยาเหล่านี้ ที่สำคัญต้องให้เร็ว ตั้งแต่ยังไม่หนัก เพื่อกันไม่ให้ต้องเข้า โรงพยาบาล ดังนั้น อยู่ที่การดำเนินของโรค และการตัดสินใจในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ

ดังนั้น เวลาที่ผ่านไป ยาจะเริ่มได้ผลจำกัด นั่นเป็นเพตุผลที่ การเริ่มด้วยฟ้าทะลายโจรตั้งแต่แรก (ไม่ต้องรอ 2 ขีด) จึงสำคัญยิ่ง และเชื้อเมื่อเพิ่มจำนวน จะเข้าระยะที่สอง คือกระตุ้นภูมิไม่ดี และเกิดการอักเสบ

เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นจำเป็นต้องให้ยากดการอักเสบ ซึ่งทำให้ติดเชื้ออื่นได้ง่ายขึ้น จากการกดภูมิคุ้มกัน และปอดอักเสบที่เห็นนั้น จะกลายเป็นทั้งจากไวรัสและแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้

นพ
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

4. อย่าคิดว่า ถ้าตัวเลขลดลงหมายความว่าต่อไปนี้ไม่ต้องระวังตัวแล้ว

ต้องเข้าใจข้อจำกัดของการที่จะตรวจให้ได้ทุกคนในทุกพื้นที่ของประเทศ แม้ว่าตัวเลขจะลดลงก็ตามยังคงมีผู้ติดเชื้อที่ไม่รู้ตัวและไม่แสดงอาการอยู่ทั่วไปได้

5. อย่าเข้าไปในสถานที่แออัด ที่อับ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

สถานที่ดังกล่าวและยิ่งมีคนที่แพร่เชื้อได้หลายคน โอกาสที่จะได้รับเชื้อยิ่งสูงขึ้นและจำนวนเชื้อมากขึ้นตั้งแต่ต้น เชื้อที่อยู่กับละอองฝอยจะอบอวลอยู่ในอากาศได้นาน และแม้เมื่อตกพื้นไปแล้วการเดินจะกระพือให้ละอองฝอยเหล่านี้ลอยขึ้นอีก (จากข้อมูลของประเทศจีนตั้งแต่ปี 2563)

6. อย่านิ่งนอนใจในภาวะโรคประจำตัวทุกอย่าง ต้องคุมให้ได้

โรคประจำตัวจะเปิดโอกาสทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เกี่ยวข้องกับกลไกในการรับเชื้อและการเพิ่มจำนวนของเชื้อได้เก่งขึ้น นอกจากนั้น โรคประจำตัวหลายชนิดจะมีลักษณะของการเอื้อให้เกิดมีการอักเสบในร่างกายอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ การอักเสบของข้อ การรักษาจะยิ่งซับซ้อนขึ้น ทั้งจากโควิดเอง และโรคประจำตัวที่ปะทุซ้ำซ้อนขึ้น

โควิด ปะทะกับโรคประจำตัว ที่แม้คุมมาอย่างดีเยี่ยม ยังทำให้ โรคปะทุใหม่ได้ คนที่เป็นมะเร็ง รักษามาดี อัมพฤกษ์ หัวใจปอด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo