COVID-19

‘BA.2.75’ มาแรงแซงโค้ง กลายพันธุ์มากกว่า 100 ตำแหน่ง คาดระบาดแทนที่ทุกสายพันธุ์

ศูนย์จีโนมฯ เผยผลถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโควิด-19 พบ “BA.2.75” กลายพันธุ์จาก อู่ฮั่น มากกว่า 100 ตำแหน่ง คาดระบาดเป็นสายพันธุ์หลัก

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เผยการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนม พบสายพันธุ์ย่อยใหม่ BA.2.75 กลายพันธุ์ไปมากที่สุด โดยระบุว่า

BA.2.75

สรุปได้หรือไม่ว่าโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 รวมทั้งสายพันธุ์ที่พบระบาดขึ้นมาใหม่ อย่างรวดเร็ว เช่น BA.2.75 (เซนทอรัส) และ BA.3.5.1 (Bad Ned) จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์หรือเป็นไวรัสสายพันธุ์ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสถานะของโรคประจำถิ่น?

จากการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนมพบว่า

1. BA.2.75 ชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ เซนทอรัส (Centaurus) มีการกลายพันธุ์ไปมากที่สุดเมื่อเทียบกับไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่มีการระบาดมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม (อู่ฮั่น) ไปมากกว่า 100 ตำแหน่ง

2. BA.3.5.1 (Bad Ned) กลายพันธุ์มากเป็นอันดับสอง ต่างไปจากไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ดั้งเดิมประมาณ 90 ตำแหน่ง

3. BA.5 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ดั้งเดิมประมาณ 85 ตำแหน่ง

4. BA.4 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ดั้งเดิมประมาณ 80 ตำแหน่ง

5. BA.2.12.1 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ดั้งเดิมประมาณ 75-78 ตำแหน่ง

6. BA.2 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ดั้งเดิมประมาณ 75ตำแหน่ง

1 10

คาดว่าอีกไม่นานโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ที่ขณะนี้กลายพันธุ์ไปมากกว่า 100 ตำแหน่ง (ต่างจากอู่ฮั่น) น่าจะสามารถ แพร่ระบาดเข้ามาเป็นสายพันธุ์หลัก แทนที่ทุกสายพันธุ์ที่กล่าวมาข้างต้น

จากการศึกษาธรรมชาติการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 โดยอาศัยข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้จากผู้ติดเชื้อกว่า 11.8 ล้านราย ที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกช่วยกันอัปโหลดขึ้นบนระบบคลาวด์ของฐานข้อมูลโควิดโลก GISAID

พบว่า หากไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ย่อยที่อุบัติขึ้นมาใหม่หากมีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม อู่ฮั่น มากเท่าไร ก็จะส่งผลให้สายพันธุ์นั้นจะมีการแพร่ระบาดในกลุ่มประชากรได้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น โดยแปรผันตรงกับจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น แต่อาจไม่สัมพันธ์กับอาการเจ็บป่วยและเสียชีวิต

2 9

ส่วนโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA4/BA.5 ซึ่งมีการกลายพันธุ์ไปอย่างมากเช่นกัน ทำให้บางตำแหน่งของหนาม (spike) ที่อยู่บนเปลือกนอกของอนุภาคไวรัส มีการเปลี่ยนแปลงไปเหมือนกับสายพันธุ์เดลตา บางตำแหน่งของหนามมีการกลายพันธุ์ไปเหมือนกับสายพันธุ์ อัลฟา เบตา และแกมมา

นอกจากนั้น ผลทดสอบทางห้องปฏิบัติการยังพบว่า BA.4/BA.5 เจริญในเซลล์ปอดมนุษย์ที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองได้ดี โดยเซลล์ติดเชื้อมีการหลอมรวมกัน (fusion) กลายเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ (giant cell) อันสามารถดึงดูดเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายให้เข้ามาทำลายเกิดการอักเสบของปอดขึ้นได้

อีกทั้งพบการว่า BA.4/BA.5 สามารถเจริญในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างและในปอดหนูทดลองได้ดี ทำให้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมที่เป็นสายพันธุ์อันตรายต่อมนุษย์ เช่นเดียวกับสายพันธุ์เดลตา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก https://www.facebook.com/CMGrama/posts/5165817486859323

คำถาม คือ ในชีวิตจริง BA.4 และBA.5 เป็นภัยร้ายแรงต่อมนุษย์ผู้ติดเชื้อหรือไม่ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา หรือ โอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.1 และ BA.2 ที่มีการระบาดมาก่อนหน้านี้ โดยพิจารณาจากประเทศที่มีการติดเชื้อ BA.4/BA.5 เป็นประเทศแรก

4 3

ประเทศแอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกที่พบการระบาดใหญ่ของ BA.4/BA.5 ติดตามมาด้วยประเทศโปรตุเกส หากพิจารณาข้อมูลการระบาดและข้อมูลทางคลินิกพบว่าการระบาดจะเกิดขึ้น คงอยู่ และสงบลงภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน

ประเทศแอฟริกาใต้การระบาดได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ส่วนโปรตุเกสใกล้จะยุติลง โดยพบว่าอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ติดเชื้อที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. และผู้เสียชีวิต น้อยกว่าในช่วงฟีกการของระบาดของ BA.1/BA.2 และ น้อยกว่าช่วงพีกการระบาดของเดลตาเช่นกัน

ไวรัสดูเหมือนจะมีการปรับตัวอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้มากขึ้น ซึ่งอาจมีปัจจัยสืบเนื่องมาจากจำนวนผู้ติดเชื้อตามธรรมชาติและ/หรือจำนวนประชากรได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน (จาก Memory T & B cells) สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อไม่เจ็บป่วยรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แม้จะติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์เดิมหรือสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ ซึ่งร่างกายไม่เคยพบหรือมีภูมิคุ้มกันมาก่อนก็ตาม

5 2

BA.4 และ BA.5 คาดว่าสามารถอยู่ร่วมกับประชาชนในประเทศแอฟริกาใต้ และประเทศโปรตุเกสได้ เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อรุนแรงต้องเข้า รพ. และเสียชีวิตมีจำนวนไม่เกินกว่าระบบสาธารณสุขของทั้งสองประเทศจะรองรับได้

การระบาดของ BA.4/BA.5 ในอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปขณะนี้ อยู่ในช่วงขาขึ้น ต้องรอผลการแพร่ระบาดอีก 2 อาทิตย์-1 เดือนจากนี้ถึงจะสรุปได้ว่า BA.4/BA.5 จะเป็นมิตรหรือศัตรูต่อกลุ่มประชากรในประเทศเหล่านั้น

การระบาดของ BA.4/BA.5 ในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน หากเทียบอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เจ็บป่วยอาการรุนแรง และผู้เสียชีวิต กับประเทศอื่นที่กล่าวมาถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คงต้องรออีกระยะถึงจะสรุปได้ว่าจะมีผู้เจ็บป่วย เสียชีวิตเหมือนในช่วงการระบาดของเดลตาหรือไม่ (ภาพ 7)

7ไทย

ในเอเชียประเทศที่มีกลุ่มผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก เช่นประเทศเกาหลีใต้ หรือในฮ่องกงย่อมสุ่มเสี่ยงที่จะมีจำนวนผู้ติดเชื้ออาการรุนแรงต้องเข้ารักษาใน รพ. เพิ่มมากขึ้นจนระบบสาธารณสุขอาจรองรับไม่ได้ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละประเทศอาจต้องเร่งพิจารณาหาวัคซีนเจนเนอเรชันที่สองที่ใช้โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยอย่างน้อย BA.4 และ BA.5 เป็นสายพันธุ์ตั้งต้นในการผลิตวัคซีน

สำหรับข้อมูลการระบาดและข้อมูลทางคลินิกของ BA.2.75 และ BA.3.5.1 ยังมีน้อยมาก จึงสรุปไม่ได้ว่าสองสายพันธุ์นี้จะเป็นมิตรหรือเป็นศัตรูกับมนุษย์ แต่ที่แน่นอนคือ มีกลายพันธุ์ไปมากกว่า BA.4 และ BA.5 อันน่าจะส่งผลให้มีอัตราการแพร่ระบาดที่สูงกว่า BA.4 และ BA.5 หลายเท่า

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo