COVID-19

‘หมอธีระ’ เปิดคำเตือน WHO โควิดยังระบาดต่อเนื่อง ไม่มีวี่แววว่าจะสิ้นสุด!

“หมอธีระ” เปิดคำเตือน WHO ชี้โควิดยังระบาดต่อเนื่อง ไม่มีวี่แววว่าจะสิ้นสุด แนะทุกประเทศเร่งขันน็อตมาตรการป้องกัน หลังพบคนป่วย-เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า 13 กรกฎาคม 2565 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 810,590 คน ตายเพิ่ม 1,403 คน รวมแล้วติดไป 562,672,563 คน เสียชีวิตรวม 6,376,399 คน

คำเตือน WHO

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา บราซิล และญี่ปุ่น

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็น 71.29% ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็น 46.04%

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 11 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

คำเตือน WHO

…คำเตือนจากองค์การอนามัยโลก

คำเตือน WHO ล่าสุดทางผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกออกมาเตือนอีกครั้งว่า ขณะนี้การระบาดของโควิด-19 ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ยังไม่มีวี่แววว่าจะสิ้นสุด หลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีการเปิดเสรีการใช้ชีวิต ทำให้ระบาดหนักขึ้น แม้จะมีการฉีดวัคซีนไปมากพอสมควร แต่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้แต่ละประเทศพิจารณาขันน็อตมาตรการป้องกัน เพื่อควบคุมการระบาด เนื่องจากพบว่ามีจำนวนคนป่วย และเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น

…อยู่ร่วมกับโควิด-19 จำเป็นต้องอยู่อย่างระมัดระวัง

หากดูสถานการณ์ของไทยเราขณะนี้ ต้องยอมรับว่ามีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการดูแลรักษา นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างเรื่องชนิดของยา ข้อบ่งชี้ และการเข้าถึงยาแต่ละชนิดที่ต่างจากประเทศพัฒนาแล้ว

ประเด็นหลักที่ทั่วโลกกังวลคือ การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้น ไม่ได้เป็นเหมือนหวัดธรรมดา ไม่กระจอก แต่เสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง เสียชีวิต และยังเสี่ยงต่อความผิดปกติระยะยาวอย่าง Long COVID ได้

คำเตือน WHO

หลายประเทศประสบปัญหามีผู้ป่วย Long COVID จำนวนมาก ทำให้บั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในระบบ รวมถึงเกิดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศ

ผลกระทบข้างต้น ไม่จบอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจ แต่นำไปสู่ภาวะพึ่งพิงที่มากขึ้น และเกิดปัญหาสังคมตามมาในระยะยาว
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้น ด้วยการเปิดเสรีการใช้ชีวิต ให้ทำมาหากิน ค้าขาย รวมถึงศึกษาเล่าเรียนได้นั้น เป็นเรื่องจำเป็น

แต่การใช้ชีวิตในยุคที่ยังมีโรคระบาดรุนแรงที่ส่งผลกระทบไม่จบแค่ตอนติดเชื้อนั้น เรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ การป้องกันควบคุมโรคระหว่างการใช้ชีวิตด้วย

มิฉะนั้นผลกระทบระยะยาวที่จะเกิดขึ้นนั้น คงได้ไม่คุ้มเสีย

ย้ำอีกครั้งว่า การใส่หน้ากากคือหัวใจสำคัญ

ใช้ให้คุ้นชิน เป็นอวัยวะที่ 33 ระหว่างการออกตะลอนนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK