COVID-19

ผลสำรวจ ชี้ 83% เมินเที่ยว ‘สถานบันเทิง’ เพราะกลัว ‘โควิด’ และเน้นนั่งชิล มากกว่ามีเด็กนั่งดริ๊งก์

ผลสำรวจ ชี้ ประชาชน 83% ไม่เที่ยว ‘สถานบันเทิง’ เพราะยังกลัวโควิด และเน้นนั่งชิล ไม่แออัด มากกว่ามีเด็กนั่งดริ๊งก์

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผย ผลการสำรวจ การเฝ้าระวังการตัดสินใจต่อมาตรการปลดล็อกสถานบันเทิง ในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 17 – 30 มิถุนายน 2565  โดยกลุ่มเฝ้าระวังและเตือนภัยพฤติกรรมสุขภาพ กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบออนไลน์ (Google Form)

โดยได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา และวิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่เป้าหมาย

หหห 1

ผู้ตอบแบบสำรวจ อายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80 เพศชาย ร้อยละ 20  ตอบแบบสอบถาม จำนวน 7,507 ราย พบว่า มีประชาชนเลือกไม่ไปสถานuันเทิง ร้อยละ 83.5 โดยมีเหตุผล ดังนี้

สาเหตุ ไม่เลือกไปเที่ยว สถานบันเทิง

  • ไม่ชอบเที่ยวสถานuันเทิง 92.58%
  • กังวลผู้มาใช้บริการไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน 87.97%
  • กังวลหากติดโควิด 19 จะส่งผลต่อครอบครัว และการทำงาน 87.56%
  • กังวลหากติดโควิด 19 จะมีอาการลองโควิด ร่างกายจะไม่เหมือนเดิม 85.31%
  • ไม่มั่นใจมาตรการป้องกันโควิด 19 ของสถานบันเทิง 78.64%

จากข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่ไปเที่ยวสถานuันเทิง จากเหตุผลส่วนตัวที่ไม่ชอบเที่ยว และยังมีความกังวลกับมาตรการป้องกันในสถานuันเทิงที่เปิดให้บริการ ที่อาจยังไม่เข้มงวดเท่าที่ควร โดยเฉพาะความกังวลกับโรคโควิด 19 ที่ยังคงอยู่ ซึ่งหากไปเที่ยวสถานบันเทิง อาจเป็นผู้นำเชื้อโรคดังกล่าว มาแพร่กระจายสู่ครอบครัวได้

ดังนั้นสถานuันเทิงที่เปิดให้บริการ จึงต้องปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขและข้อกำหนด ศบค. โดยจำกัดเวลาในการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และให้บริการไม่เกิน 24.00 น. ห้ามบุคคลที่ยังไม่รับวัคซีน/ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เข้าใช้บริการ

สถานบันเทิง

เน้นแบบนั่งชิล มากกว่ามีการรวมกลุ่ม และมีเด็กนั่งดริ๊งก์

สำหรับประชาชนที่เลือกไปสถานuันเทิง 16.5% นั้น เลือกไปสถานuันเทิง 6 รูปแบบ ดังนี้

  • สถานuันเทิงแบบนั่งชิล 83.43%
  • สถานuันเทิงที่มีคาราโอเกะ 47.37%
  • สถานuันเทิงที่ติดแอร์ 45.03%
  • สถานuันเทิงที่มีกิจกรรมเต้นรำ และเต้นรวมกลุ่ม 44.7%
  • สถานuันเทิงที่ขายแอลกอฮอล์แบบพนักงานผสมเครื่องดื่มให้ 40.66%
  • สถานuันเทิงที่มีคู่บริการ เช่น พนักงานนั่งดริ๊งก์/เชียร์เครื่องดื่ม 28.94%

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปลดล็อกสถานuันเทิงเพื่อผ่อนคลายจากการระบาดเชื้อโควิด 19 ที่กลายเป็นโรคประจำถิ่น และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ตาม หากแต่พฤติกรรมการใช้บริการสถานuันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการร้องคาราโอเกะ การไปในสถานuันเทิงที่ติดแอร์ อากาศปิดไม่ถ่ายเท มีการเต้นรำและเต้นรวมกลุ่ม รวมทั้งการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่อาจมีการใช้แก้วร่วมกัน เหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลต่อการแพร่กระจายโรคโควิด 19 ได้

สถานบันเทิง

ดังนั้น ในการเปิดสถานuันเทิงในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่าง ๆ จึงต้องให้ความร่วมมือลงทะเบียน และประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID 2Plus (TSC 2+) ต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับการปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting

และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด 19 ขั้นสูงสุดแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention : UP) อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ แยกสํารับ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รับประทานร่วมกันในสถานuันเทิงอย่างเข้มงวด

และหากสงสัยว่าตนเองเสี่ยงควรตรวจด้วย ATK ทุก 3 – 5 วัน เพื่อคัดกรองเบื้องต้น เพื่อความปลอดภัยการแพร่กระจายไปยังกลุ่มเพื่อน และในครอบครัวต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo