COVID-19

‘หมอยง’ บอกข้อควรรู้ วิธีตรวจ ATK โควิด-19 ติดเชื้อช่วงไหนขึ้นสองขีด ตรวจซ้ำเมื่อไร

“หมอยง” แนะผู้ที่ตรวจ ATK พบโควิด-19 ควรรู้วิธีการใช้ ช่วงเวลาตรวจให้ผลแม่นยำที่สุด กลุ่มเสี่ยงสูงควรตรวจซ้ำตอนไหน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่อง ผู้ที่ตรวจพบโควิด-19 ด้วย ATK ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ATK โดยระบุว่า

ตรวจ ATK

เราใช้วิธีการตรวจ ATK กันมาก และรู้จักคำว่า 2 ขีด แปลว่า ตรวจพบ แอนติเจนของไวรัส

ATK เกือบทั้งหมด ใช้ nucleocapsid โปรตีน ดังนั้น ถ้าเอาวัคซีนเชื้อตาย Sinovac มาหยอดใส่ ATK จะได้ผลบวก ( 2 ขีด) ส่วนวัคซีนอื่น แม้กระทั่ง Covovax (Novavax) จะให้ผลลบ เพราะเป็นโปรตีนส่วนสไปรท์ (ดังรูป)

ความไวของ ATK สู้การตรวจด้วย RT PCR ไม่ได้ (ความไวจะประมาณ 60 ถึง 80%)

ATK ที่ให้ผลบวกจะอยู่ในช่วงที่มีปริมาณไวรัสสูง หรือ Ct ของ RT-PCR ต่ำกว่า 28

ในผู้ป่วยที่ตรวจพบ ATK 2 ขีดมีความจำเพาะสูง ดังนั้นส่วนมากที่ตรวจพบ 2 ขีดจะเป็นการติดเชื้อจริง

ATK

ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะตรวจพบ ATK เป็น 2 ขีด ได้เปอร์เซ็นต์ที่สูงหลังมีอาการ 3 ถึง 5 วัน และก็จะให้มีเปอร์เซ็นต์การให้ผลลบเพิ่มขึ้น โดยที่ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดหลัง 10 วันไปแล้ว ATK มักจะให้ผลลบแล้ว

ตรงข้ามกับ RT-PCR จะยังคงให้ผลบวก หรือตรวจพบอยู่หลายสัปดาห์

ผู้ป่วยที่มีอาการมาก จะตรวจพบ ATK ผลบวกอยู่ได้นานกว่าผู้ที่มีอาการน้อย แต่โดยรวมแล้วเมื่อเกิน 10 วันไปแล้วส่วนมาก (มากกว่า 90%) จะให้ผลลบ

สำหรับผู้ป่วยที่ตรวจพบ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตรวจซ้ำ หรือติดตามว่าเมื่อไหร่จะให้ผลลบ โดยทั่วไปแล้วเชื้ออยู่ในร่างกาย และสามารถแพร่กระจาย และมีชีวิตติดต่อได้ หรือตรวจพบได้จากการเพาะเชื้อ ไม่เกิน 10 วัน ในคนที่แข็งแรงและภูมิต้านทานปกติ

LINE ALBUM Covid atk สถานที่ต่างๆ ๒๒๐๔๑๑ 1

การกักตัวปัจจุบันจึงให้อยู่ในเกณฑ์ 7 วัน หลังมีอาการขึ้นอยู่กับอาการมากหรือน้อย หลังจากนั้นให้ปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดในการลดการแพร่กระจายเชื้อ จนครบ 10 วัน

ในผู้สัมผัสโรคและมีความเสี่ยงสูง ควรตรวจ ATK ในวันที่ทราบหรือสัมผัสโรค และหลังจากนั้นตรวจในวันที่ 3 และ 7 ก็เพียงพอแล้ว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo