COVID-19

อย่าวางใจ ‘โอไมครอน’ ออสเตรเลียพบ ‘BA.5’ ติดเชื้อเหมือนเดลตา

“ดร.อนันต์” เผยทีมวิจัยออสเตรเลีย พบโอไมครอน BA.5 ติดเชื้อเหมือนเดลตา ส่งผลลงปอดได้สูงกว่า BA.1-BA.2 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana พบข้อมูลน่าสนใจ โอไมครอน BA.5 ติดเชื้อเหมือนเดลตา โดยระบุว่า\โอไมครอน

ทีมวิจัยจากออสเตรเลีย ได้พัฒนาระบบเซลล์เพาะเลี้ยงไวรัส SARS-CoV-2 ที่สามารถแยกจับเชื้อปริมาณน้อย ๆ จากตัวอย่างออกมาได้

โดยทีมวิจัยใช้เซลล์ดังกล่าว ในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสในประเทศแบบไว ๆ โดยอาจไม่ต้องเสียเวลาถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส ซึ่งแพงและใช้เวลา

งานนี้เพิ่งตีพิมพ์ไปในวารสาร Nature Microbiology

หลังจากตีพิมพ์ไป หัวหน้าทีมวิจัยก็ออกมาทวิตผลจากระบบที่ใช้ตรวจสอบไวรัสบอกว่า ไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ที่แยกได้ในประเทศ ให้ลักษณะของการติดเชื้อเหมือนเดลตา แต่ไม่เหมือนกับโอไมครอน BA.1

โอไมครอน

พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าไม่ตรวจสอบรหัสพันธุกรรม คงอาจสับสนว่า เดลตากลับฟื้นมาระบาดใหม่อีกรอบ

สาเหตุที่ BA.5 กลับมาติดเซลล์ แล้วรูปร่างของเซลล์เหมือนติดเดลตา เป็นเพราะ BA.5 ใช้วิธีเข้าสู่เซลล์แบบเดียวกับเดลตา คือ อาศัยเอนไซม์ที่ผิวเซลล์ชื่อว่า TMPRSS2 ในการเข้า

ในขณะที่โอไมครอนตัวอื่น คือ BA.1 และ BA.2 ไม่ได้ใช้เอนไซม์ตัวนี้ ความแตกต่างดังกล่าว จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ใช้อธิบายว่า BA.1 และ BA.2 ทำไมถึงติดเซลล์ปอดได้ไม่ดีเท่าเดลตา

การที่พบ BA.5 อาจเปลี่ยนวิธีเข้ากลับมาใช้ TMPRSS2 ในการเข้า จึงสร้างความน่าสนใจในวงการว่า ไวรัสอาจมีคุณสมบัติที่ไม่ลดความรุนแรงลง และ เนื่องจาก BA.4 มีสไปค์เหมือนกับ BA.5 ทุกตำแหน่ง คาดว่า BA.4 ก็น่าจะใช้วิธีการแบบเดียวกัน

ดูจะสอดคล้องกับผลที่ทีมญี่ปุ่นทดสอบในแฮมสเตอร์ พบว่า BA.4/BA.5 ลงปอดหนูได้ดีกว่า BA.2

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo