COVID-19

ชี้ แผนเข้าสู่ ‘โรคประจำถิ่น’ ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมเร่งฉีดวัคซีน รับ ‘เปิดเทอมออนไซต์’

‘อนุทิน’ ชี้ แผนเข้าสู่ ‘โรคประจำถิ่น’ ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ พร้อมเร่งฉีดวัคซีนรับ ‘เปิดเทอมออนไซต์’

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ทุกจังหวัดแสดงความพร้อมและสนใจเข้าสู่การเป็นโsคประจำถิ่น ทั้งนี้ จะทำพร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกรมควบคุมโรคจะเป็นผู้ออกแบบหลักเกณฑ์ และนำเสนอ ศบค.

โรคประจำถิ่น
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข

ปรับมาตรการ ขั้นตอนการเข้าสู่ โsคประจำถิ่น

การปรับมาตรการของรัฐบาล อยู่ในขั้นตอนการเดินเข้าสู่การเป็นโsคประจำถิ่น ทั้งปรับ-ลดมาตรการเดินทางเข้าประเทศไทย  โดยไม่ต้อง RT-PCR เหลือเพียงการตรวจ ATK และเมื่อเราเข้าสู่โsคประจำถิ่น รัฐบาลก็จะต้องปรับลดมาตรการลงอีก อย่างเช่น หลังสงกรานต์ หากไม่มีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น จากการที่ทุกฝ่ายรวมถึงประชาชนช่วยกัน ก็อาจเสนอให้ยกเลิกการตรวจ ATK หรือ ไม่ต้องลงทะเบียนผ่าน Thailand Plus

นายอนุทิน กล่าวว่า เงื่อนไขหนึ่งของการเข้าสู่การเป็นโsคประจำถิ่น จะต้องเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่าคนที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม 3 และเข็ม 4 ยังไม่มีใครเสียชีวิต หากมีการติดเชื้ออาการก็ไม่รุนแรง

โรคประจำถิ่น
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค

เร่งฉีดวัคซีนเด็ก รับเปิดเทอมออนไซต์

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่หลายจังหวัดตื่นตัว ตั้งใจ ปรับเข้าสู่การเป็นโsคประจำถิ่น และ ศบค. ได้แจ้งให้ทุกจังหวัดเตรียมความพร้อม โดยเร่งจัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์โรค โดยมีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเป็นผู้ออกแบบ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน ไม่สามารถใช้แผนเดียวกันได้

ตอนนี้สถานการณ์การติดเชื้อคงที่ มาจากความร่วมมือของประชาชน เคารพกติกา และฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อช่วงสงกรานต์ ก็ทำให้ไม่มียอดผู้ติดเชื้อสูงอย่างที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งการกลายพันธุ์ของไวรัส ยังไม่น่ากังวล

อย่างไรก็ตาม ได้เร่งฉีดวัคซีนให้กับเด็ก เพื่อรับเปิดเทอมในเดือนพฤษภาคม คาดว่าหลังเปิดเทอม 1 เดือน จะฉีดวัคซีนได้ครบทุกกลุ่มนักเรียนทุกชั้นวัย และเน้นการเปิดเรียนแบบออนไซต์ ซึ่งขณะนี้เด็กมัธยมฉีดวัคซีนไปแล้ว 80-90% ระดับประถมฉีดเข็ม 1 ไปแล้ว 50-60%

โรคประจำถิ่น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo