COVID-19

‘อนุทิน’ ชี้ ต้องคุมให้ได้ ทั้ง ‘ติดเชื้อ-เสียชีวิต’ โควิดถึงกลายเป็น ‘โรคประจำถิ่น’ ได้

“อนุทิน” ชี้ ต้องควบคุมโรคให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด ถึงจะทำให้ “โควิด” กลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ ย้ำ ต้องให้ความสำคัญกับการลดยอดผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิต ป่วยแล้วต้องรักษาได้

วันนี้ (25 เม.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม การทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (นำร่อง) หรือ Universal Health and Preparedness Review (UHPR) Pilot ถึงการผลักดันให้โควิด -19 เป็นโรคประจำถิ่น

timeline 20220425 134723

นายอนุทิน ระบุว่า การกำหนดว่า สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญที่สุด คือ การควบคุมโรค ต้องมีประสิทธิภาพ ต้องควบคุมได้ มีผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด เมื่อทำได้ ก็เหมือนการเดินเข้าไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

การเป็นโรคประจำถิ่น ต้องดูว่า มี มียาพร้อมไหม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอธิบดีกรมการแพทย์ แจ้งว่าพร้อม มีสถานพยาบาล มีบุคลกรพร้อมไหม ทุกท่าน ก็บอกว่าพร้อม แล้วประเทศไทย มีความโชคดีกว่าเพื่อน ที่มี อสม. ไว้ค่อยช่วยดูแล ระบบสาธารณสุขของไทย เราขยับปรับตัวเอง ให้เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นอยู่ทุกวัน

วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ก็เลิก เทสต์ แอนด์ โก (Test & Go) แล้ว แต่เพื่อให้ประชาชนรู้สึกสบายใจ ที่ชินกับการตรวจเข้มมานาน จึงยังต้องให้ตรวจ ATK ถ้าในอนาคต เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ก็ต้องผ่อนคลายไปเรื่อย ๆ คำว่าโรคประจำถิ่น มันอยู่ที่พฤติกรรม

timeline 20220425 134533

สำหรับเรื่องความสูญเสียจากโควิดนั้น ตามรายงาน จะมีเสียชีวิตจากโควิดโดยตรง เกิดในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ที่สำคัญคือ 97% ของผู้ที่เสียชีวิต ไม่ได้รับวัคซีน แม้แต่เข็มเดียว อีกอย่างคือ การเสียชีวิต แล้วมีโควิดเป็นโรคร่วม หรือ เสียชีวิต โดยที่โควิด 19 ไม่ได้เป็นสาเหตุหลัก เราไม่อยากให้ใครเสียชีวิตทั้งนั้น แต่ข้อมูลที่ได้รับ จะช่วยให้พัฒนาศักยภาพในการควบคุมโรค

วันนี้ ได้รับารายงานว่า อัตราการใช้อุปกรณ์ อาทิ เครื่องช่วยหายใจ ลดน้อยลง และเตียงที่ใช้ ไม่ได้เพิ่มมากขึ้น มีห้องไอซียูเหลือพอสมควร ที่จริงคือ ไม่อยากใช้ ไม่อยากเห็นการป่วยหนัก

เรื่องของยา ได้สำรองไว้ตลอด มียาฟาวิพิราเวียร์ เรมดิซิเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ และแพกซ์โลวิด พยายามให้มียาหลากหลายประเภท ให้สอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละคน จำเป็นต้องหาทางเลือก ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโรค เช่น ตอนมีวัคซีน ก็ไม่เคยอยู่เฉย พยายามหาวัคซีนเข้ามาหลากหลายชนิด พยายามลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด ไม่มีใครอยากเห็นการเสียชีวิต

timeline 20220425 134547

“ตอนนี้ ต้องให้ความสำคัญกับการลดยอดผู้ป่วยหนัก ยอดผู้เสียชีวิต ป่วย แล้วต้องรักษาได้ แต่ถ้าจะมาพูดกันเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อ ก็ต้องล็อกดาวน์ ถ้าอยากได้ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ ถามว่าเราจะทำตรงนั้นไหม มันเลยตอนนั้นไปแล้วหรือยัง ประเทศส่วนใหญ่ เขาก้าวข้ามไปแล้ว เราอยากได้ตัวเลขสวยๆ แต่ทำมาหากินไม่ได้หรือ เราต้องดูว่า เราจะทำอย่างไรได้ เพื่อให้ทุกมิติ ดำเนินต่อไปได้”

“เราผ่านการดูถูกต่อว่า เราผ่านเสียงวิจารณ์ แต่เราเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขไทย รัฐบาลก็เชื่อหมอ เราเชื่อวิชาการ เรารับฟังเสียงวิจารณ์ แต่เราใช้ความรู้ด้านการระบาดวิทยา เราใช้ประสบการณ์ในการควบคุมดูแลโรค ในการดูแลสถานการณ์ วัคซีน เราก็มีจำนวนมาก ล่าสุด เพิ่งได้วัคซีนโปรตีนซับยูนิตเข้ามา เป็นทางเลือกด้านวัคซีนที่เพิ่มเข้ามา”

timeline 20220425 134518

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo