COVID-19

ติดเชื้อโอไมครอน BA.1 แล้ว มีสิทธิติด BA.2 ซ้ำอีกหรือไม่ ศูนย์จีโนมฯมีคำตอบ

ศูนย์จีโนมฯ เผยติดเชื้อโอไมครอน BA.1 แล้วมีโอกาสติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2 ซ้ำหรือไม่ เช็คเลย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ชี้แจงกรณีติดเชื้อโอไมครอน BA.1 แล้วมีโอกาสติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2 ซ้ำอีกหรือไม่ โดยระบุว่า

ติดเชื้อโอไมครอน BA.1

เรามีโอกาสที่ที่จะติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ซ้ำหลังจากเคยติดเชื้อ BA.1 มาก่อนหรือไม่

คำตอบคือ เกิดขึ้นได้ แต่พบไม่บ่อย เพียง 1% โดยมีรายงานจากหลายประเทศในยุโรป ถึงการติดเชื้อซ้ำในลักษณะนี้ ไม่พบอาการรุนแรง ที่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิต

สาเหตุที่มีการติดเชื้อซ้ำได้เพราะทั้ง BA.1 และ BA.2 ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว บริเวณหนามบางส่วนจะมีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน

  • BA.1 บริเวณหนามกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.2 จำนวน 7 ตำแหน่ง
  • BA.2 บริเวณหนามกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.1 จำนวน 5 ตำแหน่ง

BA.1 บริเวณหนามกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.2 จำนวน 7 ตำแหน่ง

ทำให้ภูมิคุ้มกันแอนติบอดีที่ได้จากการติดเชื้อ BA.1 ไม่อาจปกป้องการติดเชื้อจาก BA.2 ได้ 100 %

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ตรวจหาสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเทคโนโลยี Mass Array ภายใน 24-48 ชั่วโมง ยังพบสัดส่วนของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 ใกล้เคียงกัน (ภาพ 5)

ก่อนหน้านี้ ศูนย์จีโนมฯ เคยเผยแพร่การศึกษาในเดนมาร์กที่มีการระบาดของ BA.1 และติดตามมาด้วยการระบาด BA.2 จำนวนมากกว่า 1.8 ล้าน คน พบว่า

การระบาด

1. มีผู้ติดเชื้อ BA.1(โอไมครอน สายพันธุ์หลัก) และตามมาด้วยการติดเชื้อซ้ำหรือ Re-infection” ด้วย BA.2 (โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย) หลังจากหายจากการติดชื้อโอไมครอน BA.1 (recovery) แล้ว 60 วัน เพียง 0.0126% ซึ่งน้อยมากคือประมาณ 1 ใน 100

2. แสดงให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อ BA.1 มีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ BA.2 ซ้ำ

3. ผู้ที่ติดเชื้อ BA.2 ซ้ำที่มีจำนวนไม่มากนั้น ไม่มีคนใดต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิต

4. ผู้ที่ติดเชื้อ BA.2 ซ้ำนั้นส่วนใหญ่ 89% ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และมีอายุน้อย (0-19 ปี)

โอไมครอน 2

 

สรุปว่า มีการติดเชื้อซ้ำจาก BA.2 หลังจากติดเชื้อ BA.1 ครั้งแรกได้ แต่พบได้ยาก (1 ใน 100) และจะพบยากในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน โดยผู้ติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 พบว่ามีอาการไม่รุนแรงต้องเข้า รพ. หรือเสียชีวิต

ผู้ติดเชื้อ BA.1 แล้วอาการดีขึ้น (recovery) ส่วนใหญ่จะไม่กลับมาติดเชื้อ BA.2 ซ้ำ แม้จะพบผู้ทีติดเชื้อซ้ำอยู่บ้าง แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก (1 ใน 100)

จึงไม่น่ากังวลใจว่าจะเกิดการระบาดระลอกใหม่จาก BA.2 และโดยภาพรวมของไวรัสโคโรนา 2019 และโอไมครอนทั่วโลกกำลังทยอยลดจำนวนลง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo