COVID-19

Home Isolation แยกกักตัวอย่างไรให้ปลอดภัยกับทุกคนในบ้าน เช็คที่นี่เลย!

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิด 6 ข้อปฏิบัติ Home Isolation แยกกักตัวอย่างไรให้ปลอดภัยกับทุกคนในบ้าน เช็คที่นี่เลย เคลียร์ชัด! ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีดจะเข้ารักษาโควิดต้องทำอย่างไร?

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิด 6 ข้อปฏิบัติ Home Isolation แยกกักตัวอย่างไรให้ปลอดภัยกับทุกคนในบ้าน ดังนี้

Home Isolation

  1. แยกห้องนอน ห้องน้ำให้ชัดเจน แยกห่างจากผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เปิดประตู หน้าต่างระบายอากาศ
  2. จัดของใช้ ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม อุปกรณ์ทำความสะอาดแยกกับผู้อื่น
  3. ห้องน้ำ ห้องส้วม กรณีไม่สามารถแยกห้องได้ ให้ผู้อื่นใช้ก่อน พร้อมทำความสะอาดให้เรียบร้อย ด้วยผ้าชุบน้ำยาฟอกขาวความเข้มข้น 0.1% หรือแอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5%
  4. จัดหาอาหาร เครื่องดื่ม แยกส่งเฉพาะ นำส่งไว้หน้าห้องพัก ถ้าจำเป็นต้องส่งในห้องพัก ให้ใส่หน้ากากอนามัย ทั้งผู้ส่งและผู้รับ
  5. เตรียมสบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เพื่อทำความสะอาด เพื่อใช้เฉพาะ
  6. เสื้อผ้าใช้แล้ว ให้แยกตะกร้าและแยกซัก หากใช้เครื่องซักผ้าอาจซักรวมกันได้ นำใส่ในตู้และไม่สัมผัสโดยรอบ สามารถตากรวมได้ เมื่อรีดแล้วให้แยกให้เรียบร้อยส่งให้ ผู้ถูกกักตัวเป็นการเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม สปสช. ระบุว่า ตั้งแต่ 16 มีนาคม 2565 หลังยกเลิก UCEP (เจ็บป่วยฉุกเฉิน) โควิด-19 ในกลุ่มสีเขียว (ไม่มีอาการ-อาการเล็กน้อย) ผู้ที่ตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 แต่ละสิทธิการรักษา เข้ารักษาโควิดอย่างไรบ้าง?

Home Isolation

ผู้ป่วยสีเขียว

  • ไม่มีอาการ
  • มีไข้อุณหภูมิ 37.5 องศาขึ้นไป
  • ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส
  • เจ็บคอ ไอ/มีน้ำมูก
  • มีผื่น ถ่ายเหลว ตาแดง

รักษากับสถานพยาบาลตามสิทธิด้วยแนวทาง

  • ผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (เจอ • ผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (เจอ #เจอแจกจบแจก จบ)
    หรือ
  • รักษาที่บ้าน (Home Isolation)

ทั้งนี้ หากมีอาการเปลี่ยนแปลง เข้าสู่กลุ่มสีเหลือง/แดง ส่งต่อ รพ.ที่สามารถดูแล (ใช้สิทธิ UCEP Plus ได้)

การใช้สิทธิรักษา

  • สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.) นอกจากไปที่สถานพยาบาลประจำที่ท่านลงทะเบียนไว้ ยังไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ (ไม่ใช้ใบส่งตัว)
    หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น
    และ รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มีนาคม 2565 มี 85 แห่ง)
  • สิทธิประกันสังคม รพ.ที่ลงทะเบียนไว้ สถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง และสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง
  • สิทธิข้าราชการ สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง และ รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มีนาคม 2565 มี 85 แห่ง)

Home Isolation

ติดต่อที่

  • สปสช. 1330
  • ประกันสังคม 1506
  • สายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400 วันและเวลาราชการ
  • กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 1426

ผู้ป่วยสีเหลือง

  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย
  • ปอดอักเสบ ไอแล้วเหนื่อย
  • อ่อนเพลีย ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
  • อาการแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว
  • เด็กเล็กซึม หายใจลำบาก กินนม/อาหารน้อยลง
  • กลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, หัวใจและหลอดเลือด, ไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน น้ำหนักมากกว่า> 90 กก., มะเร็ง, เบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป)

ผู้ป่วยสีแดง

  • หอบเหนื่อยหนักมาก พูดไม่เป็นประโยค
  • แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก
  • ปอดอักเสบรุนแรง
  • อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีภาวะช็อก/โคม่า ซึมลง
  • ไข้สูงกว่า 39 องศาต่อเนื่อง
  • ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94

สีเหลือง-สีแดง เข้าเกณฑ์ UCEP Plus

  • รักษาฟรีใน รพ.ตามสิทธิรักษาของท่าน
    หรือ
  • UCEP Plus เข้ารักษาใน รพ.ใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ (รัฐ/เอกชน) ไม่เสียค่าใช้จ่าย รพ.ดูแลรักษาจนหายหรือส่งต่อไป รพ.อื่นได้หากศักยภาพไม่เพียงพอ หรือส่งต่อให้ รพ.ในเครือข่ายที่จัดไว้
  • ขั้นตอนนี้ ผู้ป่วย/ญาติปฏิเสธ ต้องออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง

หมายเหตุ

  1. กรณีผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเหลือง/แดง มีประกันชีวิต ให้ใช้สิทธิตามประกันชีวิตก่อน
  2. กลุ่ม 608, หญิงตั้งครรภ์, เด็กอายุ 0-5 ปี, คนพิการ, ผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิ สปสช.) และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โทร. 1330 ประเมินอาการเข้าระบบรักษาที่บ้าน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK