COVID-19

‘หมอนิธิ’ แนะวิธีปรับตัว รับโควิด-19 โรคประจำถิ่น ฉีดวัคซีนเข็ม 4 ตอนไหนดีที่สุด

สงครามโควิด-19 เปลี่ยน กลยุทธ์ต้องปรับ “หมอนิธิ” คาดการณ์ช่วงแพร่ระบาดหลังเข้าสู่โรคประจำถิ่น พร้อมแนะช่วงเวลาฉีดวัคซีนเข็ม 4

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Nithi Mahanondaอธิบายเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังจะถูกปรับระดับมาสู่การเป็นโรคระบาดประจำถิ่น พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับช่วงเวลาการฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 หรือเข็มต่อไปสำหรับทุกคนไว้ว่า

โรคประจำถิ่น

องค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย เตรียมที่จะปรับลดระดับความรุนแรงการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการระบาดใหญ่ทั่วโลกหรือ Pandemic ที่เป็นระดับสูงสุดของการระบาด มาเป็นระดับต่ำสุดของการระบาด หรือที่เรียกว่าการระบาดประจำถิ่นหรือ Endemic (ระดับ 1 ของการระบาด)

การระบาดประจำถิ่นนี้ หมายถึงการระบาดของโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่ ที่มีอัตราป่วยคงที่ สามารถคาดการณ์และควบคุมได้ ขอบเขตของพื้นที่การเกิดโรคอาจเป็นเมืองหรือภูมิภาค เช่น โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย โรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา เป็นต้น

การที่เราสามารถคาดการณ์การระบาดได้นั้น จะมีความสำคัญต่อการระวังป้องกันเป็นอย่างยิ่ง

กลยุทธ์รับโควิด-19 โรคประจำถิ่น

สำหรับการระบาดของโรคไวรัสทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดธรรมดานั้น ในประเทศไทยมักเกิดเป็นฤดูกาลในช่วงฤดูฝนหรือฤดูฝนต่อหนาว และมีการระบาดตามฤดูกาลอย่างสม่ำเสมอ และคาดการณ์ได้

หรืออาจจะมีการระบาดเพิ่มอีกเล็กน้อย หลังจากที่เด็กนักเรียนเปิดเรียน เพราะประชากรกลุ่มเด็กสามารถแพร่กระจายเชื้อให้กับบุคคลในครอบครัวและผู้อื่นได้โดยง่าย ดังนั้น จึงอาจมีการระบาดสองครั้งได้ในบางปี

หมอนิธิ 1

ดังนั้น การระบาดต่อไปของไวรัสโควิด-19 ที่เป็นโรคระบาดทางเดินหายใจ ที่จะเป็นการระบาดในระดับต่ำที่ควบคุมได้และคาดการณ์ได้ ก็น่าจะเป็นการระบาดหนักในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว เช่นเดียวกับโรคระบาดไวรัสทางเดินหายใจอื่น ๆ

เป็นไปได้ว่า โรคระบาดทางเดินหายใจจากโควิด-19 ในประเทศไทยจะเริ่มเข้ารูปการระบาดเป็นตามฤดูกาล หลังจากการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอนทั้ง BA.1 และ BA.2 จบลงอย่างแน่นอน

การระบาดต่อไปของไวรัสโควิด-19 ที่จะเป็นโรคระบาดทางเดินหายใจในระดับต่ำที่ควบคุมได้ และคาดการณ์ได้ ก็น่าจะเป็นการระบาดหนักในช่วงฤดูฝนต่อหนาว เช่นเดียวกับโรคระบาดไวรัสทางเดินหายใจอื่น ๆ

ดังนั้น สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใด หากจะฉีดเข็มที่ 4 หรือเข็มต่อไป ต้องหาจังหวะฉีด ให้พอดีกับการป้องกันการระบาดใหญ่เป็นประจำ ในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว

โดยแนะนำให้ฉีดกระตุ้นภูมิช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ไปจนถึงสิงหาคม และควรฉีดวัคซีนที่จะป้องกันได้ตลอดฤดูกาล

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo