COVID-19

จับตา! ศบค.จ่อเคาะมาตรการสงกรานต์ ปรับสีพื้นที่ ผ่อนคลายมาตรการพรุ่งนี้

ประชุม ศบค. พรุ่งนี้! จ่อเคาะผ่อนคลายหลายมาตรการ ปรับสีพื้นที่ ลั่นการสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะยังจำเป็น ยันยังไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ชุดใหญ่ในวันที่ 18 มีนาคมว่า ในที่ประชุมจะมีการเสนอมาตรการเพื่อผ่อนคลายในหลายเรื่อง เป็นไปตามวงรอบที่ประเมินตามสถานการณ์

ประชุมศบค. 173651

ปรับโซนสีพื้นที่

โดยจะเสนอปรับพื้นที่สถานการณ์ในบางพื้นที่ โดยแต่ละข้อเสนอจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ศบค. เช่น จากสีเหลืองเป็นสีส้ม หรือจากสีส้มเป็นสีเหลืองในบางพื้นที่อาจจะเห็นว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้น แต่ถ้าประเมินดูรายพื้นที่ จะเห็นว่า บางพื้นที่ทรงตัวและจำนวนลดลง ขณะนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้ที่หายป่วยจากการรักษามีจำนวนใกล้เคียงกันต่อเนื่อง จึงจะปรับลดบางพื้นที่ให้ผ่อนคลายมากขึ้น

นอกจากนี้ จะพิจารณามาตรการการจัดงานสงกรานต์ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ทำข้อมูลเตรียมเสนอไว้แล้ว และจะนำมาหารือในที่ประชุม ศปก.ศบค. ก่อนเสนอ ศบค.ชุดใหญ่ โดยจะเสนอให้จัดได้ภายใต้มาตรการป้องกัน สำหรับ 3 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งจะนำข้อมูลมาชี้แจง เบื้องต้นสามารถจัดกิจกรรมรดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ ร่วมกิจกรรมที่วัด และร่วมกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ได้ แต่ทุกที่ต้องจัดโดยระวัง โดยจะขอให้ใช้กลไกของท้องถิ่นมาช่วยกำกับ ลงไปถึงระดับหมู่บ้าน และจะพยายามจัดโซนนิ่งให้ทำกิจกรรมตามประเพณีภายใต้การควบคุมโรค

ผับบาร์ 211117 0

ผ่อนคลายเปิดสถานบันเทิง

ทั้งนี้ ยังมีเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขวางแผนปรับสถานการณ์โควิดไปสู่โรคติดต่อทั่วไปตามที่มีข่าว โดยจะเป็นแผนและกรอบให้ที่ประชุม ศบค. ทราบก่อนจะให้สาธารณสุขนำไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนเรื่องข้อเสนอให้ผ่อนคลายเปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะทั่วประเทศ

“เรื่องนี้มีการเสนอเข้ามาทุกรอบที่มีการประชุม ศบค. และเราพยายามช่วยผู้ประกอบการที่ทำกิจการด้านนี้อยู่ แต่ต้องดูปัจจัยหลายประเด็น และพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากกิจการและกิจกรรมประเภทนี้มีความเสี่ยงสูง และส่วนใหญ่เป็นสถานที่ปิด มีโอกาสแพร่เชื้อสูง และครั้งนี้ก็จะเสนอให้ ศบค. พิจารณา โดยดูปัจจัยขณะนี้ที่โอไมครอนแพร่กระจายเร็ว และไม่รุนแรง ทั้งยังมีปัญหาเรื่องผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และกลุ่มเปราะบาง มีอัตราเสียชีวิตค่อนข้างสูงที่ต้องคำนึงถึง หากตัดสินใจเปิดที่มีความเสี่ยงมาก แล้วต้องลงทุนสูง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ก็เป็นเรื่องน่ากังวล จึงต้องพิจารณาให้รอบด้าน” พล.อ.สุพจน์ กล่าว

นอกจากนี้ จะมีการพิจารณาปรับหลักเกณฑ์การเข้าประเทศในรูปแบบไทยแลนด์พาส โดยครั้งที่แล้วได้ปรับเรื่องการตรวจการเข้าประเทศ จาก 2 ครั้งให้เหลือ 1 ครั้ง แต่ครั้งนี้จะพิจารณาปัจจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยและนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศสะดวกมากขึ้น ควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมโรคที่ยอมรับได้ เช่น การปรับเรื่องการตรวจ RT-PCR ที่ยังยืนยันว่า เมื่อมาถึงประเทศจะต้องตรวจ 1 ครั้ง โดยอาจจะปรับใช้ให้เป็นการตรวจ RT-PCR หรือ ATK 1 ครั้งได้ โดยทางแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะปรับได้ขนาดไหน เนื่องจากพื้นที่ท่องเที่ยวยังมีตัวเลขติดเชื้อสูง แต่ยืนยันว่าจะปรับแน่ และจะทำข้อแนะนำเรื่องการตรวจครั้งที่ 2 ในวันที่ 5 ที่สามารถตรวจ ATK ประเมินด้วยตัวเองได้ในแบบฟอร์มทางแอพพลิเคชั่นที่กำหนด

276108478 523457145939281 1856231464239278445 n

ผ่อนคลายเพื่อให้เศรษฐกิจเดิน

เมื่อถามว่า การผ่อนคลายมาตรการจะสวนทางกับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ไม่สวนทาง และกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ไว้แล้วตามฉากทัศน์ และจำเป็นต้องผ่อนคลายเพราะอยากให้เศรษฐกิจเดิน ให้ประชาชนมีงานทำ และมีรายได้ ฉะนั้นต้องทำ โดยมีมาตรการที่ดีที่สุดออกมาช่วย เพื่อให้ตัวเลขการติดเชื้อไม่มีอันตราย ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือการฉีดวัคซีนที่จะทำให้อัตราติดเชื้อน้อย หรือเมื่อติดแล้วไม่รุนแรง ที่เป็นห่วงขณะนี้คือ 90% ของตัวเลขผู้เสียชีวิตต่อเนื่องมา 2-3 เดือน คือผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังนั้น ขอย้ำเรื่องการรับวัคซีน โดยดูวัคซีนเข็มสุดท้ายที่ได้รับ หากมีเวลา 3-6 เดือนขอให้ไปบูสเข็มต่อไปจึงขอเชิญชวน ผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป ไปขอรับการฉีดวัคซีน ที่เวลานี้ได้กระจายไปทั่วประเทศ และทำให้เข้าถึงได้ง่าย

เมื่อถามถึงการเตรียมให้เปิดหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะได้นั้น พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ช่วงนี้จะได้ยิน 2 เรื่องคือ การปรับสถานการณ์ให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น และเข้าสู่การรักษาพยาบาลได้แบบโรคติดต่อทั่วไป ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นแผนของกระทรวงสาธารณสุขที่จะนำเสนอเพื่อให้ ศบค. กำหนดกรอบแนวทางเบื้องต้น ส่วนที่ประชุมชุดใหญ่จะพิจารณาหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

หน้ากากอนามัย 173651

สวมหน้ากากอนามัยยังจำเป็น

ส่วนเรื่องการเปิดหน้ากากอนามัยของยืนยันว่า การสวมหน้ากากอนามัยยังจำเป็นตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่เราพิจารณาว่ามีความเหมาะสมที่จะเปิดได้อย่างปลอดภัย เพราะผู้ติดเชื้อหายแล้ว ยังมีโอกาสติด ผู้ติดเชื้อติดเชื้อที่ไม่รู้ว่าติด ก็มีโอกาสแพร่เชื้อ และเมื่อย้อนไปดู 2 ปีที่ผ่านมา หน้ากากอนามัยเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดที่ป้องกันไม่ให้ประเทศเกิดการระบาดเป็นแสนคน หรือเป็นล้านคนเหมือนกับบางประเทศ ดังนั้นข่าวที่ออกมาอาจจะเป็นแผนการในอนาคต ในช่วงเวลา 3 เดือน หรือ 6 เดือนข้างหน้า โดยจะต้องประเมินสถานการณ์ให้ต่อเนื่องแต่ตอนนี้หน้ากากอนามัยมีความจำเป็น

“ยืนยันว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังมีความจำเป็นในช่วงเวลานี้ เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ป้องกันประชาชน เมื่อใดที่หมดความจำเป็น ตนจะพิจารณาและเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องให้ยกเลิกทันที ส่วนจะยกเลิกเมื่อมีการประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่นั้น มองว่าเมื่อถึงขั้นนั้น ก็ใช้กฎหมายปกติ” พล.อ.สุพจน์ กล่าว

Avatar photo