COVID-19

โควิดไทยขาขึ้น! ยอดติดโควิดรวม ATK พุ่งอันดับ 7 ของโลก ยอดดับเพิ่มขึ้น 28%

ระทึก! ยอดติดโควิดวันนี้ในประเทศรวม ATK พุ่งอันดับ 7 ของโลก อันดับ 4 ของเอเชีย ขณะที่ยอดเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 28% เตือนรัฐตระหนักถึงความสำคัญของ Long COVID

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า Thira Woratanarat โดยระบุว่า 7 มีนาคม 2565 ทะลุ 446 ล้าน เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,149,791 คน ตายเพิ่ม 3,884 คน รวมแล้วติดไปรวม 446,335,906 คน เสียชีวิตรวม 6,018,950 คน

โควิดวันนี้

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เวียดนาม เยอรมัน รัสเซีย และเนเธอร์แลนด์

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ/ใต้ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.68 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็น 98.48%

ในขณะที่ยุโรปนั้นคิดเป็น 37.1% ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็น 32.38%

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 10 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

275238399 527861185367492 654455060275925128 n

…สถานการณ์ระบาดของไทย

เมื่อวานนี้หากดูเฉพาะจำนวนติดเชื้อยืนยัน จะสูงเป็นอันดับ 14 ของโลก

แต่หากรวม ATK ด้วย จะพุ่งไปถึงอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย

ถ้าพิจารณาสถิติรายสัปดาห์ จะพบว่า จำนวนติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ที่ผ่านมาของไทยเรา เพิ่มขึ้น 6% และจำนวนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกนั้นติดเชื้อลดลง 10% และเสียชีวิตลดลง 14%

…Long COVID

Leeuw E และคณะจากประเทศออสเตรเลีย เผยแพร่บทความวิชาการในวารสารทางการแพทย์สากล Medical Journal of Australia วันนี้ 7 March 2022

ย้ำเตือนให้รัฐและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของ Long COVID เนื่องจากเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาวหลังจากการติดเชื้อโรคโควิด-19

275376209 517047869913542 8677042531242689927 n

มีรายงานการแพทย์ชี้ให้เห็นปัญหานี้มากขึ้นเรื่อย ๆ และชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะ Long COVID นั้นจะพบกับปัญหาการตีตราทางสังคม (stigma), ความยากลำบากในการเข้าถึงระบบบริการดูแลรักษา (difficulties in accessing services), มีปัญหาในการกลับไปทำงานเต็มเวลาแบบในอดีตเพราะสมรรถนะของร่างกายเสื่อมถอยลง (returning to full time work), ประสบปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ครอบครัว และระหว่างการดำรงชีวิต (trouble maintaining important relationships and life roles), และไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันอื่น ๆ (barriers to engaging in activities of daily living)

ทั้งนี้ เราจะเห็นได้ว่าทั่วโลกต่างตื่นตัว ให้ความสำคัญกับเรื่อง Long COVID เพราะนอกจากเกิดผลกระทบต่อตัวบุคคลนั้นโดยตรงแล้ว ยังกระทบต่อคนใกล้ชิด ครอบครัว และประเทศ รวมถึงปัญหาภาระงานในระบบสุขภาพและภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวที่เกิดขึ้น

ดังนั้นการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีกว่า

ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น และหากไม่สบาย ควรหยุดเรียนหยุดงาน แจ้งคนที่เกี่ยวข้องทราบ และไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน

เหนืออื่นใด นโยบายและมาตรการรัฐก็จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อลดจำนวนการติดเชื้อในแต่ละวันให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งหากติดเยอะ โอกาสมีผู้ป่วย Long COVID ในระยะยาวยิ่งมาก และจะย้อนกลับมาในรูปแบบผลกระทบต่อสุขภาวะประชากร ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการขาดกำลังการผลิตและผลิตภาพของประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ

อ้างอิง Leeuw E et al. Long COVID: sustained and multiplied disadvantage. Med J Aust. 7 March 2022

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK