COVID-19

โควิดระทึก! ‘หมอธีระ’ ชี้ยอดติดโควิดไทย 31% เสียชีวิตเพิ่ม 40% ลั่นไม่ติดเชื้อดีที่สุด

ข่าวโควิดวันนี้! “หมอธีระ” ชี้ติดเชื้อใหม่ยืนยัน (ไม่รวม ATK) เพิ่มขึ้น 31% และเสียชีวิตพุ่ง 40% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ลั่นไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่า 22,311 ATK 21,497 รวม 43,808 อัตราการตรวจพบผลบวก 31.29% (เดิม 32.36%) หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 796 คน เป็น 980 คน เพิ่มขึ้น 23.11% ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 202 คน เป็น 280 คน เพิ่มขึ้น 38.61%

ข่าวโควิดวันนี้

กรุงเทพฯ 2,781 (เดิม 2,678) อัตราการตรวจพบผลบวก 49.99% (เดิม 52%)

นนทบุรี 1,095 (เดิม 777) อัตราการตรวจพบผลบวก 33.33%

สถานการณ์โควิดทั่วโลกทะลุ 435 ล้านแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 980,779 คน ตายเพิ่ม 4,157 คน รวมแล้วติดไปรวม 435,649,854 คน เสียชีวิตรวม 5,967,363 คน

ข่าวโควิดวันนี้

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ รัสเซีย เยอรมัน ญี่ปุ่น และตุรกี

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ/ใต้ ซึ่งรวมกันคิดเป็น 96.03% ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็น 95.86%

ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็น 43.03% ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็น 37.09%

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 10 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

ข่าวโควิดวันนี้

…สถานการณ์ระบาดของไทย

เมื่อวานนี้หากดูเฉพาะจำนวนติดเชื้อยืนยัน จะสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก

แต่หากรวม ATK ด้วย จะพุ่งไปถึงอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย

…หากเปรียบเทียบสถิติรายสัปดาห์

ข้อมูลจาก Worldometer พบว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาไทยเรามีจำนวนการติดเชื้อใหม่ยืนยัน (ไม่รวม ATK) เพิ่มขึ้น 31% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า

ข่าวโควิดวันนี้

…Long COVID ในนอร์เวย์

จากการศึกษาในประชากร 73,727 คน โดย Caspersen IH และคณะ ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ European Journal of Epidemiology เมื่อสามวันก่อน (25 กุมภาพันธ์ 2565)

พบว่าหลังคนที่มีประว้ติติดเชื้อโรคโควิด-19 ไป 12 เดือน จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอ่อนล้าอ่อนเพลียมากกว่าคนที่ไม่ได้ติดเชื้อถึง 4.8 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่น 3.5-6.7 เท่า)

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ อีกหลายอาการหลายระบบที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนที่เคยติดเชื้อมากกว่าคนที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ ทั้งระบบประสาท ที่ส่งผลต่อความคิดความจำ ภาวะทางจิตเวช ระบบหายใจ หัวใจและหลอดเลือด กระดูกและข้อ ฯลฯ

การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกิจวัตร จึงมีความสำคัญมาก ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้น ๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น

หากไม่สบาย ควรหยุดเรียนหยุดงาน ตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน เป็นความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม

อ้างอิง

Caspersen IH et al. Excess risk and clusters of symptoms after COVID-19 in a large Norwegian cohort. Eur J Epidemiol. 25 February 2022

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK