COVID-19

‘เปิดเรียน On Site’ อย่างไร ? ให้ปลอดภัยจากโควิด เข้มทุกมาตรการ ทั้งก่อนเข้าและอยู่ในโรงเรียน

‘เปิดเรียน On Site’ อย่างไร ? ให้ปลอดภัยจากโควิด เข้มมาตรการประเมิน TST จัดการสถานที่ตามแนวทาง SSS หากพบผู้ติดเชื้อ ให้แยกกักตัวในโรงเรียน

ที่ประชุมศบค. เห็นชอบให้ทุกโรงเรียน กลับมาทำการเรียนการสอนได้ตามปกติ ตามมาตรการ “เปิดเรียนแบบ On Site อยู่ได้กับโควิด” แม้จะมีจำนวนนักเรียนติดเชื้อ แต่รัฐบาลเชื่อว่าจะสามารถควบคุมได้ ตามมาตรการที่กำหนดไว้เข้มงวด ดังนี้

เปิดเรียน On Site

‘เปิดเรียน On Site’ คุมเข้มทุกมาตรการ ทั้งก่อนเข้าเรียน และอยู่ในโรงเรียน

หากเกิดมีบุคลากร ครู และ นักเรียนมีความเสี่ยงและติดเชื้อโควิด-19 ในสถานศึกษา

กรณีโรงเรียนประจำ  

กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เรียน on site ตามปกติ สังเกตอาการ และประเมิน TST (Thai Save Thai) ของ กรมอนามัย โดยจะมีการประเมินความเสี่ยงก่อนเข้าทำงาน

กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จัดการเรียน การสอน ปฏิบัติงาน ทำกิจกรรม ใน Quarantine zone ตามแนวทาง sand box safety zone in school เป็นเวลา 7 วัน และให้ติดตามสังเกตอาการอีก 3 วัน

sand box safety zone in school คำนึง 3 ด้าน คือ 1.การบริหารจัดการ โดยสถานศึกษาต้องมีความพร้อมและสมัครใจ มีการหารือผู้ปกครองและชุมชนมีความเห็นพ้อง ได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เตรียมสถานที่แยกกักตัวในโรงเรียน (School Isolation)

จัดแบ่งเป็นโซน คือ โซนคัดกรอง โซนกักกันผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยง และเซฟตี้โซน (สีเขียว) อยู่ภายในสุด ซึ่งนักเรียน ครู และบุคลากรที่มีความปลอดภัยสามารถมีกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าวได้ใกล้เคียงปกติ และต้องมีการติดตามประเมินผล

ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองหาเชื้อ ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที และให้ตรวจครั้งที่ 1 ในวันที่ 5-6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อและตรวจครั้งสุดท้ายวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ

กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้ติดเชื้อ  พิจารณาร่วมกับ หน่วยบริการสาธารณสุข หรือ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จัดทำ school Isolation ตามแนวทาง sand box safety zone สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม เน้นการระบายอากาศ และ กำกับติดตาม มาตรการส่วนบุคคลขั้นสูงสุด

เปิดเรียน On Site

กรณีโรงเรียนแบบไป-กลับ

กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เรียน on site ตามปกติ สังเกตอาการ และประเมิน TST

กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้แยกกักตัวที่บ้าน หรือ สถานที่ตามคำแนะนำของหน่วยบริการสาธารณสุข เป็นเวลา 7 วัน และให้ติดตามสังเกตอาการอีก 3 วัน

การตรวจตัดกรองหาเชื้อ ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที และให้ ตรวจครั้งที่ 1 ในวันที่ 5-6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ และตรวจครั้งสุดท้ายวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื่อ สถานศึกษา จัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสม และประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน

กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้ติดเชื้อ ปฏิบัติตามมาตรการ การรักษา ของกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาจัดทำ school Isolation ตามความเหมาะสม โดยคณะกรรมการโรงเรียน หน่วยงานสาธารณสุข ผู้ปกครอง ชุมชน พิจารณาร่วมกันให้ความเห็นชอบ และปฏิบัติตามมาตรการ SSS (sand box safety zone in school)  สถานศึกษาจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีอาการ

เปิดเรียน On Site

กรณีการสอบ

สถานที่จัดสอบ  ให้ประสานหน่วยงานบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน ในการคัดกรอง และให้คำแนะนำด้านสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยขั้นสูงสุด  จัดให้มีพื้นที่แยกสำหรับจัดการสอบเป็นสัดส่วน แยกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ติดเชื้อ เน้นการระบายอากาศที่ดี  ที่นั่งสอบมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร

ผู้เข้าสอบ หากเป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรืออาการเล็กน้อย หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อนและหลังการเข้าสอบ งดการพูดคุย เว้นระยะห่าง  การเดินทางไปสนามสอบโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือประสานหน่วยสถานที่สอบ หน่วยบริการสาธารณสุขกรณีไม่มีรถยนต์ส่วนตัว

ผู้คุมสอบ ปฏิบัติการคุมสอบตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข เช่น การใส่หน้ากากอนามัย ใช้เวลาในการคุมสอบในห้องสอบให้น้อยที่สุด และวางแผนจัดการสอบให้เหมาะสม

ทั้งนี้ ศบค.ระบุว่า เปิดเรียน On Site เราต้องกลับไปสู่การมีกิจกรรมที่เป็นปกติ แต่ขอให้ระลึกว่าเราต้องปฏิบัติแบบ New Normal โดยเฉพาะการป้องกันตัวเองสูงสุดตลอดเวลา แม้จะมีการระบาดเราจะอยู่ร่วมกับโควิดโดยสมดุล ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo