COVID-19

ตะลึง!! ‘หมอจุฬา’ เผยยอดโควิดวันนี้พุ่งทุบสถิติ สูงกว่าสองสัปดาห์ก่อน 126%

ตะลึง!! ‘หมอจุฬา’ เผยยอดโควิดวันนี้รวม ATK พุ่ง 33,893 รายสูงสุดเท่าที่เคยระบาดมา และสูงกว่าสองสัปดาห์ก่อน 126%

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่า จำนวนติดเชื้อใหม่วันนี้ รวม ATK สูงสุดเท่าที่เคยระบาดมา สูงกว่าวันจันทร์สัปดาห์ก่อน 50% และสูงกว่าสองสัปดาห์ก่อน 126%

ยอดโควิดวันนี้

สูงสุดเท่าที่เคยระบาดมา

ยอดผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้ 18,883 ราย ATK 15,010 ราย รวม 33,893 ราย (สูงสุดเท่าที่เคยระบาดมา) อัตราการตรวจพบผลบวก 19.01% (19/2/2022) หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 687 คน เป็น 796 คน เพิ่มขึ้น 15.86%
ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 138 คน เป็น 202 คน เพิ่มขึ้น 46.37%

กรุงเทพฯ 2,761 (เดิม 2,755) อัตราการตรวจพบผลบวก 37.17% (เดิม 37.19%)
นนทบุรี 852 (เดิม 762) อัตราการตรวจพบผลบวก 32.4% (19/2/2022)

รศ.นพ.ธีระ ระบุอีกว่า …ไทยเรา… ยอดติดเชื้อใหม่เมื่อวานนี้ หากรวม ATK จะอยู่ที่อันดับ 12 ของโลก และอันดับ 6 ของเอเชีย อัตราติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ “เพิ่มขึ้น” 27% ตาย “เพิ่มขึ้น” 29% โดยที่ค่าเฉลี่ยของโลกนั้น ติดเชื้อใหม่ “ลดลง” 21% ตาย “ลดลง” 10% และของทวีปเอเชีย ติดเชื้อใหม่ “ลดลง” 7% ตาย “ลดลง” 11%

ยอดโควิดวันนี้

…โควิด-19 กับเรื่อง Long COVID

ด้วยจำนวนเคสที่มากขึ้นราวเกือบสามหมื่นคนต่อวันเช่นนี้ (รวม ATK) จะใช้เวลาเพียง 1 เดือน ไทยเราจะมีเคสติดเชื้อเพิ่มขึ้นเกือบ 1,000,000 คน หากไม่มีนโยบายควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะยับยั้งการติดเชื้อแพร่เชื้อ
ในระยะยาว อาจมีผู้ป่วยที่ประสบปัญหาภาวะอาการคงค้างระยะยาว หรือ Long COVID จำนวนมากที่ต้องการระบบบริการดูแลรักษา ฟื้นฟูสภาพ และให้คำปรึกษา เพราะจะส่งผลกระทบต่อสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว และชีวิตการทำงาน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นมิได้เกิดเฉพาะด้านร่างกาย อาทิ ความคิดความจำ หัวใจและหลอดเลือด ทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ ผิวหนัง เท่านั้น แต่ยังเกิดต่อภาวะจิตใจ ทั้งเรื่องเครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ปัญหาการควบคุมอารมณ์ และอื่น ๆ

ภายใต้การดำเนินนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยการระบาดยังเป็นไปอย่างรุนแรงเช่นนี้ คำถามที่ควรใคร่ครวญให้ดีคือ เม็ดเงินที่ได้มาจะคุ้มค่ากับผลกระทบทางเศรษฐกิจระยะยาวที่เกิดจากการสูญเสียสุขภาพกายและใจของประชาชน รวมถึงการสูญเสียสมรรถนะการทำงานอันมีผลต่อผลิตภาพโดยรวม และค่าใช้จ่ายที่บุคคล ครอบครัว และสังคมต้องแบกรับในอนาคตหรือไม่

ยอดโควิดวันนี้

การทำ Cost benefit analysis เพื่อนำข้อมูลการประเมินความคุ้มค่าเมื่อเทียบกันเป็นเม็ดเงินเข้ามาสู่สมการความคิดในการตัดสินใจทิศทางนโยบายของประเทศน่าจะเป็นสิ่งที่ควรทำ

เหนืออื่นใด สิ่งที่ต้องทำ และรอไม่ได้คือ การจัดระบบบริการดูแลรักษา ฟื้นฟู และให้คำปรึกษาเรื่อง Long COVID ทั้งในระบบบริการสาธารณสุข รวมถึงสถานที่ทำงานต่าง ๆ

นอกจากนี้ คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะหากรอหน่วยงานรัฐดำเนินการอย่างเดียวคงไม่พอ ทางภาคประชาสังคม รวมถึงกลุ่มคนที่เคยติดเชื้อและมีปัญหา Long COVID อาจต้องรวมกลุ่มกัน เป็น Self help group/network เพื่อช่วยเหลือ ประคับประคอง และดำเนินการเป็นกลไกทางสังคมที่จะเชื่อมต่อกับกลไกรัฐ เพื่อพัฒนาระบบบริการข้างต้นให้ตรงกับความต้องการ และมีประสิทธิภาพ เฉกเช่นเดียวกับกระบวนการทางสังคมที่เราเคยทำมาในเรื่อง HIV/AIDS ที่ทำให้งานควบคุมป้องกันและดูแลมีประสิทธิภาพตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา

การระบาดของไทยยังรุนแรง ขอให้ป้องกันตัวอย่างเป็นกิจวัตร

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK