COVID-19

“โควิด” ยังรักษาฟรี แม้ปลดจาก ucep คลิก! เช็คสิทธิขั้นตอนเข้าสู่ระบบรักษา

“โควิด” ยังรักษาฟรี แม้จะถอดจาก UCEP แต่ละสิทธิเข้าสู่ระบบการรักษา เช็คแบบละเอียดที่นี่ !! เผยรักษาแบบ Home Isolation ยังเคลมประกันโควิดได้

นพ.ธงชัย กีรติหัตยากร รองปลัด กระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างแถลง  การรักษาโรคโค วิด-19 ตามสิทธิการรักษาพยาบาล ว่า  จากกรณีการถอด “โค วิด19”  ออกจากโรควิกฤตฉุกเฉิน UCEP  และเข้าสู่ระบบการรักษาตามสิทธิของประชาชนนั้น ต้องชี้แจงว่า

โควิด

UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจน พ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

เช็คอาการภาวะฉุกเฉินวิกฤติโควิด

หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ

หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง

ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น

เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง

แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด

อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย

โควิด
นพ.ธงชัย กีรติหัตยากร รองปลัด กระทรวงสาธารณสุข

แจงเหตุผล ทำไมถอดจาก ucep

ในกรณีที่เกิดการระบาดเมื่อ 2 ปีที่แล้วมีผู้ป่วยจำนวนมาก สธ.จึงมีแนวทางการนำเอา UCEP เข้ามาควบคุมโรค  เพื่อให้สามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาให้ได้มากที่สุด  ระยะแรกให้บริการเฉพาะโรงพยาบาลรัฐ   ต่อมาได้ขยายไปยังโรงพยาบาลเอกชน และขยายไปโรงพยาบาลสนามเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ

แต่ปัจจุบันเรามีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับโค วิดมากยิ่งขึ้น เรารู้ว่าจะต้องรักษา และรับมืออย่างไร ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการน้อยมากไม่จำเป็นจะต้องมารักษาที่รพ.ก็ได้ มีเพียง 10% ที่ต้องเข้ารับบการรักษาที่โรงพยาบาลโดย UCEP ได้มีการสำรองเตียง ไว้สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นเท่านั้น

เพราะฉะนั้นทุกคนสามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ และจะไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น   ดังนั้นรักษาผ่านระบบ  UCEP  เพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาความรวดเร็ว จะดูแลรักษาผู้ป่วยที่วิกฤต  ซึ่งขณะนี้มีเตียงรองรับผู้ป่วยวิกฤตกว่า 30,000 กว่าเตียง  เตียงรองรับผู้ป่วยอาการน้อย130,00 เตียง  สามารถขยายเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยรุนแรงได้ด้วย

ด้าน ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า สำหรับสิทธิการรักษาโควิดตามสิทธิต่าง ๆ คนไทยทุกคนมีสิทธิการดูแลรักษาประจำตัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น บัตรทอง  ประกันสังคม สิทธิข้าราชการ  ในช่วงที่เกิดการระบาดได้มีการเสนอให้เกิดกลไก UCEP เพื่อให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที

แต่ปัจจุบันพบว่าโอไมครอนอาการน้อยมาก และบางกรณีประชาชนนิยมเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ เป็นจำนวนมากทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถดูแลผู้ป่วยคนอื่น ๆ ได้

ดังนั้นจากการประชุมจึงเห็นชอบว่าควรจะปรับให้ไปตามสิทธิและยังได้รับการรักษาฟรี เช่นเดิม ดังนั้นเพื่อให้เกิดระบบที่ดีจัดระบบบริการต่าง ๆ  ส่วนการเตรียมความพร้อมรองรับให้ผู้ป่วยกลับไปรักษาตามสิทธิที่ติดตัว  ได้มีการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับผู้ป่วยไว้แล้ว

โควิด

รายละเอียดแต่ละสิทธิ การเข้าสู่ระบบการรักษาฟรี !!

กรมบัญชีกลาง  ข้าราชการที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ สามารถเบิกจ่ายค่าสวัสดิการรักษาสวัสดิการการักษาได้ตามสิทธิ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ผู้ถือบัตรทองสามารถรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่เป็นเครือข่ายของสปสช.

ประกันสังคม อยู่ระหว่างการประชุมคณะกรรมการแพทย์ 15 ก.พ. 2565 แต่คาดว่าน่าจะสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามโรงพยาบาล เครือข่าย

กองทุนเศรษฐกิจสุขภาพ และหลักประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพต่างด้าว

-แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามเข้ารับการรักษาที่ขึ้นทะเบียน  และสำนักการแพทย์

-ต่างด้าวไร้สิทธิ เข้ารับการรักษาเข้ารับสิทธิตามโรงพยาาบาลสังกัดรัฐ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักการแพทย์ กทม.

-บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เข้ารับ ตามโรงพยาาบาลสังกัดรัฐ  กระทรวงสาธารณสุข และสำนักการแพทย์ กทม.

Home Isolation เคลมประกันโควิดได้

ส่วนการเข้าสู่ระบบ HI ก็สามารถประสานโรงพยาบาลในเครือข่าย หรือตามสิทธิการรักษาได้ แต่หากอาการผิดปกติสามารถเข้าใช้ระบบ UCEP ไรักษาได้ทุก รพ.ทันที ยังเป็นการรักษาฟรีตามสิทธิต่าง ๆ แต่หากรักษาในรพ.เอกชนก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย

สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยใช่สิทธิตามประกันชีวิต ก็ให้ถือสิทธิการคุ้มครองให้เป็นไปตามกรมธรรม์ อย่างไรก็สธ. จะ ทำหนังสือยืนยันไปยัง คปภ. ว่าผู้ป่วยโค วิด-19 เป็นผู้ป่วยที่สธ.ได้ออกแบบไว้ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามที่ทำประกัน ไม่ว่าจะเป็น โฮสพิเทล หรือ HI ถือว่าเป็นสถานพยาบาลตามกำหนด  ยืนยันยังไม่ยกเลิกระบบฮอทพิเทล ซึ่งเป็นประกาศของ สธ.เพื่อดำเนินการขึ้นมารองรับผู้ป่วย สำหรับใช้ในการดูแลประชาชนยังมีประโยชน์อยู่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo