COVID-19

‘หมอเฉลิมชัย’ คาดจุดพีค ติดโควิดสูงสุด 5 หมื่นรายต่อวัน เสียชีวิตไม่เกิน 50 ราย

“หมอเฉลิมชัย” ประเมินสถานการณ์โควิดประเทศไทย คาดติดเชื้อสูงสุดไม่น่าจะเกิน 50,000 รายต่อวัน เสียชีวิตไม่น่าจะเกิน 50 รายต่อวัน 

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Chalermchai Boonyaleepun เผยวางใจผู้ติดเชื้อโควิดไม่ได้ คาดดเชื้อสูงสุดไม่น่าจะเกิน 50,000 รายต่อวัน เสียชีวิตไม่น่าจะเกิน 50 รายต่อวัน โดยระบุว่า

หมอเฉลิมชัย

วางใจจำนวนผู้ติดโควิดยังไม่ได้ แต่อาจจะพอเบาใจเรื่องจำนวนผู้เสียชีวิตได้ คาดติดเชื้อสูงสุดไม่น่าจะเกิน 50,000 รายต่อวัน เสียชีวิตไม่น่าจะเกิน 50 รายต่อวัน ทำไมถึงกล่าวเช่นนั้น

คงต้องแยกสถานการณ์โควิดออกเป็น 2 ประเด็นคือ เรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อ และจำนวนผู้ป่วยหนัก/เสียชีวิต

โดยเราทราบจากการเก็บข้อมูลสถิติต่างๆทั่วโลกในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีไวรัสโอไมครอนเป็นสายพันธุ์หลัก ว่า

1. โอไมครอนมีความสามารถในการแพร่ระบาดเร็วและง่ายกว่าเดลตา 4 เท่า จึงเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก

2. โอไมครอนมีความรุนแรงในการก่อโรคและทำให้เสียชีวิตน้อยกว่าเดลตา 3.5 เท่า จึงพบจำนวนผู้ป่วยหนักหรือเสียชีวิตทั่วโลกในระลอกนี้ น้อยกว่าในระลอกเดลตาที่ผ่านมา

3. เมื่อพิจารณาในระดับโลกจะพบว่า การติดเชื้อระลอกนี้ มีจำนวนที่สูงกว่าในระลอกของเดลตาชัดเจน เช่น

สหรัฐ ติดเชื้อเฉลี่ย 800,000 รายต่อวัน ถ้าปรับจำนวนประชากรเทียบกับประเทศไทยแล้ว ไทยจะติด 1.7 แสนรายต่อวัน

อังกฤษ ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 100,000 รายปรับประชากรเทียบกับไทยแล้ว ไทยจะติด 1 แสนรายต่อวัน

ญี่ปุ่น ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 100,000 ราย ปรับประชากรเทียบกับไทยแล้ว ไทยจะติดเชื้อ 50,000 รายต่อวัน

LINE ALBUM รวมหมอโควิด ๒๒๐๒๐๕ 1

4. สำหรับประเทศไทย จึงมีโอกาสที่จะพบผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 50,000 รายถึง 170,000 รายต่อวัน แต่ตัวเลขน่าจะมาในทาง 50,000 รายของญี่ปุ่น

เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยใส่หน้ากากใกล้เคียงกัน ส่วนอังกฤษและสหรัฐฯ ใส่หน้ากากน้อยกว่า ส่วนอัตราความครอบคลุมฉีดวัคซีนถือว่าไม่ต่างกันมากนัก

5. การเสียชีวิต

ญี่ปุ่นมีผู้เสียชีวิต 0.1% (92 ราย จากผู้ติดเชื้อ 94,431 ราย) ส่วนไทยเสียชีวิต 0.2% (21 ราย จาก ผู้ติดเชื้อ 10,490 ราย) ส่วนในระดับโลก เสียชีวิต 0.4% ( 956 ราย จากผู้ติดเชื้อ 216,984 ราย)

6. พิจารณาสำหรับประเทศไทย อัตราผู้เสียชีวิตน้อยกว่าในระดับโลก แต่ยังสูงกว่าประเทศญี่ปุ่น

7. โดยขณะนี้ ไทยเสียชีวิตจาก โอไมครอนน้อยกว่าเดลตาประมาณ 5 เท่า

8, ระลอกที่ 3 ที่เกิดจากไวรัสเดลตาเป็นหลัก ไทยพบผู้ติดเชื้อสูงสุด จำนวน 23,418 ราย (13 สิงหาคม 2564) ผู้เสียชีวิตสูงสุด จำนวน 312 ราย (18 สิงหาคม 2565)

สถานการณ์ขณะนั้น ฉีดวัคซีน 22 ล้านโดส เข็มหนึ่ง 17 ล้านโดส เข็มสอง 5 ล้านโดส เข็มสาม 0.4 ล้านโดส

9. ระลอกที่ 4 จากไวรัสโอไมครอน เรามีอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงเป็นอย่างมากคือจำนวน 116 ล้านโดส แบ่งเป็น เข็มหนึ่ง 52 ล้านโดส เข็มสอง 48 ล้านโดส เข็มสาม 15 ล้านโดส

เฉลิมชัย

10. ดังนั้นตัวเลขคาดการณ์ จึงจะมีตัวแปรสำคัญ จากจำนวนวัคซีนที่เราฉีดเพิ่มขึ้น โดยคำนวณจาก ผู้ติดเชื้อสูงสุด 23,418 ราย ×4 เท่าจากความสามารถของโอมิครอน จะเป็น 93,672 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตสูงสุด 312 ราย หารด้วย 3.5 เท่า จะเหลือ 89 ราย

11. เมื่อประมวลตัวเลขดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด จึงพอจะสรุปได้ว่า

  • จำนวนผู้ติดเชื้อในระลอกที่สี่จากโอไมครอนของประเทศไทย เรายังไม่สามารถวางใจจำนวนผู้ติดเชื้อได้ ซึ่งช่วงนี้ติดวันละ 10,000 ราย

เพราะเมื่อดูจากตัวเลขของวิชาการระดับโลก ของประเทศหลักๆแล้ว ของเราน่าจะใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น เมื่อปรับจำนวนประชากรแล้ว คือติดเชื้อวันละไม่เกิน 50,000 ราย(ขณะนี้ญี่ปุ่นติดวันละ 100,000 ราย) และจำนวนผู้เสียชีวิต ก็คงอยู่ในระดับ 0.1% ของจำนวนผู้ติดเชื้อ ก็คือเสียชีวิตไม่น่าจะเกิน 50 ราย

  • ทั้งนี้มีตัวแปรที่สำคัญคือ วินัยของประชาชนในการใส่หน้ากาก และหลีกเลี่ยงการถอดหน้ากากเวลาอยู่ใกล้ชิดกัน และมาตรการผ่อนคลายของรัฐบาล ที่ไม่ผ่อนคลายเร็วเกินไป ก็จะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อ และจำนวนผู้เสียชีวิต เป็นไปตามที่คาดการณ์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo