COVID-19

เปิดชื่อหลายโรงพยาบาลเตรียม ‘ฉีดวัคซีนใต้ผิวหนัง’

หมอธีระวัฒน์เผย หลายโรงพยาบาลเตรียม ‘ฉีดวัคซีนใต้ผิวหนัง’ สัปดาห์หน้า จากเดิมจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ช่วงที่ผ่านมา การถกเถียงกันเรื่องวิธีการฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งปัจจุบันจะใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขณะที่มีการเสนอให้ฉีดวัตซีนใต้ผิวหนังมาโดยตลอด

ล่าสุด ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha มีข้อความว่า

LINE ALBUM วัคซีนโควิดรพ 1.สนาม ๒๒๐๑๑๗ 2

ถ้าพยายามพูดว่าฉีดชั้นผิวหนัง ดีกว่าเพียงแค่มีไข้ปวดเมื่อยน้อยกว่าเท่านั้น คงไม่เพียรพยายามพูดมาตั้งแต่ กรกฎาคม 2564

วัคซีน ป้องกันตาย ดังนั้น….เราต้องให้ความปลอดภัยสูงสุดกับคนได้รับวัคซีน

โอไมครอนวัคซีนไม่กันติดดีนัก แต่ป้องกันป่วยหนักได้

รพ บางนา 5 รพ อินทรารัตน์

รพ senizens รพ ปรินซ์ ลำพูน

และอีกหลาย รพ จะเปิดฉีดชั้นผิวหนัง สัปดาห์หน้า

IMG 0465 1
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ คุณหมอธีระวัฒน์ ได้พยายามเสนอเรื่องการฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยยังมีวัคซีนไม่เพียงพอกับคามต้องการ เพราะการฉีดเข้าตัผิวหนังจะใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่า แต่สร้างภูมิคุ้มกันไม่ต่างจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ซึ่งคุณหมอธีระวัฒน์ เคยโพสต์เฟซบุ๊ก อธิบายเรื่อง ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง เพื่อความปลอดภัยสูงสุด เด็ก ๆ ในครอบครัว ตนเองและญาติผู้ใหญ่ รอวัคซีน ? จะทำอย่างไรให้คนไทยได้ฉีดวัคซีนทั่วถึง…เรามีทางออก

“ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง” หรือ INTRADERMAL (ID) สามารถฉีดวัคซีน 1 โดส ได้ 3 – 5 คน

 ทำไมการฉีดเข้าผิวหนัง ID (INTRADERMAL) ใช้โดสน้อยลงแต่ยังได้ผล ?

เพราะในผิวหนังมีเซลล์ APC (ANTIGEN PRESENTING CELL) ที่ทำหน้าที่คอยจับเชื้อโรคแล้วส่งข่าวบอกให้เม็ดเลือดขาวออกไปต่อสู้ หรือสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่าในกล้ามเนื้อ

เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปใต้ผิวหนัง APC ก็จะจับเชื้อในวัคซีนไปกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นดีกว่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ถ้าฉีดแบบ ID ใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่า ทำไมไม่ฉีดแบบใต้ผิวหนังตั้งแต่ต้น ?

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ INTRA MUSCULAR (IM) สะดวกกว่า

ฉีดเข้าผิวหนัง ID ฉีดยากกว่า อาจเกิดการอักเสบตรงตำแหน่งฉีดมากกว่า

จากการวิจัยในเบื้องต้น พบว่า ผลการฉีดแบบ ID ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นไม่ต่างกับ IM

รู้หรือไม่ว่าการฉีดแบบ ID ทำกันอยู่แล้ว เช่น พยาบาลเด็ก พยาบาลภูมิแพ้ หรือการฉีด BOTOX โดยการฉีดแบบ ID พยาบาลต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ

 ข้อดีของการ “ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง”

ใช้ปริมาณวัคซีนที่น้อยมากเพียง 0.05 CC เท่ากับ 10 ไมโครกรัม

Systemic Side effect (ผลข้างเคียงแบบฉีดเต็มโดส) น้อยกว่าแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่จะมี local side effects คือตุ่มนูนแดงที่ผิวหนังนาน 7 – 10 วัน ซึ่งจะยุบไปเอง

ผลการขึ้นของภูมิคุ้มกันเท่ากันกับแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

มีผลกระทบข้างเคียงน้อยและปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวในหลาย ๆ โรค

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo