COVID-19

ไล่ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนเสียชีวิต รายที่ 2 มะเร็งปอด-ยังไม่ฉีดวัคซีน

สธ. เปิดไทม์ไลน์ ผู้เสียชีวิต 2 รายจากติดเชื้อโอไมครอน รายแรกอายุ 86 ปี เป็นผู้ป่วยติดเตียง รับเชื้อจากหลานชาย ฮีดไฟเซอร์แล้ว 2 เข็ม ล่าสุดรายที่ 2 อายุ 84 ปี ป่วยมะเร็งปิดระยะสุดท้าย ยังไม่ฉีดวัคซีน

นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ล่าสุดมีผู้ป่วยโควิดเสียชีวิต ที่ยืนยันติดเชื้อโอไมครอน 2 ราย โดยมีไทม์ไลน์ ดังนี้

ติดเชื้อโอไมครอน

รายที่ 1 จังหวัดสงขลา

เป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี เป็นผู้ป่วยติดเตียงและอัลไซเมอร์ ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ประวัติเสี่ยง หลานชายที่เดินทางกลับมาจากภูเก็ต เป็นผู้ป่วยยืนยันโควิดสายพันธุ์โอไมครอน แพร่เชื้อให้แก่คนในครอบครัว

วันที่ 6 มกราคม 2565 ผู้ป่วยมีไข้ มีเสมหะ ทราบข่าวลูกสาวตรวจพบโควิด หลานสาวตรวจหาเชื้อด้วย ATK ผลเป็นบวก จึงส่งต่อเข้ารับรักษาที่รพ.หาดใหญ่

วันที่ 7 มกราคม 2565 ผู้ป่วยเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยในที่ รพ.หาดใหญ่ แพทย์เก็บตัวอย่าง ส่งตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ รพ.หาดใหญ่ ผลพบเชื้อ

รายที่ๅ

ผู้ป่วยมีใข้ 38.5C ไอ หายใจลำบาก แพทย์รับไว้ที่แผนก เอกซเรย์ปอด ผล infltration both lungs, on ETT แพทย์จ่ายยา Dexamethasone 10mg., Remdesivir

วันที่ 12 มกราคม 2565 ผู้ป่วยเสียชีวิต เวลา 09.20 น. ส่งตัวอย่างตรวจยืนยันสายพันธุ์ที่ ศวก.12 สงขลา ผลพบเชื้อ SAR-COV-2 สายพันธุ์ โอไมครอน

รายที่ 2 จังหวัดอุดรธานี

เพศหญิง อายุ 84 ปี ภูมิลำเนา อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี มีโรคประจำตัว มะเร็งปอดระยะสุดท้าย รักษาแบบประคับประคอง ใส่ออกซิเจน และไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน โดยได้รับเชื้อจากคนในครอบครัว

วันที่ 9 มกราคม 2565 ตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วยวิธี RT -PCR เนื่องจากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ของลูกชาย

รายที่2

วันที่ 10 มกราคม 2565 ผลตรวจพบเชื้อ โรงพยาบาลประสานเพื่อเข้ารับรักษา ผู้ป่วยและญาติปฏิเสธการเข้ารักษาในโรงพยาบาล แพทย์อนุญาติให้เข้าสู่ระบบ Home Isolation ตามความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติ

แพทย์ให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ตามแผนการรักษา และจัดเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายและออกซิเจนปลายนิ้ว โดยออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้ ผู้ป่วยไม่มีเหนื่อย หายใจไม่หอบ

วันที่ 11-12 มกราคม 2565 ออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้

วันที่ 13-14 มกราคม 2565 ผู้ป่วยรับประทานได้น้อยลง ไม่มีหายใจหอบ ไม่มีไข้ ออกซิเจนปลายนิ้ว 86-87%

วันที่ 15 มกราคม 2565 ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หายใจหอบ คำออกซิเจนปลายนิ้ว <76% เปลี่ยนออกซิเจนจาก cannular เป็น mask c bag ให้ออกซิเจนปลายนิ้ว 90% ประสานผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาล แต่ญาติปฏิเสธการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

แพทย์ให้เพิ่มฟาวิพิราเวียร์ จาก 5 วันเป็น 10 วัน และเพิ่มมอร์ฟีน ให้เนื่องจากยาเดิมหมด เวลา 16.00 น. ผู้ป่วยตอบสนองได้น้อยลง หายใจหอบลึก และคลำชีพจรไมได้ หัวใจหยุดเต้น เสียชีวิตเวลา 19.45 น. รวมระยะเวลารักษา Home Isolation 6 วัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo