COVID-19

‘หมอจุฬา’ สั่งจับตา! โควิดระบาดหนักหลังเดือน ม.ค. ย้ำป้องกันเคร่งครัด ใส่หน้ากาก 2 ชั้น

“หมอจุฬา” เผยยอดติดเชื้อโควิดทั่วโลกทะลุ 307 ล้านรายแล้ว สั่งจับตา! โควิดระบาดหนักหลังเดือนมกราคม ย้ำ!! ต้องป้องกันเคร่งครัด ใส่หน้ากาก 2 ชั้น

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า 10 มกราคม 2565 ทะลุ 307 ล้านไปแล้ว

หมอจุฬา

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,773,684 คน ตายเพิ่ม 3,237 คน รวมแล้วติดไปรวม 307,706,139 คน เสียชีวิตรวม 5,505,663 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย อิตาลี และสหราชอาณาจักร

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็น 84.38% ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็น 86.09%

ล่าสุด จำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็น 46.74% ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็น 49.67%

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก

…อัพเดต Omicron

ตอนนี้แพร่ระบาดไปแล้ว 150 ประเทศทั่วโลก (Source: BNO)

หมอจุฬา

จากการประเมินสถานการณ์ล่าสุดของ European Centre for Disease Prevention and Control พบว่า ประเทศต่างๆ ในยุโรปมี Omicron เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศนั้นมี Omicron เป็นสายพันธุ์หลักไปอย่างเต็มตัว เช่น

  • เบลเยี่ยม: 97.8% (2021-w52)
  • ไอร์แลนด์: 96% (5 January 2022)
  • เดนมาร์ก: 92.5% (2 January 2022)
  • สวีเดน: 91.7% (2021-w52)
  • ฝรั่งเศส: 80.3%% (2021-w52)
  • เนเธอร์แลนด์: 76.3%-90.8% (2 January 2022)
  • โปรตุเกส: 75% (27 December 2021)
  • ไอซ์แลนด์: 70% (21 December 2021)

สำหรับไทยเรานั้น 

ช่วงที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การระบาดปะทุกลับมารุนแรงขึ้น จากการมีกิจกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่มากขึ้น

เน้นย้ำให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ดูแลตนเองและครอบครัว

ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า

หมอจุฬา

เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี

พบคนอื่นน้อยลง สั้นลง และอยู่ห่าง ๆ ใส่หน้ากากแม้จะคุ้นเคยกันเพียงใด

กินอาหารในร้านต้องระวัง เวลากินไม่พูด เวลาจะพูดคุยให้ใส่หน้ากาก ซื้อกลับไปแยกกินจะปลอดภัยกว่า

คอยสังเกตอาการ หากไม่สบาย รีบแยกจากคนใกล้ชิด และหาทางตรวจรักษา

เรื่อง Long COVID อาจเป็นปัญหาระยะยาว หากควบคุมการระบาดไม่ได้

ช่วงเวลาที่จับตามองคือ หลังจากกลางเดือนมกราคม แนวโน้มการเพิ่มน่าจะมากขึ้นหากเป็นไปตามธรรมชาติของการระบาดที่เห็นจากต่างประเทศ หวังว่าเราจะสามารถช่วยกันป้องกันและบรรเทาการขยายวงระบาดอย่างพร้อมเพรียง

ไม่มีใครช่วยเราได้ หากเราไม่ทำ…

อ้างอิง : Weekly epidemiological update: Omicron variant of concern (VOC) – week 1 (data as of 7 January 2022) EU/EEA. ECDC. Accessed on 10 January 2022.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK