COVID-19

ส่องสถานการณ์เตียง เตรียม 1.1 แสนเตียงรับมือโอไมครอน ชงครม.ปรับค่าใช้จ่ายฮอสพิเทล

พร้อมรับมือโอไมครอน สธ.เตรียม 1.1 แสนเตียงทั่วประเทศ พร้อมยา เวชภัณฑ์พอเพียง เร่งจัดระบบดูแลผู้ป่วยเด็ก กลุ่มอายุ 5-11 ปีที่ยังไม่ได้วัคซีน เล็งปรับเกณฑ์ค่าใช้จ่ายฮอสพิเทล เสนอ ครม. 28 ธันวาคมนี้

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การเตรียมความพร้อมเรื่องเตียงรักษาผู้ป่วยโควิดนั้น มีการแบ่งระดับเตียงใหม่ตามความรุนแรงของโรค ดังนี้

รับมือโอไมครอน

  • เตียงระดับ 0 คือ Home isolation และ Community isolation
  • เตียงระดับ 1 ไม่ใช้ออกซิเจน
  • เตียงระดับ 2 แบ่งเป็นระดับคือ ระดับ 2.1 ใช้ออกซิเจนระดับน้อย หรือ oxygen low flow และระดับ 2.2 ใช้ออกซิเจนระดับสูง หรือ oxygen high flow จะมีปอดอักเสบค่อนข้างมาก และค่าออกซิเจนแย่ลง
  • เตียงระดับ 3 ใส่ท่อร่วมกับเครื่องช่วยหายใจได้

ระดับเตียง

เตรียมเตียงพร้อมรับมือโอไมครอน

สำหรับเตียงใน รพ. ทั่วประเทศมีประมาณกว่าแสนเตียง โดยเตียงเฉพาะเป็นปอดอักเสบรุนแรง หรือระดับ 2.2 oxygen high flow กับเตียงระดับ 3 โดยพบว่าเตียงทั่วประเทศมี 11,000 เตียง จึงนำมาพิจารณาว่าจะรับคนไข้โอไมครอนได้แค่ไหน

ทั้งนี้ ประมาณการณ์ว่า ผู้ติดเชื้อโอไมครองมีอาการรุนแรง นอนรพ.14 วัน มีเตียงรองรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงได้ 785 คนต่อวัน เมื่อทอนกลับมาเป็นผู้ป่วยทั้งหมด เตียงทั่วประเทศจะสามารถรับผู้ป่วยได้ถึง 52,300 คนต่อวัน ยังไม่รวมกรณี Home isolation ที่สามารถรับได้อีกหลายหมื่นคน

ดังนั้น หากเป็นกรณีฉากทัศน์แย่ที่สุด ประมาณการณ์ว่า จะมีผู้ป่วย 3 หมื่นกว่าคน ดังนั้น เตียงที่มีการประมาณไว้ยังรับได้ และเตียงยังเพิ่มได้อีก

จำนวนเตีนง ทั่วประเทศ

หากแยกเฉพาะ กทม.และปริมณฑล มีการประมาณเตียงรองรับผู้ติดเชื้อที่รุนแรงรวม 1,760 เตียง คาดว่า ผู้ติดเชื้อโอไมครองมีอาการรุนแรง นอนรพ.14 วัน มีเตียงรองรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงในกทม.และปริมณฑลได้ 125 คนต่อวัน

เมื่อคิดกลับมาเป็นผู้ป่วยทั้งหมดไม่ว่าจะสายพันธุ์อะไร มีเตียงรองรับได้ 8,300 คนต่อวัน ซึ่งกลุ่มนี้คาดการณ์มีอาการรุนแรง 1.5% หรือ 100 กว่าคนต่อวัน จำนวนเตียงจึงพอไหว อีกทั้ง ยังมีกลุ่มอาการน้อยหรือไม่มีอาการ จะไปอยู่ในกลุ่ม Home isolation(HI) และ Community isolation(CI)

ขณะที่ Home isolation จะเป็นคำตอบของผู้ป่วยโอไมครอน ที่อาจแพร่ระบาดใน 1-2 เดือนข้างหน้า เพราะครึ่งหนึ่งไม่มีอาการเลย

นอกจากนี้ ยังได้ปรับระบบ Home isolation จากของเดิม สปสช. ระบุว่า หากตรวจ ATK ด้วยตัวเองและพบผลบวก เมื่อโทรไป 1330 เป็นบวกภายใน 24 ชั่วโมงจะโทรกลับ แต่ล่าสุด จะขอให้สถานพยาบาลที่เข้าโครงการให้ติดต่อกลับภายใน 6 ชั่วโมง

จำนวนเตีนง

ส่วน Community isolation ที่ภาครัฐจัดไว้สำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยในชุมชน ทาง กทม.ให้เตรียมไว้ทุกเขต โดยมีเตียงสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ HI ไม่ได้อีกประมาณหมื่นเตียง ขณะที่ในต่างจังหวัด ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้จัดเตรียมความพร้อมไว้แล้ว

ขณะเดียวกัน ยังเตรียมพร้อมเตียงสำหรับเด็ก เพราะเด็กอายุ 5-11 ปียังไม่ฉีดวัคซีน อาจมีการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้ และจะมีแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโควิดที่ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งฟาวิพิราเวียร์ ยาแพกซ์โลวิด น่าจะเข้ามาอย่างเร็วกุมภาพันธ์ เนื่องจากต้องรอ อย.ขึ้นทะเบียนก่อน

ขณะนี้กรมฯ ได้สั่งการให้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ หรือ รพ.เด็กประสานงานกับโรงเรียนแพทย์ เอกชน กทม. กระทรวงกลาโหม ตำรวจ ให้เตรียมการเรื่องเตียงเด็ก รวมทั้งเตรียมยาน้ำของฟาวิพิราเวียร์ เป็นต้น

ปลัดสธ. สั่งการในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจะใช้มาตรการ HI เป็นหลัก เพราะใช้ได้จริง ผู้ป่วยที่อยู่ HI ไม่ได้ ให้ใช้ระบบ CI

พร้อมกันนี้ สปสช. และ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) จะมีการปรับเกณฑ์ค่าใช้จ่าย ฮอสพิเทล คาดว่าจะเสนอ ครม.พรุ่งนี้(28 ธันวาคม) และในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ได้เน้นย้ำ สสจ. รวมทั้งกทม.ให้เตรียมในส่วน Factory Isolation เพื่อแบ่งเบาภาระการใช้เตียงในรพ.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo