COVID-19

โควิดชลบุรีพุ่งอีก!! ยอดติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 166 ราย ดับอีก 1 ราย ดับสะสม 783 ราย

โควิดชลบุรียังพุ่งอีก!! ยอดติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 166 ราย ติดเชื้อสะสม 110,331 ราย เสียชีวิตอีก 1 ราย เสียชีวิตสะสม 783 ราย อยู่ระหว่างรักษาอีก 1,771 ราย

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี – Chonburi PR รายงานยอดโควิดวันนี้ ยอดติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 166 ราย ติดเชื้อสะสม 110,331 ราย เสียชีวิตอีก 1 ราย เสียชีวิตสะสม 783 ราย อยู่ระหว่างรักษาอีก 1,771 ราย

โควิดชลบุรี

วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 166 ราย

  • คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 28 ราย สะสม 5,326 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,856 ราย
  • Cluster โรงเพาะเห็ด ต.หนองหงษ์ อ.พานทอง 4 ราย สะสม 4 ราย
  • Cluster บริษัท สุภาวุฒิ อินดัสทรี จำกัด อ.บางละมุง 3 ราย สะสม 4 ราย
  • Cluster บริษัท อัสโน่ โฮริเอะ (ไทยแลนด์) จำกัด จ.ระยอง 8 ราย พักอาศัยในจังหวัดชลบุรี 7 ราย พักอาศัยในจังหวัดระยอง 1 ราย
  • อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 1 ราย
  • บุคลากรทางการแพทย์ 1 ราย
  • ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด (จังหวัดปทุมธานี) 1 ราย
  • สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน จากคนในครอบครัว 49 ราย จากสถานที่ทำงาน 39 ราย จากบุคคลใกล้ชิด 3 ราย และจากการร่วมวงสังสรรค์ 2 ราย
  • สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 4 ราย
  • อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 23 ราย

โควิดชลบุรี

สถิติการฉีดวัคซีน

ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2564 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,733,457 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 1,019 คน ปอดอักเสบ 12 คน และเสียชีวิต 5 คน

ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 154,281 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 441,355 คน รวม 595,636 คน ในเดือนนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ 213 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีน 1,632 คน ปอดอักเสบ 30 คน และเสียชีวิต 17 คน

ผู้ป่วยอาการหนัก-ผู้เสียชีวิต

สำหรับวันนี้ พบผู้ป่วยผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 4 ราย (ไม่พบประวัติการรับวัคซีนสองราย) และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 ราย (อายุ 61 ปี) มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง

การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีโอกาศที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น

การระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มจากแหล่งสถานบันเทิง สู่ครอบครัว มาสู่เพื่อนร่วมงาน มาสู่ชุมชนที่พักอาศัยพนักงาน แรงงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการทานข้าวร่วมกัน หรือมีกิจกรรมใกล้ชิด สังสรรค์แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก 2-3 คนในเพื่อนสนิท ทำให้เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ในที่มีผู้คนรวมตัวกัน ทั้งในในสถานประกอบการ ตลาด แคมป์คนงานก่อสร้าง และชุมชนที่พักอาศัย ค่ายทหาร

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK