COVID-19

เยาวชนอาเซียน ‘กลัวตกงาน’ หลังเรียนจบ เชื่อสายงานสาธารณสุข ‘มั่นคง’

ดีเอชแอล เผย เยาวชนในภูมิภาคอาเซียนกว่า 90% วิตกกังวลกับการหางานมากขึ้น ขณะที่มองว่า สายงานสาธารณสุขและการแพทย์ มั่นคงที่สุดในภาวะเศรษฐกิจถดถอย 

กลุ่มบริษัท ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล ผู้นำระดับโลกด้านบริการลอจิสติกส์ ได้เผยแพร่รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการหางานของเยาวชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยสำรวจความคิดเห็นทางออนไลน์ จากเยาวชนอายุ 15 ปีขึ้นไปกว่า 950 คนจาก 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา และเวียดนาม

สายงานสาธารณสุข

การศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GoTeach ของกลุ่มบริษัท ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกเช่น มูลนิธิเด็กโสสะ (SOS Children’s Villages) และ Teach For All

จากผลการศึกษาพบว่า กว่า 90% ของเยาวชนที่ตอบแบบสอบถามรู้สึก วิตกกังวล หรือ วิตกกังวลอย่างมาก เกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการหางาน โดยเกือบ 95% ยอมรับว่าการแพร่ระบาดส่งผลกระทบต่อกระบวนการหางาน

อย่างไรก็ตาม เยาวชนเหล่านี้ยังคงมีความรู้สึกเชื่อมั่น และมองโลกในแง่ดี โดย 88% เชื่อว่าตนเอง มีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน และกว่า 70% คาดว่าจะสามารถหางานได้ในระยะเวลาไม่ถึง 6 เดือนหลังจากที่จบการศึกษา

เมื่อได้การตอบรับในการเข้าทำงาน เยาวชนมองว่า โอกาสในการเรียนรู้ และ ความท้าทาย เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพิจารณาตกลงการเข้าทำงาน ตามด้วย ความมั่นคงของงาน โดยผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 20% ระบุว่าปัจจัยนี้มีความสำคัญอย่างมาก

ขณะที่ 38% ของเยาวชนที่ตอบแบบสอบถาม มองว่าวิธีการแบบเดิม ๆ เช่น การฝึกงาน เป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงาน รวมถึงคำแนะนำจากผู้สอนงานและอาจารย์ก็นับเป็นตัวช่วยที่สำคัญเช่นกัน

111

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า แหล่งรวมตำแหน่งงานทางออนไลน์ จะเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน แต่ก็ถูกมองว่าเป็นช่องทางที่มีประโยชน์น้อยที่สุด เพราะไม่มีการสร้างความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเหมือนกับการเป็นพนักงานฝึกหัด หรือการที่มีคนช่วยแนะนำในการเข้าทำงาน

เฮอร์เบิต วงษ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า แม้ชีวิตการทำงาน และชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคน จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด แรงงานดิจิทัลก็ยังเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDC) เผยว่ามีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 870,000 คนในไตรมาสที่สามของปี 2564 และผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงสุด (3.63%) ตามด้วยผู้จบการศึกษาระดับปวส. (3.16%

สายงานสาธารณสุข ครองใจเยาวชนด้านความมั่นคง

เยาวชนกว่า 360 คน รู้สึกว่าการทำงานในสายงานสาธารณสุขและการแพทย์ เช่น แพทย์ หรือพยาบาล เป็นอาชีพที่มั่นคงที่สุด ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าบุคลากรเหล่านี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก

 

ขณะที่ ตำแหน่งงานในภาคการศึกษาหรือภาครัฐ ตามมาเป็นอันดับที่สอง และประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เมื่อถามว่างานแรกที่อยากทำมากที่สุดคืออะไร มากกว่า 20% ตอบว่า อยากทำธุรกิจส่วนตัว เปรียบเทียบกับ 14% ที่เลือกสายงานด้านสาธารณสุขและการแพทย์

ส่วนตำแหน่งงานในภาคการศึกษา และธุรกิจโรงแรม/ท่องเที่ยว ครองอันดับที่สองและสาม ตามด้วยการแพทย์อยู่ในอันดับที่สี่

2222

เกียรติชัย พิตรปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ โซลูชั่นส์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดนำมาซึ่งความท้าทาย และโอกาสให้กับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

ทั้งนี้ ทักษะด้านการสื่อสาร ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม เป็นสามทักษะหลักที่เป็นที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรมปัจจุบัน

นอกเหนือจากทักษะด้านเทคนิคและความถนัดเฉพาะทางแล้ว 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลก็มีความสำคัญเช่นกัน ขณะที่ 30% คิดว่าทักษะด้านภาษาจะช่วยในการหางานได้ง่ายขึ้น

โทมัส ทีเบอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า คนรุ่นใหม่ในตลาดแรงงาน อาจรู้สึกวิตกกังวลกับความไม่แน่นอนของอาชีพการงาน โดยราว 66% ของคนไทยเผยว่าภาวะการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นสาเหตุของความเครียด

ขณะที่อีก 62% มองว่าเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยติดต่อกันเป็นเวลานาน

สำหรับโครงการ GoTeach ของดีเอชแอล ให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษา ทักษะการแก้ปัญหา และการบริหารจัดการความเครียดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเยาวชน และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในอนาคตการทำงานของเยาวชน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo