COVID-19

วิเคราะห์โควิด 4 ระลอกในไทย เดลตาหลัก ถูกสายพันธุ์ย่อยแทนที่แล้ว

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ วิเคราะห์วิวัฒนาการของไวรัสโควิด-19 ในไทย 4 ระลอก ล่าสุดเดลตา สายพันธุ์ย่อย แทนที่เดลตาสายพันธุ์หลักเรียบร้อยแล้ว

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เพจเฟซบุ๊ก วิเคราะห์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย จาก 4 ระลอกที่ผ่านมา โดยระบุว่า

shutterstock 1673968429

ไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ไหนในประเทศไทยซึ่งผู้ติดเชื้อจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการเลย

สำหรับประเทศไทย การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แบ่งได้เป็น 4 ช่วง

คลื่นระลอกแรก ของการติดเชื้อ เป็นคลัสเตอร์สนามมวยและสถานบันเทิง เป็นสายพันธุ์ A.6 ระบาดระหว่าง มกราคา 2563-กรกฏาคม 2563 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม อู่ฮั่น จำนวน +10 ตำแหน่ง

คลื่นระลอกสอง เป็นคลัสเตอร์โรงงานสมุทรสาครและตลาดปทุมธานี เป็นสายพันธุ์ B.1.36.16 ระบาดระหว่าง ตุลาคม 2563-พฤศจิกายน 2564 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม อู่ฮั่น จำนวน +20 ตำแหน่ง

วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 WHO ประกาศเรียกชื่อไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์ต่าง ๆ ตามอักษรกรีก เพื่อเรียกชื่อง่ายและไม่สับสน

https://www.who.int/…/31-05-2021-who-announces-simple…

จีโนม

คลื่นระลอกสาม เป็นคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ เป็นสายพันธุ์อัลฟา B.1.1.7  ระบาดระหว่าง มกราคม 2564-กรกฎาคม 2564 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม อู่ฮั่น จำนวน +50 ตำแหน่ง

คลื่นระลอกสี่ เป็นคลัสเตอร์แคมป์ก่อสร้าง เป็นสายพันธุ์เดลตา “B.1.617.2” ระบาดระหว่าง เม.ย. 2564-ปัจจุบัน กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม อู่ฮั่น จำนวน +60 ตำแหน่ง

ขณะนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าคลื่นลูกที่สี่ เดลตา ในไทยกำลังอยู่ในช่วงขาลง เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์พื้นที่บางแห่ง การเพิ่มระยะห่างในการเข้าสังคม (social distancing) ประชาชนช่วยภาครัฐตรวจสอบ ติดตามการติดเชื้อด้วยตนเองจากการใช้ ATK

การมีผู้ติดเชื้อไวรัสตามธรรมชาติบวกผู้ที่ได้รับวัคซีนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยแทบจะไม่มีกลุ่มต่อต้านการฉีดวัคซีน ทำให้มีอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ และผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง

จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ SARS- CoV-2 ในไทยพบว่า สายพันธุ์เดลตาหลัก ได้ถูกแทนที่ด้วย สายพันธุ์เดลตาย่อยเป็นที่เรียบร้อย

จีโนม1

เดลตาสายพันธุ์หลัก B.1.617.2 ประมาณ 4%

เดลตาสายพันธุ์ย่อย

AY.XX ประมาณ 90%

AY.85 ประมาณ 64%

AY.30 ประมาณ 16%

AY.79 ประมาณ 3%

AY.59 ประมาณ 2%

B.1.1.7 ประมาณ 1%

AY.101 ประมาณ 1%

AY.60 ประมาณ 1%

AY.122 ประมาณ 1%

AY.43 ประมาณ 1%

สายพันธุ์ย่อยอื่นๆ 6%

สำหรับสายพันธุ์ไหนในประเทศไทย ที่ผู้ติดเชื้อมีอาการน้อยหรือไม่แสดงอาการเลยคือสายพันธุ์ B.1.36.16 ในการระบาดระลอกที่ 2 ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นแรงต่างชาติที่ทำงานในโรงงานในสมุทรสาคร และบริเวณตลาดจังหวัดปทุมธานี

โดยผู้ติดเชื้อรายแรกจากปทุมธานีมีอาการเพียงจมูกเสียการรับกลิ่นไปเท่านั้น เสมือนเป็นวัคซีน “เชื้อเป็น” ที่เข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยไม่เจ็บป่วยรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

หากไม่มีการระบาด ระลอกที่ 3 ซึ่งมีสายพันธุ์ แอลฟา มาแทนที่ B.1.36.16 จำนวนผู้เสียชีวิตในประเทศไทยน่าจะน้อยกว่า 2 หมื่นราย และผู้ป่วยน่าจะน้อยกว่า 2 ล้านกว่าคน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo