COVID-19

รับมือ สายพันธุ์โอไมครอน กรมวิทย์ฯ เร่งพัฒนาน้ำยาตรวจ ยัน ATK และ RT-PCR ใช้ได้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยันยังไม่พบ “สายพันธุ์โอไมครอน” ในไทย เร่งพัฒนาน้ำยาตรวจจับเชื้อเฉพาะ พร้อมส่งเทคนิคตรวจจับให้กรมวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ ลั่นตรวจหาเชื้อด้วย RT-PCR และ ATK ใช้ได้

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ตั้งแต่เปิดประเทศมี 75 ตัวอย่าง ที่เดินทางมาจากประเทศต้นทาง คือ การ์ตา รัสเซีย ฝรั่งเศส จีน อเมริกา อังกฤษ และมอริเชียส (Mauritius) ซึ่งตรวจแล้ว 45 ตัวอย่าง และรออีก 30 ตัวอย่าง เบื้องต้น 45 ตัวอย่างไม่พบโอไมครอน โดยยังเป็นเดลตา และเดลตาย่อยอยู่

สายพันธุ์โอไมครอน

ส่วนกรณีที่เกิดข้อกังวลว่า การตรวจ RT-PCR ใช้ได้หรือไม่ ขอชี้แจงว่า แล็บที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทย์ฯ ที่ตรวจแล้วเป็นลบ แล็บต้องตรวจยีนมากกว่า 1 ยีน คือ 2 หรือ 3 ยีนขึ้นไป และต้องไม่พบทั้งหมด

เช่นเดียวกับการตรวจเป็นบวก ก็ต้องตรวจยีนมากกว่า 1 ตำแหน่ง และต้องพบทั้งหมดเช่นกัน แต่กรณีตรวจมากกว่า 1 ยีนที่ต่างกันหรือตรวจ 1 ยีนมากกว่า 1 ตำแหน่งแต่ไม่พบตามเกณฑ์ของชุดตรวจ คือ สรุปไม่ได้ ต้องมีการตรวจเพิ่มเติม ซึ่งการกำหนดการตรวจเช่นนี้ จะทำให้โอกาสหลุดรอดต่ำลง

แจงละเอียดการตรวจหาสายพันธุ์โอไมครอน

นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปกติการตรวจหาเชื้อ RT-PCR จะไม่ทราบว่าเป็นสายพันธุ์อะไร โดยจะทราบว่า ผลบวกหรือลบเท่านั้น แต่เมื่อทราบว่า ผลบวก จะมีจำนวนหนึ่งถูกสุ่มมาตรวจ แต่หากมาจากประเทศเสี่ยง จะนำมาตรวจทั้งหมด

กรมวิทย์

สำหรับการหาสายพันธุ์ที่ต้องรอการตรวจพันธุกรรมทั้งตัว หรือ Whole genome sequencing ต้องใช้เวลานาน 5-7 วัน ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงคิดเทคนิคเพื่อให้การตรวจรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากน้ำยาในการตรวจหาเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอน ยังไม่มี

เรากำลังพัฒนาน้ำยา ที่ตรวจหาเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอน คาดว่าอีก 2 สัปดาห์จะได้ ระหว่างนี้จึงใช้หลักว่า หากเอาน้ำยา 2 ตัวของอัลฟา และเบตา หากตรวจพบตำแหน่งที่กลายพันธุ์ทั้ง 2 ตัว คือ ตัวเจอทั้งคู่แสดงว่า เป็นโอไมครอน

ในการตรวจ 1 ตัวอย่างจะมี 2 น้ำยาของอัลฟา กับเบตา โดยหากพบตำแหน่งกลายพันธุ์ของอัลฟา คือ HV69-70deletion และตำแหน่งกลายพันธุ์ของเบตา คือ K417N โดยหากพบทั้งคู่แสดงว่าเป็นโอไมครอน

กรมวิทย์ATK

นอกจากนี้ ยังได้ประชุมทางไกล เพื่อให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศ  ดำเนินการตรงจุดนี้ เพื่อความรวดเร็ว ส่วนแล็บอื่น ๆ สามารถส่งตรวจศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ใกล้เคียงได้ เน้นกลุ่มที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยง

ในส่วนของการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK นั้น นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ยังใช้ได้อยู่ แต่ข้อมูลเบื้องต้นโปรตีนที่ใช้ตรวจยังไม่มีผลกระทบเรื่องการกลายพันธุ์ แต่ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการจดแจ้งว่า โปรตีนที่ใช้ตรวจไม่ได้มีผลต่อการกลายพันธุ์ ซึ่งจะมีการหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ทางบริษัทได้ดำเนินการต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo