COVID-19

‘หมอธีระวัฒน์’ ชี้ต้อง ‘ตาสว่าง’ สกัดโควิดไม่ให้กลายพันธุ์ อย่าเอาแต่ทำตาม ‘ฝรั่ง-บริษัทยา’ บอก

“หมอธีระวัฒน์” ชี้ ต้อง “เปิดตาให้สว่าง” โควิดกลายพันธุ์เกิดใหม่เรื่อย ๆ  ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาด แต่ต้องมีมาตรการ สร้างแรงกดดัน ไม่ให้ไวรัสกลายพันธุ์ ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด และวิสัยทัศน์ ไม่เอาแต่ทำตามฝรั่ง หรือบริษัทยาบอกแต่อย่างเดียว 

วันนี้ (28 พ.ย.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพจ  ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha กล่าวถึงกรณีไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ระบุ ต้องตาสว่าง ใช้ยารักษาตั้งแต่นาทีแรกที่ติด  การตรวจที่ไม่หลุด และวินัย เพื่อสร้างแรงกดดัน ไม่ให้เชื้อไวรัสเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นมา โดยระบุว่า

LINE ALBUM รวมหมอโควิด ๒๑๑๑๒๘ 0

ปะทุสายพันธุ์เพี้ยน จากอัลฟ่า เบต้า เดลต้า โอไมครอน และไม่ใช่แต่เท่านี้ “ตาสว่าง” คือ ที่เราต้องการ

วัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง ยาใช้รักษาตั้งแต่นาทีแรกที่ติด  การตรวจที่ไม่หลุด และวินัย

ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดที่มีกลุ่มใหม่ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ทั้งนี้ ต้องมีมาตรการดังต่อไปนี้ ในการสร้างแรงกดดันไม่ให้ไวรัสกลายพันธุ์

  • การป้องกันการติด

จากวัคซีนเข้มข้นในเวลาอันรวดเร็ว จนกระทั่งถึง 90% ทุกพื้นที่ และกระตุ้นทันทีที่ระดับภูมิคุ้มกันตก

การให้วัคซีนอย่างเข้มข้นเช่นนี้ เป็นการปิดโอกาส หรือเปิดโอกาสน้อยที่สุดให้กับไวรัส ที่จะมีการแพร่กระจายจากคนสู่คน ไปเป็นลูกโซ่ และกดดันไม่ให้มีการกลายพันธุ์หรือรหัสพันธุกรรมเพี้ยน จนกระทั่งสามารถ ตั้งตัวกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่

แต่วัคซีนทำให้คนตาย และพิการมากหลาย

ทำไมไม่ใช้การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง ซึ่งใช้ปริมาณน้อยกว่ามาก และมีความปลอดภัยกว่าการฉีดเข้ากล้าม

  • รักษาทันทีเมื่อเกิดติด

ไม่ต้องรอให้มีอาการ ด้วยยาต่าง ๆ ที่มีการปฏิเสธไม่ยอมใช้ ทั้ง ๆ ที่ราคาถูก เช่น ยา fliuvoxamine ivermectin

shutterstock 2033466542

  • การตรวจต้องเข้าใจว่า ATK มีประสิทธิภาพเพียง 50% เป็นอย่างมาก

และนำมาใช้ประกอบ เมื่อสถานการณ์เป็นการแพร่ โดยไม่มีอาการหนักเท่านั้น เพื่อประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย

ดังนั้น เมื่อเกิดมีไวรัสกลุ่มใหม่ ซึ่งตามรหัสพันธุกรรมมีศักยภาพในการติดง่าย แพร่ได้กว้างขวาง และเมื่อถึงระดับหนึ่งจะตายมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการตรวจ ที่ครอบคลุมได้ทั้งหมด โดยไม่หลุด เช่น broad spectrum PCR protocol ที่ไม่ได้ดูแต่ โอไมครอนแต่อย่างเดียว และศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬา ได้พัฒนาถึงจุดนั้นแล้ว และยังสามารถควบรวมกับการตรวจคัดกรองโปรตีนอีกส่วน

  • จนกว่าจะมีวัคซีนครอบจักรวาล (broad spectrum vaccine)

ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันการตายจากสายพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ และสายพันธุ์ที่จะมีการเพี้ยนในอนาคต  เราคงต้องอยู่กับโควิดไปอีกนาน

และต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด และวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่ต้องยอมรับว่า การรักษาตั้งแต่นาทีแรก เมื่อติดเชื้อด้วยยาที่เข้าถึงได้ทุกคน และถูกที่สุด เป็นเรื่องจำเป็น

“เปิดตาให้สว่าง”  ไม่ทำตามฝรั่ง สั่ง หรือบริษัทยาบอก แต่อย่างเดียว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo