COVID-19

วอนอย่าเพิ่งตระหนก ‘Omicron’ กรมวิทย์ฯ ยันยังไม่พบในไทย แต่ไม่ประมาท

กรมวิทย์ เปิดรายละเอียด “Omicron” โควิดสายพันธุ์ใหม่ พบกลายพันธุ์หลายตำแหน่งคาดส่งผลหลบภูมิคุ้มกันได้ ดื้อต่อวัคซีน แต่ยังต้องติดตามข้อมูลเพิ่มเติม วอนอย่าเพิ่งตระหนก ยังไม่พบในไทย

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงมาตรการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ ว่า ล่าสุดมีสายพันธุ์น้องใหม่ที่ต้องติดตามใกล้ชิด ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ยกชั้นให้เป็นสายพันธุ์น่าห่วงกังวล โดยเดิมถูกจัดเป็น B.1.1.529 และให้ชื่อว่า Omicron (โอมิครอน)

shutterstock 2081303017 1

 

ทั้งนี้ ส่งผลให้ล่าสุด สายพันธุ์ที่น่ากังวล Variant of Concern ( VOC) รวม 5 ตัว คือ อัลฟา เดลตา เบตา แกมมา และ โอมิครอน Omicron โดยวันนี้ เดลตามีสัดส่วนมากที่สุด และสายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือ Variance of Interest (VOI) ซึ่งมีแลมป์ดา กับมิว แต่ตอนนี้ไม่ได้มีบทบาทมากนัก

สำหรับ สายพันธุ์ Omicron ถูกพบเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 จากประเทศบอสวานา และพบใน 5-6 ประเทศใกล้เคียง รวมถึงตรวจเจอในฮ่องกง เบลเยียม อิสราเอ

ที่สำคัญตรวจพบในบางคนที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว ซึ่งทราบอยู่แล้วว่า วัคซีนไม่ได้การันตีว่าจะไม่ติดเชื้อ แต่ขอย้ำว่า จากการตรวจของประเทศไทย โดยตรวจไป 7 พันกว่าเคสยังไม่พบสายพันธุ์นี้ในประเทศไทย

สาเหตุที่ Omicron ถูกจัดอันดับให้เป็น VOC เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ไปกว่า 50 ตำแหน่ง และ 32 ตำแหน่งอยู่ในส่วนสำคัญ คือ โปรตีนหนาม หรือ สไปร์กโปรตีน อีกทั้ง การกลายพันธุ์นี้ยังเคยพบใน VOC เก่าๆมาก่อน ทั้งเบตา เดลตา อัลฟา และบางตัวมีฤทธิ์ในการหลบภูมิฯ หรือดื้อต่อวัคซีน แต่บางตัวก็กลายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ อย่างเบตา กลายพันธุ์ 9 ตำแหน่ง

โอมิครอบ

ดังนั้น ครั้งนี้จึงต้องจับตาว่า จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ แต่ขณะนี้เป็นข้อสันนิษฐานของตำแหน่งกลายพันธุ์ แต่ในโลกความเป็นจริงขณะนี้ ยังมีข้อมูลไม่มากพอ เป็นเพียงการคาดคะเน ในห้องปฏิบัติการ และข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่ที่ตรวจพบ ว่าแต่ละรายที่ตรวจพบมีค่าความเข้มข้นสูง ตรวจหาง่าย สะท้อนว่าอาจแพร่ติดเชื้อง่ายหรือเร็วขึ้น แต่ทั้งหมดเป็นข้อสันนิษฐานเท่านั้น

ขอให้ทุกท่านตั้งสติ แต่ขอให้เข้มมาตรการในการป้องกันโรค ทั้งสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ยังจำเป็น และไวรัสตัวนี้ตรวจได้เหมือนเดิมคือ RT-PCR

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ที่น่าห่วงคือ กลายพันธุ์หลายตำแหน่ง โดยเฉพาะสไปร์กโปรตีน แต่ข้อมูลยังไม่มากพอ จึงต้องติดตามร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกติดตามเรื่องนี้ ซึ่งระบบเฝ้าระวังของไทยมีมาตรฐานระดับโลก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo