COVID-19

ครม.ยกเลิก ‘พรก.ฉุกเฉิน-ยุบ ศบค.’ หันใช้ ‘พ.ร.ก.โรคติดต่อ’

ครม. ไม่ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้ ‘ศบค.’ สิ้นสภาพโดยอัตโนมัติ เห็นชอบร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 สธ. ย้ำไม่มีนิรโทษกรรมผู้บริหาร

วันนี้ (21 ก.ย.) มีรายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบวาระสำคัญของรัฐบาล ด้วยการยกร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 พ.ศ. …. (พ.ร.ก.คุมโรค) แทนการใช้ โดยจะไม่ขยายระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งส่งผลให้เป็นการยกเลิกการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปโดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ การไม่ขยายเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไป และส่งผลให้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สิ้นสุดลง ยังทำให้ ศบค. ซึ่งตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 7 วรรคห้า ต้องมีอันสิ้นสภาพไป โดยเพิ่มหมวดการจัดการฉุกเฉิน เพื่อไม่ต้องออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ทั้งนี้ ไม่มีผลให้เป็นการนิรโทษกรรมฝ่ายบริหาร แต่เป็นไปเพื่อคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต

พรก.ฉุกเฉิน

เห็นชอบ แก้ไขพรบ.โรคติดต่อ ใช้แทน พรก.ฉุกเฉิน

ขณะที่ นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในวันนี้ ครม.เห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ

มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ให้เป็นร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 พ.ศ. …. เพื่อกำหนดให้มีมาตรการที่จำเป็น และมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ระงับ ควบคุม หรือขจัดโรคติดต่อที่มีการระบาดในกรณีปกติ และในกรณีที่มีความรุนแรง ให้ยุติหรือบรรเทาลงโดยเร็ว

และเพิ่มหมวดเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เพื่อแยกการจัดการกรณีโรคติดต่อในสถานการณ์ปกติออกจากโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่มีลักษณะของการเป็นโรคอุบัติใหม่หรือโรคติดต่ออุบัติซ้ำ ซึ่งต่อไปจะได้ไม่ต้องประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)

ในส่วนบทบัญญัติคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ร่าง พ.ร.ก.ฯ กำหนดให้ยกเว้นความรับผิดให้แก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อและเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใด ซึ่งได้รับมอบหมายห รือได้รับการร้องขอให้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ “ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข”

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
รัชดา ธนาดิเรก

เช่นเดียวกับในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (ครอบคลุมไปถึง ผู้ช่วย อสม. พนักงานกู้ภัย) นับตั้งแต่วันที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คือ วันที่ 26 มีนาคม 2563

น.ส.รัชดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในร่างฯ ไม่มีเนื้อหาส่วนใดที่พูดถึงการนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่ระดับนโยบายหรือบริหารตามที่มีข้อคำถามอยู่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo