COVID-19

ทำตามขั้นตอนนี้ ขอรับเงินช่วยเหลือ ป่วยหลังฉีดวัคซีน สปสช.จ่ายแล้วกว่า 157 ล้านบาท

สปสช.แจงขั้นตอนยื่นเรื่อง ขอรับเงินช่วยเหลือ กรณีเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หลังฉีดวัคซีนโควิด ล่าสุดจ่ายเงินช่วยเหลือแล้วกว่า 157 ล้านบาท

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แจ้งข่าวประชาชนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของรัฐ หรือวัคซีนที่โรงพยาบาลเอกชนจัดหามาให้บริการโดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย หากเกิดความเสียหายขึ้น ประชาชนสามารถยื่นคำร้องให้ สปสช. จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ซึ่งหากเข้าเกณฑ์ของ สปสช.

เงินช่วยเหลือ

ในส่วนของวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก ที่ทางโรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้จัดหา และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้รับบริการนั้น หากเกิดความเสียหายขึ้น จะไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นของ สปสช. ดังนั้นผู้รับบริการต้องไปเรียกร้องกับทางโรงพยาบาลเอกชนแทน

หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือ

  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จะได้รับการช่วยเหลือไม่เกิน 400,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือพิการช่วยเหลือไม่เกิน 240,000 บาท
  • กรณีเกิดภาวะเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาไม่เกิน 1 แสนบาท

ทั้งนี้ ผู้เข้าเกณฑ์ขอรับเงินดังกล่าว สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกับ สปสช.ได้ที่ โรงพยาบาลที่ฉีด หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือที่ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทั้ง 13 เขต โดยมีระยะเวลายื่นคำร้องได้ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ทราบความเสียหาย

 

ใครสามารถยื่นคำร้องได้บ้าง

1. ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย หรือทายาท

2. กรณีไม่มีทายาท ผู้อุปการะที่ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูล หรือดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการสามารถยื่นคำร้องแทนได้

รับเงินโควิด

สถานที่ยื่นคำร้อง

1. โรงพยาบาลที่ฉีดวัคซีนโควิด-19
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)
3. สำนักงาน สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทั้ง 13 เขต

เอกสารและหลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง

1. สำเนาบัตรประชาชน

2. สำเนาใบมรณบัตรของผู้รับบริการ กรณีที่เสียชีวิต

3. ความเห็นแพทย์ผู้ให้การรักษาและการหยุดพักงาน

4. สำเนาเอกสารผลการสอบสวนโรคของกระทรวงสาธารณสุข (ถ้ามี)

สปสช.

สำหรับแบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีน สามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม สปสช. จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้มีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว 3,224 ราย รวมเป็นเงินกว่า 157 ล้านบาท

ด้านเขตที่ยื่นคำร้องมากที่สุดคือ กทม. 914 ราย รองลงมาคือ เขต 1 เชียงใหม่ 618 ราย และเขต 10 อุบลราชธานี 499 ราย กรณีไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ยื่นอุทธรณ์ ได้ภายใน 30 วัน

หลักการจ่ายเงินเยียวยาเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ สปสช.นั้น ไม่ไช่การพิสูจน์ถูกผิดหรือชี้ชัดว่าเป็นผลที่เกิดจากการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด แต่เป็นเงินเยียวยาเพื่อลดผลกระทบที่เกิดแก่ประชาชน เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น แม้ในภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้มาจากวัคซีน ก็จะไม่มีการเรียกเงินคืน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo