COVID-19

ผลวิจัยแคนาดา ‘ไฟเซอร์ โมเดอร์นา’ ป้องกันได้ทุกสายพันธุ์ ยกเว้นเดลต้ายังไม่มีผลศึกษา

หมอเฉลิมชัย เปิดผลวิจัยฉีดวัคซีน ไฟเซอร์ โมเดอร์นา พบป้องกันติดเชื้อ เจ็บป่วยรุนแรง ทั้งไวรัสสายพันธุ์ อัลฟา เบตา และแกมมา แต่สายพันธุ์เดลตา ยังไม่มีผลการศึกษา

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “Chalermchai Boonyaleepun” เผยผลวิจัยจากแคนาดา พบวัคซีนไฟเซอร์ โมเดอร์นา ป้องกันติดเชื้อ เจ็บป่วยรุนแรง ทั้งไวรัสสายพันธุ์ อัลฟา เบตา และแกมมา แต่สายพันธุ์เดลตา ยังไม่มีผลการศึกษา โดยระบุว่า

ไฟเซอร์ โมเดอร์นา

รายงานการศึกษาจากแคนาดา พบว่า วัคซีน ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา มีประสิทธิผล ป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการได้ 91% ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง จนต้องนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ 98% คุมได้ดีทั้งไวรัสสายพันธุ์ อัลฟ่า เบต้า และแกมม่า

คำถามที่ประชาชนทั่วโลกต้องการคำตอบทางวิชาการ จากนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือแพทย์ ก็คือ

วัคซีนตัวไหน มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคดีกว่ากัน และต่อสายพันธุ์ต่าง ๆ แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

คำตอบนี้ จำเป็นจะต้องมีความเข้าใจ และรับทราบในประเด็น ดังต่อไปนี้

1. ประสิทธิผล (Efficacy) ที่ได้จากการทดลองในอาสาสมัคร (Clinical Trial) จะมีข้อจำกัดในความน่าเชื่อถือและการอ้างอิง แต่ออกมาก่อนใช้จริงในคนหมู่มาก จึงมักเป็นที่รับทราบของคนทั่วไป

2. ประสิทธิผล (Effectiveness ) ที่ได้จากในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) จะมีความน่าเชื่อถือและอ้างอิงได้มากขึ้น แต่ก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องความแตกต่างของการศึกษาในแต่ละประเทศ คนละห้วงเวลา และหลายปัจจัยตัวแปร

ไฟเซอร์ 6

ยกเว้นจะมีการศึกษาวัคซีนหลายชนิด ในประเทศเดียวกัน ห้วงเวลาเดียวกัน และทำการออกแบบการศึกษาให้รัดกุม แต่คนทั่วไปก็จะไม่ค่อยได้รับทราบ และมักจะจำข้อมูลประสิทธิผลการทดลองในอาสาสมัครไปก่อนแล้ว

วัคซีนเทคโนโลยี mRNA ทั้งไฟเซอร์ และโมเดอร์นา มีประสิทธิผลการทดลองในอาสาสมัคร (Efficacy) สูงในระดับ 95 และ 94% ตามลำดับ

ส่วน ประสิทธิผลในโลกแห่งความจริง (Effectiveness) ก็มีค่าลดลงมากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่ละรายงานการศึกษา

รายงานล่าสุด ที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เป็นรายงานที่มีขนาดใหญ่ และออกแบบการเก็บข้อมูลไว้อย่างดี ที่แคนาดา ในเขต Ontario โดยเป็นการเก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ถึง 19 เมษายน 2564

เก็บข้อมูลจากคนที่มีอาการคล้ายจะเป็นโควิด หรือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 324,033 ราย นำมาตรวจด้วยวิธี RT-PCR ทั้งหมดพบว่าเป็นโควิดจริง 16.4% หรือ 53,270 ราย

ในกลุ่มที่มีผลทดสอบเป็นบวกนี้ แยกเป็นผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน 51,220 รายหรือ 96.15% และเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว 2050 ราย หรือ 3.5%

ในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนนี้ ฉีดเข็มเดียว 1977 ราย 3.71% ฉีดครบสองเข็ม 73 ราย 0.14%

cell virusโควิดใน ม ๒๑๐๘๒๓

จะเห็นได้ชัดเจนว่า วัคซีนมีส่วนช่วยในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ เมื่อนำมาคำนวณทางสถิติ พบว่า ในกลุ่มที่ติดเชื้อแบบมีอาการ มีประสิทธิผลในการป้องกันที่ 91%
ถ้าดูเฉพาะกรณีฉีดเข็มเดียว ประสิทธิผลจะอยู่ที่ 60%

ส่วนในกลุ่มที่ป้องกันอาการรุนแรง จนต้องนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต จะมีประสิทธิผล 98% ในกรณีฉีดเข็มเดียวจะมีประสิทธิผล 70%

ทั้งนี้ได้วิเคราะห์สายพันธ์ุของไวรัสที่เกิดขึ้น ในกลุ่มที่ได้รับการศึกษา พบว่าเป็นสายพันธุ์ อัลฟา เบตา และแกมมา ยังไม่มีเดลต้า

จึงทำให้ได้ข้อสรุปว่า วัคซีนเทคโนโลยี mRNA ทั้ง ไฟเซอร์ โมเดอร์นา สามารถป้องกันไวรัสในกลุ่ม VOC ( Variant of Concern) ได้ดี ยกเว้นสายพันธุ์เดลตา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo