COVID-19

พบโควิด ‘สายพันธุ์อัลฟา’ ระบาดในไทยมากสุด ‘สายพันธุ์เดลตา’ กำลังมาแรง!

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด สุ่มตรวจผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,206 ราย ในรอบ 7 วัน พบเป็น “สายพันธุ์เดลตา” เกือบ 70% ขณะภาพรวมทั้งประเทศ ตั้งแต่ 1 เมษายน  “สายพันธุ์อัลฟา” ยังมากที่สุด

วันนี้ (30 ก.ค.) นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการว่า แนวโน้มในภาพรวมของประเทศ จากข้อมูลการเฝ้าระวังระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม ถึง 23 กรกฎาคม 2564 จากการสุ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 3,206 ราย

  • สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 2,215 ราย (69.1%)  ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว
  • สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) จำนวน 905 ราย (28.2%)
  • สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 86 ราย (2.7%)

สายพันธุ์เดลตา

สายพันธุ์เดลตา กำลังระบาดแรงในไทย

ผลการสุ่มตรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,273 ราย 

  • สายพันธุ์เดลตา จำนวน 1,053 ราย (82.7%)
  • สายพันธุ์อัลฟา จำนวน 220 ราย (17.3%)
  • สายพันธุ์เบตา ไม่พบผู้ติดเชื้อ

ผลการสุ่มตรวจส่วนภูมิภาค จำนวน 1,933 ราย

  • สายพันธุ์เดลตา 1,162 ราย (60.2%)
  • สายพันธุ์อัลฟา 685 ราย (35.4%)
  • สายพันธุ์เบตา 86 ราย (4.4%)

สายพันธุ์เดลตามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และขณะนี้พบแล้ว 72 จังหวัด ส่วนสายพันธุ์อัลฟา และสายพันธุ์เบตา มีแนวโน้มสัดส่วนลดลง

สายพันธุ์เดลตา

สายพันธุ์เบตาส่วนใหญ่ ยังพบในพื้นที่ภาคใต้มากที่สุด ที่จังหวัดนราธิวาส และมีจำนวนประปรายในจังหวัดปัตตานี สตูล ตรัง กระบี่ สุราษฏร์ธานี และมีพบที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดบึงกาฬ

สำหรับสายพันธุ์เบตาที่พบที่จังหวัดบึงกาฬที่ผ่านมาพบ 4 ราย สัปดาห์นี้พบ 1 ราย เป็นญาติกับผู้ป่วยที่ยืนยันก่อนหน้านี้ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานในพื้นที่ได้ดำเนินการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลการเฝ้าระวังทั้งประเทศระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 23 กรกฎาคม 2564

  • สายพันธุ์อัลฟาจำนวน 13,311 ราย (61.18%)
  • สายพันธุ์เดลตา จำนวน 7,977 ราย (36.67%)
  • สายพันธุ์เบตา จำนวน 468 ราย (2.15%)
  • การติดเชื้อร่วม 2 สายพันธุ์ (Mix infection) ขณะนี้ยังไม่พบรายใหม่เพิ่มแต่อย่างใด

สายพันธุ์เดลตา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo