COVID-19

‘หมอนิธิพัฒน์’ ไขข้อข้องใจ ‘ปอดอักเสบโควิด’ ประชาชนต้องรู้ รักษาตัวเอง (ตอน 2)

ปอดอักเสบโควิด “หมอนิธิพัฒน์” ไขข้อข้องใจ รวมคำถาม-คำตอบ ให้ประชาชนเรียนรู้ ดูแลรักษาตัวเองให้รอดพ้น ในยามที่ภาคการแพทย์ และฝ่ายบริหารรัฐไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “นิธิพัฒน์ เจียรกุล” รวมคำถามคำตอบ เรื่องปอดอักเสบจากโควิด ให้ประชาชนเรียนรู้ ดูแลรักษาตัวเอง ในยามที่ภาคการแพทย์ และฝ่ายบริหารรัฐ ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ดังนี้

ปอดอักเสบโควิด

“ปุจฉาวิสัชนาโควิด สำหรับประชาชน

ปุจฉา: แพทย์วินิจฉัยปอดอักเสบจากโควิดได้อย่างไร และเราจะสังเกตตัวเองที่บ้านได้ไหม

วิสัชนา: แพทย์จะอาศัยประวัติการมีไข้ ไอ หายใจเหนื่อย ประกอบกับการพบฝ้าขาวในเอกซเรย์ปอด สำหรับผู้ที่สังเกตอาการของตัวเองอยู่ที่บ้าน ทั้งที่รู้ว่าติดโควิดแล้ว แต่แพทย์ให้รักษาตัวเอง นอกโรงพยาบาล หรือเป็นผู้มีความเสี่ยงแต่ยังไม่ได้ตรวจ หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ท่านอาจเกิดปอดอักเสบจากโควิดแล้ว คือ

1. ไข้เกิน 38.5 องศา เป็นเวลา 2 วัน หรือ

2. หายใจเหนื่อย หรือหายใจเร็วกว่า 22 ครั้งต่อนาที หรือ
3. เจ็บหน้าอกเวลาสูดหายใจลึก หรือเวลาไอ

รวมหมอโควิด ๒๑๐๗๒๘ 0

เมื่อแพทย์วินิจฉัยได้แล้วว่าเป็นปอดอักเสบ แพทย์จะเริ่มให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ แล้วส่วนใหญ่จะให้รักษาตัวในโรงพยาบาล หรืออาจให้รักษานอกโรงพยาบาลได้ ถ้าเราแข็งแรงดีและดูแลตัวเองได้

จากนั้นจึงประเมินว่า ปอดอักเสบ มีความรุนแรงต้องให้ออกซิเจนร่วมรักษาด้วยหรือไม่ โดยพิจารณาจากการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจน จากจังหวะการเต้นของเส้นเลือด (oxygen saturation from pulse oximetry ต่อไปจะเรียกย่อว่า วัดแซต) ซึ่งถ้าในขณะอยู่นิ่ง ถ้ามีค่าตั้งแต่ 94% ลงไป จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนเสริม

ประโยชน์ของการวัดแซต กรณีปอดอักเสบโควิด

ปุจฉา: การวัดแซตมีประโยชน์อย่างอื่นอีกหรือไม่

วิสัชนา: เมื่อพบว่าเป็นปอดอักเสบจากโควิดแล้ว แพทย์จะพิจารณาว่า วัดแซตในขณะอยู่นิ่งได้เท่าไร ถ้าพบว่ามีค่าตั้งแต่ 95% ลงไป หรือถ้ามีค่าตั้งแต่ 96% ขึ้นไป แต่ลดลงอย่างน้อย 3% เมื่อออกแรงโดยเดินเร็วๆ ราว 3 นาที หรือลุกนั่งซ้ำ ๆ ติดต่อกันราว 1 นาที แสดงว่าการแลกเปลี่ยนก๊าซของปอดผิดปกติมาก

กรณีนี้ จำเป็นต้องให้ยาต้านการอักเสบ เพื่อปรับสมดุล ภูมิคุ้มกันตอบสนองของร่างกาย ให้พอเหมาะ ด้วยการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งจะเป็นเดกซาเมทธาโซน หรือเพรดนิโซโลนก็ได้ โดยจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์ คู่กับสเตียรอยด์นี้นาน 10 วัน

สำหรับคนที่มีโรคเบาหวานชนิดควบคุมได้ยาก หรือมีปัญหาอาเจียนเป็นเลือด เพิ่งหายไม่นาน ต้องแจ้งแพทย์ เพราะอาจเกิดอันตราย จากการได้รับยาสเตียรอยด์

ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้วัดแซต มักใช้จับที่ปลายนิ้ว ส่วนใหญ่เป็นนิ้วชี้ ควรเป็นเครื่องมือชนิดที่ทางโรงพยาบาลจัดส่งให้ หรือชนิดที่ได้รับการรับรองคุณภาพ จากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นิ้วที่ใช้วัด ต้องไม่มีการผิดรูป หรือทาสีเล็บหนามาก และขณะวัด มือและนิ้วต้องอยู่นิ่ง ไม่แกว่งไปมา

shutterstock 1642467388

ปุจฉา: ในกรณีรักษาโรคโควิด-19 ที่บ้าน จะมียาต้านไวรัสอะไรบ้าง

วิสัชนา: ในกรณีที่ไม่พบว่า เกิดปอดอักเสบในตอนแรก หรือยังไม่ได้ตรวจเอกซเรย์ปอด การกินยาฟ้าทะลายโจ รในรูปแบบและขนาดที่โรงพยาบาลแนะนำ สามารถช่วยลดปริมาณไวรัสลงได้ และอาจช่วยยับยั้งการเกิดปอดอักเสบ หรือช่วยลดความรุนแรงของปอดอักเสบ

สำหรับคนที่มีโรคตับอยู่ก่อน ต้องระมัดระวังการใช้ยาฟ้าทะลายโจรด้วย แต่ถ้าตรวจพบว่า เกิดปอดอักเสบขึ้นแล้ว แพทย์จะให้ยาฟาวิพิราเวียร์ทดแทน เพราะถ้าให้ยาสองชนิดนี้ร่วมกันจะเกิดตับอักเสบได้ง่ายขึ้น

ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาที่ปลอดภัย เมื่อใช้ในขนาดที่แพทย์แนะนำ ผลข้างเคียงที่พบน้อยมาก แต่มีความสำคัญทำให้ต้องหยุดยา คือ ตับอักเสบ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับยาที่ยังอยู่ในช่วงทดลอง ว่าอาจมีฤทธิ์ลดไวรัส หรือชะลอการอักเสบของปอดได้ แต่ยังไม่ได้รับการรับรอง เช่น ไอเวอร์เมคติน หรือ ฟลูวอกซามีน หรือ บูเดโซไนด์ขนิดพ่นสูด ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ภายใต้การดูแลใกล้ชิดของแพทย์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo