COVID-19

‘หมอธีระวัฒน์’ เปิดงานวิจัย ‘ซิโนแวค’ สู้ไวรัสกลายพันธุ์ไม่ไหว

“หมอธีระวัฒน์” เปิดงานวิจัย เทียบประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน ที่ “วัคซีนซิโนแวค”  ชี้ แม้ภูมิขึ้นดี แต่ต้านทานไวรัสกลายพันธุ์ไม่ได้ 

วันนี้ (15 ก.ค.) ศ.นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเพจ “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” กล่าวถึงประสิทธิภาพ ของวัคซีนป้องกันโควิด “ซิโนแวค” โดยระบุว่า

งานวิจัยไทย ของท่าน อจ. อรุณี และคณะ จาก คณะวิทยาศาสตร์มหิดล พบว่า ภูมิคุ้มกันของการฉีดวัคซีน Sinovac กับการติดเชื้อ ต่อสายพันธุ์ต่าง ๆ ไม่ดี ทั้งเดลตา เบตา และแม้แต่อัลฟาเอง แม้ว่าภูมิจะขึ้นดีก็ตาม ทำใน คนที่ได้รับวัคซีน 60 คน

217540906 4680648938635290 8890598355520527786 n

ทั้งนี้ ในบทย่อของรายงานวิจัยดังกล่าว ระบุว่า การเพิ่มขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ของการกลายพันธุ์ในไวรัสโควิด-19 จนทำให้เกิดสายพันธุ์ต่างๆ ขึ้นมา ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องประเมินระดับของแอนติบอดี ที่เกิดจากวัคซีน และการติดเชื้อ

ปัจจุบัน ไทย รวมถึง ประเทศรายได้น้อยชาติอื่น ๆ มีการใช้ วัคซีนโคโรนาแวค ของบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค จากจีนเป็นวงกว้าง ซึ่ง ไวรัสกลายพันธุ์ ที่กำลังระบาดในไทยขณะนี้ มีอยู่ 3 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ สายพันธุ์ B.1.1.7 (อัลฟา), B.1.351 (เบตา) และ B.1.617.2 (เดลตา)

การวิจัยได้ประเมินศักยภาพของภูมิคุ้มกัน ที่มีต่อไวรัสต้นแบบ เทียบกับ สายพันธุ์กลายพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด โดยใช้เซรุ่มที่ได้มาจากกลุ่มคนทำงานด้านสาธารณสุข ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโคโรนาแวค ครบ 2 โดสแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีเซรุ่มจากกลุ่มคนไข้ที่เคยติดเชื้อโควิด 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่อปี 2563 และกลุ่มที่เข้ารับการรักษาในปี 2564 เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน

การศึกษาพบว่า แม้จะมีการผลิตภูมิต้านทานในระดับต่าง ๆ ที่แข็งแกร่งอย่างเท่าเทียมกัน แต่เซรุ่มที่ได้มาจากกลุ่มที่ฉีดวัคซีนโคโรนาแวค และบุคคลที่ติดเชื้อไวรัสโควิดนั้น มีความสามารถในการต้านทานไวรัสกลายพันธุ์ทั้ง 3 สายพันธุ์ลดลง เมื่อเทียบกับการต้านทานไวรัสโควิดชนิดดั้งเดิม

นอกจากนี้ ยังค้นพบสิ่งที่น่าสนใจว่า ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ สามารถต้านทาน สายพันธุ์อัลฟ่า และเบตา ได้ในระดับที่เท่า ๆ กัน แต่ดูเหมือนว่า จะต้านทาน สายพันธุ์เดลตาได้น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ

งานวิจัยนี้ อาจช่วยบ่งขี้ ถึงประสิทธิภาพของวัคซีน ที่มีต่อไวรัสโควิดดั้งเดิม และไวรัสโควิดกลายพันธุ์ทั้ง 3 สายพันธุ์ และอาจทำให้ เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายด้านสาธารณสุข ที่จำเป็นต้องคงกลยุทธ์ การบรรเทาผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ แม้กระทั่งในกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo