COVID-19

ประธานบอร์ด รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ลั่น ‘ไม่ท้อ’ สู้โควิด แบกค่าใช้ต่อเดือน 4-5 ล้าน ไร้รัฐหนุน

ประธานบอร์ด รพ.ธรรมศาสตร์ฯ  “สุรพล นิติไกรพจน์” บอกเล่า สถานการณ์ล่าสุด ในการรองรับผู้ป่วยโควิด และการเตรียมพร้อมรับการฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ ระบุ สู้ต่อไป แม้จะต้องแบบรับค่าใช้จ่ายทั้งหมด เดือนละไม่ต่ำกว่า 4-5 ล้าน ไร้การสนับสนุนจากภาครัฐ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้เขียนบทความบอกเล่า ถึงสถานการณ์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม รองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงการจัดเตรียมสถานที่สำหรับการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน รวมถึง ความมุ่งมั่นในการทำงานของบุคลากร และอาสาสมัครทุกคน และค่าใช้จ่ายที่ทางโรงพยาบาลต้องแบกรับ โดยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทางรัฐ โดยระบุว่า

niii 1

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม วันที่สี่สิบห้าของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์

เรามาอยู่ที่นี่เป็นรอบที่ 3 ที่อาคาร DLUXX ครบเจ็ดสัปดาห์แล้วนะ  เราน่าจะเป็นโรงพยาบาลสนามที่อยู่ยาวนานกว่าใคร ๆ ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อรองรับการระบาดเฉพาะพื้นที่ ซึ่งทยอยปิดกิจการกันไปเรื่อย ๆ เมื่อการระบาดเฉพาะถิ่นจบลง

แต่ที่นี่เราไม่ได้ตั้งขึ้นเพื่อพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะ แต่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับระบบสาธารณสุขของปทุมธานีและกรุงเทพตอนเหนือ เราตั้งขึ้นเพื่อช่วยดึงคนไข้ออกจาก รพ.หลักในเขตของเราทั้งหมดรวมไปถึงจากโซนอื่น ๆ ในกทม.ที่มีผู้ป่วยหนักเกินกำลัง  เพื่อให้รพ.เหล่านั้นสามารถมีเตียงว่างไปรับผู้ป่วยใหม่ ๆ ได้เรื่อย ๆ

ดังนั้นเราจึงปิดการไม่ได้ หยุดพักไม่ได้ ไม่รับผู้ป่วยแม้วันเดียวก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดภาวะเตียงเต็มขึ้นในรพ.ด่านหน้าทั้งหลายทันที

หลาย ๆ คนถามว่าจะปิด รพ.สนามธรรมศาสตร์ได้เมื่อไหร่ คำตอบที่พอจะตอบได้ก็คือเมื่อผู้ป่วยโควิดรายใหม่ของประเทศในแต่ละวันลดลงเหลือน้อยกว่าพันคนกระมัง ความหวังที่แพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการสาธารณสุขของเราที่อยู่ที่นี่จะได้หยุดพักบ้างคงมีอยู่ แต่ก็คงอีกนานกว่าจะมาถึง

ถึงอย่างไรก็ตาม เราจะสู้ต่อไป ไม่ท้อ ไม่เลิกราเพื่อพวกเราชาวไทยทุก ๆ คนที่เรารัก

วันนี้ที่ รพ.สนามเรารับผู้ป่วยเข้ามาจากรพ.ต่าง ๆ หลายแห่งได้อีก 17 คนและมีผู้ป่วยที่เราดูแลจนกลับบ้านได้มากถึง 51 คน จึงยังเหลือคนที่อาศัยอยู่ให้พวกเราดูแลจำนวน 196 คน เหลือต่ำกว่าสองร้อยแล้วนะ

S 5948272

ผู้ป่วยโควิดเหล่านี้คือหน้าที่ และความรับผิดชอบของพวกเราที่มีต่อสังคมไทย พวกเราที่นี่ สัญญาว่าจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดต่อไปนะ

สำหรับที่ รพ.ธรรมศาสตร์ นอกจากภาระการฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็ม 2 วันละพันคนตามรอบเวลา และภาระการดูแลผู้ป่วยอื่น ที่ไม่ใช่โควิดที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้รพ.จะไม่นัดคนไข้ที่ไม่จำเป็นในช่วงนี้ และแม้จะมีการปิดห้องผ่าตัด ที่ไม่ใช่เคสฉุกเฉินไปครึ่งหนึ่งก็ตาม เพราะเราห้ามคนไม่ให้ป่วย ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และไม่ให้มาตรวจ ไม่ให้มาคลอด และไม่ให้มาตรวจติดตามผลตามรอบระยะเวลาหลังการผ่าตัดไม่ได้

ขณะนี้ตัวเลขผู้ป่วยนอกต่อวันของเรา กลับมาเป็นราววันละ 3,000 คนอีกแล้ว เราคงต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันกับการระมัดระวังการระบาดของโควิด และการป้องกันบุคลากร มิให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ป่วยไปด้วย

จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ลดลงกว่า 30% เพราะถูกแบ่งกำลังไปช่วยดูแลผู้ป่วยโควิดและไปรับจอง รับฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมากแล้ว งานดูแลผู้ป่วยปกติในสถานการณ์ที่เสี่ยงมากเช่นนี้ ก็ถือเป็นพันธกิจของพวกเรา ที่จะต้องดูแลดำเนินการให้มีมาตรฐาน และด้วยคุณภาพการบริการระดับสูง ในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ด้วย จึงมีภาระงานที่หนักอึ้งไม่แพ้งานการดูแลผู้ป่วยโควิด ที่เป็นความสนใจ และถูกติดตามอย่างใกล้ชิดจากสังคมเลย

สำหรับกรณีของผู้ป่วยโควิด วันนี้เรามีเตียงเหลือง และแดง ว่างอยู่เกือบสิบเตียง ผู้ป่วยเขียวก็อีกเกือบสิบเตียง แต่มีผู้ป่วยใหม่ที่มาจากการ Swab ของเรา ซึ่งเป็นเคสเขียว จองจะเข้าแอทมิทในวันนี้อยู่แล้วเกือบเต็ม

ส่วนผู้ป่วยวิกฤติ และกึ่งวิกฤติ ก็มีคำขอส่งreter มา ทั้งที่มาจากรพ.สนาม และรพ.อื่นในปทุมธานี และในเขตเหนือของ กทม.เข้ามาในวันนี้ จำนวนรวมของคืนนี้น่าจะมีอยู่ราว ๆ 70 เตียงเช่นเดียวกับหลายวันที่ผ่านมา

190772676 4718151808211845 1796108794059544677 n

ในเรื่องการจัดเตรียมศูนย์รับวัคซีนธรรมศาสตร์ เพื่อเตรียมการรองรับงานจุลกฐิน ที่จะเริ่มในวันที่ 7 มิถุนายน นี้ เหลือเพียง 13 วัน เราก็จะเริ่มมีผู้สูงอายุ 2,000 คนมาเข้าคิวรับวัคซีนที่ยิมเนเซียม 4 ของเราแล้ว

วันนี้ จึงเป็นการเตรียมการเรื่องการจัดอาคารสถานที่ การเตรียมระบบครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ การจัดเตรียมเส้นทางการ Flow ของผู้มารับวัคซีน การจัดพื้นที่พักรอ และการเตรียมพื้นที่พักสังเกตอาการหลังรับวัคซีน ไปจนกระทั่งถึงระบบการดูแลฉุกเฉินทางการแพทย์ ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน

วันนี้ การวางแผนและเตรียมการทุกอย่างเป็นไปด้วยดี และทำให้ทุกฝ่ายที่เข้ามาร่วมกันทำงานมีความมั่นใจมากขึ้นว่า เราจะสามารถให้บริการประชาชน ที่จะมารับบริการวัคซีนได้เป็นอย่างดี

ข้อที่เราอยากจะบอกก็คือ การจัดบริการรับวัคซีนที่ มธ.ศูนย์รังสิตในยิมเนเซียม 4 ซึ่งเป็นยิมขนาด 2,500 ที่นั่งนี้เป็นไปโดยงบประมาณ กำลังคน และค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เองทั้งสิ้น 

เฉพาะค่าไฟฟ้าสำหรับการเปิดแอร์ และไฟส่องสว่างวันละ 10 ชั่วโมง ก็คือวันละ 50,000 บาท เมื่อคิดไป 200 วัน เฉพาะค่าไฟฟ้าก็คือ 10 ล้านบาท

190761249 4718151791545180 2888027924775942082 n

เราจะใช้บุคลากรวันละ 100 คนในยิม สำหรับการตรวจสอบประวัติ การตรวจความดัน ฉีดวัคซีน สังเกตอาการ และออกบัตรนัดฉีดเข็มที่สอง ยังไม่รวมแม่บ้านทำความสะอาดพื้นที่ และห้องน้ำ กับ จนท.รปภ.ในการจัดระเบียบ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอีก 30 คนต่อวัน

เราคงต้องดูแลจัดการอาหาร ทุกมื้อ เครื่องดื่ม และที่พักทานอาหารให้แก่บุคลากรทุก ๆ ฝ่าย เราประเมินกันว่างานอาสาสมัครฉีดวัคซีน 2,000 คนต่อวันนี้ เฉพาะค่าใช้จ่ายเราต้องรับภาระคงอยู่ที่ประมาณเดือนละ 4-5 ล้านบาท

ที่สำคัญก็คือ ธรรมศาสตร์ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนใด ๆ จากการนี้ เราไม่มีของขาย เราไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ เราต้องเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และเตรียมผู้คนชาวธรรมศาสตร์ ที่อาสามาช่วยกันทำงานดูแลผู้คน ที่ต้องการความช่วยเหลือจากเรา

เรารู้ว่างานนี้เป็นงานที่ต้องเหน็ดเหนื่อย ยากลำบาก และต้องทำติดต่อกันยาวนาน และจะไม่มีอะไรตอบแทน แต่เราก็จะทำมัน จะทำอย่างเต็มที่ และจะทำให้ดีที่สุด เราสัญญา

เหตุผลเดียวที่ทำให้พวกเราต้องลุกขึ้นทำเรื่องเหล่านี้ ก็คงเป็นเหตุผลซ้ำ ๆ ที่พวกเราบอกกันเองมาโดยตลอด ตั้งแต่คราวตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ตั้งศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยนำ้ท่วมใหญ่ หรือตั้งโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์มาทั้งสามรอบ ที่ว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อรับใช้ประชาชน

190676388 4718208341539525 3866693826230131369 n e1622260409663

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo