COVID-19

หวั่นใจ! แบ่งฉีดวัคซีนขวด 10 โดส เป็น 12 โดส เสี่ยงปนเปื้อน ด้านผู้เชี่ยวชาญ ยืนยัน ‘ทำได้’

แบ่งฉีดวัคซีนขวด 10 โดส เป็น 12 โดส สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ เปิด 3 ประเด็นน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะการปนเปื้อน ด้าน สวรส.แจง ทำได้ ต้องเป๊ะ 0.5 มล.ต่อโดส

จากข่าวกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า สามารถ แบ่งฉีดวัคซีนขวด 10 โดส เพิ่มเป็น 12 โดสได้นั้น ทำให้เกิดข้อกังวลจากหลายฝ่าย ล่าสุด สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง วัคซีนชนิดหลายโดส (multiple dose vaccine) ถึงข้อกังวลของการแบ่งโดส วัคซีนโควิด-19 โดยทางสมาคมฯ จึงขอชี้แจงหลักเกณฑ์ในทางวิชาการ ต่อผู้เกี่ยวข้อง ดังรายละเอียด ดังนี้

แบ่งฉีดวัคซีนขวด 10 โดส
Buenos Aires, Argentina – November 27: Astrazeneca Covid -19 vaccine vial and injection syringe isolated on white background. 3d illustration.

1. การผลิตยาปราศจากเชื้อ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี และตามข้อกำหนดของเภสัชตำรับ มีข้อกำหนดให้การบรรจุมีปริมาตรส่วนเกิน (excess volume) เพิ่มจากปริมาตรที่กำหนดบนฉลากยา เพื่อทดแทนการสูญเสียจากการดูดยาในแต่ละโดส

โดยเภสัชตำรับ ได้กำหนดปริมาตรส่วนเกินขึ้นกับลักษณะทางกายภาพของยา ว่ามีลักษณะใส หรือมีความหนืด การพิจารณาการบรรจุปริมาตรส่วนเกิน เป็นข้อมูลจากการวิจัยพัฒนาของผู้ผลิต และหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการบรรจุ รวมถึงการใช้จุกยาง ที่เหมาะสมต่อการรองรับการแทงเข็มฉีดยาซ้ำหลายครั้ง โดยไม่มีการปนเปื้อนเศษจุกยาง หลุดร่วงลงในน้ำยา (coring) ผู้ผลิต จึงต้องมีเอกสารกำกับยา ในการขึ้นทะเบียนตำรับยา ให้ผู้ใช้ปฏิบัติตาม

2. กรณีของวัคซีน โควิด-19 ของ แอสตร้าเซนเนก้า ที่ใช้ในประเทศไทยซึ่งเป็นชนิดขวดละ 10 โดส การดูดวัคซีนจากขวด ให้ใช้กระบอกฉีด และเข็มฉีดยาสำหรับการฉีดแต่ละคน  ในการดูควัคซีนแต่ละครั้ง ให้ได้ปริมาตรที่ฉีด 0.5 มล.ต่อโดส ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

หลังจากฉีดครบจำนวนโดส ที่ระบุในฉลาก และเอกสารกำกับยา อาจมีวัคซีนบางส่วนเหลือในขวด ซึ่งเป็นปรกติ หากใช้กระบอกฉีด และเข็มฉีดยาแบบพิเศษ อาจมีวัคชีนเหลือพอสำหรับการอีดอีก 1 โดส แต่ต้องมั่นใจว่า ปริมาตรวัคชีนที่เหลือต้องสามารถดีดให้ครบ 1 โดสได้จริง หากไม่พอ ต้องทิ้งวัคซีนที่เหลือในขาดไป และห้ามนำไปรวมกับวัคชีนที่เหลือในขวดอื่น เพราะอาจเกิดความเสี่ยงจากการปนเปื้อน

3. เนื่องจากวัคซีนเป็นยาปราศจากเชื้อ ที่ไม่ได้เติมสารกันเสีย จึงต้องระวังการปนเปื้อนในการบริหารยา โดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ (aseptic tech nique) สำหรับการดูดยาแต่ละโดส รวมทั้งระมัดระวังการปนเปื้อน จากเศษจุกยางที่หลุดร่วงลงในน้ำยา จากการใช้ขนาดของเข็มฉีดยาที่ไม่เหมาะสม และใช้เข็มแทงช้ำหลายครั้ง

หลังจากการใช้วัคซีนครั้งแรกแล้ว ควรใช้วัคซีนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และใช้ภายใน 6 ชั่วโมง (เมื่อเก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 25 องศาเซลเชียส) และให้ทิ้งวัคซีนส่วนที่ไม่ได้ใช้ไป

จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)

วัคซีน 3

ด้าน นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวถึงประเด็นการแบ่งตัวยาวัคซีนว่า ปัจจุบัน การแบ่งวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า องค์การอนามัยโลกสนับสนุนการแบ่งวัคซีนให้สามารถทำได้ และเกิดประโยชน์ โดยจะทำให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้น

ทั้งนี้ ในความเป็นจริงในกระบวนการผลิต ผู้ผลิตจะผลิตและบรรจุวัคซีน โดยมีการสำรองวัคซีนไว้ประมาณ 16-24% ซึ่งสำหรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ที่ใช้อยู่ มีขนาดบรรจุ 5 มล. (CC) และสำหรับ 10 โดส มีการบรรจุจริง 6.5 มล. ขณะที่การฉีดแต่ละโดส ต้องใช้ 0.5 มล. เพื่อประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ของผู้รับวัคซีน ซึ่งเมื่อใช้ครบ 10 โดส ตามข้อบ่งชี้แล้ว อาจมีวัคซีนเหลืออยู่จำนวน 1-1.5 มล. ต่อขวด

ทั้งนี้ การดูดวัคซีน ซึ่งดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ มีการดำเนินการอย่างระมัดระวัง ที่ทำให้การดูดวัคซีนเป็นไปอย่างแม่นยำ เพื่อให้ได้ปริมาณที่แน่นอนที่ 0.5 มล. ตามข้อบ่งชี้

นพ.นพพร ชื่นกลิ่น
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น

สำหรับประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ อยู่ที่การนำเอาวัคซีนที่อาจเหลืออยู่ 1-1.5 มล. ต่อขวดดังกล่าวมาใช้ ซึ่งอาจใช้ได้อีก 1 หรือ 2 โดส โดยในการบริหารจัดการนั้นมีเหตุผลสำคัญ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ในการให้วัคซีนกับประชาชน และเพื่อประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้น เกิดประโยชน์โดยรวมสำหรับประเทศ

“ที่สำคัญประชาชนต้องได้รับวัคซีน 0.5 มล. ต่อโดส ตามมาตรฐานที่กำหนด ภายใต้แนวทางปฏิบัติมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด” นพ.นพพร กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo