COVID-19

สั่งสำรวจ ‘นิคมอุตสาหกรรม’ 59 แห่งทั่วประเทศ ตั้งจุดฉีดวัคซีนโควิด – 19

สั่งสำรวจ “นิคมอุตสาหกรรม” 59 แห่งทั่วประเทศ ผุดจุด ฉีดวัคซีนโควิด – 19 กระทรวงอุตฯ ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นดูแล นัดถกด่วนวันนี้ (17 พ.ค.)

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัด กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อหาแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศเป็นศูนย์กลางการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปว่า ที่ประชุมฯ มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการจุดบริการให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ให้แก่แรงงานภาคอุตสาหกรรม ประชาชนทั่วไป

นิคมอุตสาหกรรม ฉีดวัคซีนโควิด

คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการถึงแนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนนัดแรกในวันนี้ (17 พ.ค.) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ในการให้ ฉีดวัคซีนโควิด – 19 แก่ประชาชนทั่วประเทศตามความสมัครใจ

รายชื่อคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว ประกอบด้วย นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานคณะกรรมการ, นายเดชา จาตุธนานันท์ หัวหน้าศูนย์บริหารสถานการณ์วิกฤต กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นรองประธาน และนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นรองประธาน

หน้าที่หลักของคณะกรรมการชุดดังกล่าว คือ

  1. กำหนดแนวทางพื้นที่จุดบริการและเตรียมความพร้อมการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่แรงงานภาคอุตสาหกรรม และประชาชน
  2. ประสานงานและบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้การบริการมีความพร้อมและมีประสิทธิภาพ
  3. ติดตามและรายงานผลการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
  4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรม

S 1703940

สำรวจ 59 “นิคมอุตสาหกรรม” ตั้งจุด ฉีดวัคซีนโควิด

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กนอ. ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อลงพื้นที่อย่างเร่งด่วน โดยเบื้องต้นได้สำรวจพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่เหมาะสมเพื่อรองรับการฉีดวัคซีนแล้ว ซึ่งมีทั้งในส่วนที่ กนอ. บริหารจัดการเอง และในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน รวมทั่วประเทศ 59 แห่ง

อย่างไรก็ตาม ต้องรอความชัดเจนจากที่ประชุมคณะกรรมการฯ อีกครั้งว่าความสามารถในการฉีดวัคซีนต่อวันจะได้ประมาณกี่ราย โดยคิดจากอัตราส่วนต่อผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด เพื่อประเมินความพร้อมของสถานที่ ไม่ให้เกิดความแออัด ขณะเดียวกันต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้โรงพยาบาล เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ดำเนินการได้ทันท่วงที

เบื้องต้นในที่ประชุมได้หารือว่าจะแบ่งกลุ่มผู้ที่รับวัคซีนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 2.โรงงานอุตสาหกรรมนอกนิคมอุตสาหกรรมที่แจ้งความประสงค์เข้ามา และโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในสวนอุตสาหกรรมที่กำกับดูแลโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) 3.ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งรูปแบบจะเป็นอย่างไรจะพิจารณาในที่ประชุมอีกครั้ง ขณะเดียวกันได้มีการประสานไปยังกรมควบคุมโรคเพื่อหารือถึงการใช้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเป็นศูนย์กลางฉีดวัคซีนในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งวางแนวทางการฉีดวัคซีนในแต่ละวันเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

การทำงานของคณะกรรมการฯ ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการ ฉีดวัคซีนโควิด – 19 ตามนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องการฉีดให้ได้วันละ 5 แสนคน ซึ่งกรมควบคุมโรค ได้รับเรื่องไปพิจารณาและจะประสานข้อมูลในเชิงลึกร่วมกับ กนอ. และกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด

THAILAND BANGKOK CHINA COVID 19 VACCINE ARRIVAL e1616775034396

สั่งซื้อ “วัคซีนโควิด” เพิ่มเป็น 200 ล้านโดส เชื่อถึง ก.ค. ฉีดเข็มแรกได้ 50%

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวในรายการ PM PODCAST นายกรัฐมนตรีเล่าเรื่อง ผ่านเพจเฟซบุ๊กไทยคู่ฟ้า ถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาโควิด – 19 หลายประเด็น รวมถึงการจัดหาและ ฉีดวัคซีนโควิด – 19 ดังนี้

เมื่อเราพิจารณาสถานการณ์ในภาพรวมที่เกิดขึ้นทั่วโลก เตือนให้เราเห็นว่าการระบาดของโควิด – 19 ไม่น่าจะหายไปจากโลกนี้ได้โดยเร็ว เราต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตั้งแต่ตอนนี้

สิ่งที่เราต้องทำเรื่องแรกคือ เราต้องเพิ่มจำนวนวัคซีนในมือของเราให้มากกว่านี้ วันนี้ตนสั่งการไปแล้วว่าประเทศไทยควรหาวัคซีนโควิด – 19 เพิ่มเติมให้เรามีถึง 150 ล้านโดสให้ได้ หรือมากกว่านั้น แม้ว่าบางส่วนอาจจะส่งมอบให้เราในปีหน้าก็ตาม

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมการรับความเสี่ยงเรื่องวัคซีนต่อไป ปัจจุบันเราได้ตั้งเป้าไว้เดิมจัดซื้อวัคซีน 100 ล้านโดส เพื่อให้เพียงพอสำหรับฉีดให้ประชาชน 50 ล้านคน โดยหวังว่าจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในประเทศได้ แต่ตนเองก็คิดว่า เท่านั้นยังไม่พอ เพราะทุกวันนี้ถ้าเราฟังจากสถานการณ์ทั่วโลกก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่จากไวรัสตัวนี้จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ และจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตนก็ยังมีความกังวลในเรื่องนี้ ระยะต่อไปคงต้องมีแผนสำรองตลอดเวลา

shutterstock 1940836792

แต่วันนี้เรา ก็ได้รับคำยืนยันแล้วจะทั่วโลกว่า ฉีดดีกว่าไม่ฉีด และฉีดเข็มเดียวก็ดีกว่าไม่ฉีด ดังนั้นเราควรจะต้องมีวัคซีนโควิด – 19 ให้เพียงพอสำหรับคนไทยทุกคน ซึ่งประเทศเรามีประชากรผู้ใหญ่อยู่ประมาณ 60 ล้านคน เท่ากับว่าเราจะต้องมีวัคซีนอย่างน้อย 120 ล้านโดส และต้องคำนึงถึงแรงงานอื่น ๆ ด้วยที่อยู่ในภาคธุรกิจของเรา เราต้องคำนึงถึงแรงงานอื่นในภาคธุรกิจ

เราจะต้องมีวัคซีนเผื่อไว้เพียงพอสำหรับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่น ๆ ด้วยอาจจะต้องถึง 150 – 200 ล้านโดสในระยะต่อไป แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอายุการใช้งานของวัคซีนและสถานการณ์ในปีหน้าด้วย

เราต้องปรับมาให้ความสำคัญในการ ฉีดวัคซีนโควิด เข็มแรกให้ประชาชนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากทางการแพทย์มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่าหลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนแม้แต่เพียงเข็มแรกก็จะสามารถช่วยลดโอกาสในการรับเชื้อ ลดความรุนแรงของอาการ และลดโอกาสในการเสียชีวิตไปได้อย่างมาก ถึงแม้จะมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง ก็จะดำเนินการแก้ไขต่อไป

เมื่อพวกเรารู้อย่างนี้แล้วเราควรจะต้องร่วมมือกัน ช่วยกัน เร่งเครื่อง เดินหน้าให้เร็ว ปูพรมฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ได้จำนวนมากที่สุดให้กับประชาชน โดยประมาณเดือนกรกฎาคมนี้ ผมคาดการณ์ว่าเราควรจะมีประชากรผู้ใหญ่จำนวนครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศ ที่จะได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว และได้รับการปกป้องจากอันตรายของโควิด-19 ในระดับที่มากพอสมควร

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo