COVID-19

อย่างละเอียด! เปิด ‘ประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง-ราคา’ 8 วัคซีนโควิด

ท่ามกลางภาวะแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กระจายไปทั่วโลก  และมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้บริษัทเวชภัณฑ์รายต่าง ๆ  พากันเร่งพัฒนา “วัคซีน” ป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ออกมา ด้วยประสิทธิภาพ และราคาที่แตกต่างกันออกไป 

จนถึงขณะนี้ วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 หลัก ๆ ที่ประกาศใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน ในหลายประเทศ หรือดินแดนนั้น มีอยู่อย่างน้อย 8 ตัวด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่า แต่ละตัว ก็มีวิธีการผลิต ประสิทธิภาพ และราคาที่แตกต่างกันออกไป

shutterstock 1696929460

วัคซีนป้องกันโควิด ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี คงหนีไม่พ้นวัคซีนที่พัฒนาขึ้น ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ไฟเซอร์ และไบโอเอนเทค  บริษัทด้านเวชภัณฑ์สัญชาติสหรัฐ และเยอรมนีตามลำดับ ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “BNT162b2” ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21 วัน ใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อแขนด้านบน จากผลการทดลองพบว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 95%

อีกตัวหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมไล่ตามกันมาติด ๆ คือ วัคซีนป้องกันโควิดของ “โมเดอร์นา” เป็นวัคซีนตัวที่ 2 ที่รับอนุมัติ ตามมาตรการฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ มีประสิทธิภาพป้องกันโควิด-19 ถึง 94.1%  ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 28 วัน

ทั้งไฟเซอร์ และโมเดอร์นา เป็น 2 บริษัท ที่ได้รับการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนสูงสุด ตามด้วย สปุตนิก ไฟฟ์ จากรัสเซีย ที่ระบุประสิทธิภาพไว้ราว 91.1-91.5% ส่วนที่น้อยสุด คือ ซิโนแวค ซึ่งได้รับการประเมินไว้ราว 49.6-50.7%

เทียบคุณสมบัติ 8 วัคซีนโควิด2 scaled e1620674116861

วัคซีนของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา เป็นวัคซีนเพียง 2 ตัวเท่านั้น ที่กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ฉีดไว้น้อยที่สุด คือ 16 ปี ส่วนตัวอื่น ๆ นั้น กำหนดไว้ที่ 18 ปีขึ้นไป และทุกตัว ยังระบุอาการข้างเคียงที่อาจเ้กิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน ไว้คล้าย ๆ กัน

ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศ เคยรายงานก่อนหน้านี้ว่า การฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของซิโนแวค บริษัทเวชภัณฑ์ชั้นนำของจีน มีราคาต่อโดสสูงสุดถึง 934 บาท แต่ยังถูกกว่าวัคซีน ที่ผลิตจากบริษัทคู่แข่งในบ้านเกิด อย่าง ซิโนฟาร์ม ที่กำหนดราคาวัคซีนไว้สูงสุดที่ราว 1,123 บาท

ใน 8 วัคซีนที่ออกสู่ตลาดแล้วนั้น ดูเหมือนว่า วัคซีนที่ถือว่า มีราคาย่อมเยาที่สุด คือ แอสตร้าเซนเนก้า ที่ราคาต่อโดสประมาณ 125 บาท อย่างไรก็ดี วัคซีนป้องกันโควิด ที่ผู้ผลิตรายนี้ รวมมือกับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด พัฒนาขึ้นมา มีผลข้างเคียงจากการฉีดค่อนข้างเยอะ รวมถึง ความเป็นไปได้ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการทำให้ผู้ได้รับการฉีดเกิดภาวะลิ่มเลือดอุุดตัน

กระนั้นก็ตาม หลายฝ่ายพากันออกมากล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น มีอยู่น้อยมาก และอยู่ในระดับที่รับได้  จึงควรที่จะฉีดวัคซีนต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo