COVID-19

7 นศ.พยาบาล มธ. ฉีด ‘ซิโนแวค’ เจอผลข้างเคียงรุนแรง หายใจลำบาก-ชาตามร่างกาย

องค์กรนักศึกษาธรรมศาสตร์ เผย  7 นักศึกษาพยาบาล ฉีดซิโนแวค เจอผลข้างเคียง หายใจลำบาก-ชาตามร่างกาย เรียกร้องจัดสรรวัคซีนปลอดภัย มีประสิทธิภาพให้ประชาชน และบุคลากรทางแพทย์

วันนี้ (9 พ.ค.)  เฟซบุ๊กเพจ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โพสต์แถลงการณ์ของ คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้มีการฉีดวัคซีน โควิด-19 ที่มีคุณภาพ หลังมีนักศึกษาได้รับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนซิโนแวค ความว่า

แถลงการณ์ คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เรื่อง อาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน COVID-19 SINOVAC

จากการที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ได้รับวัคชีน COVID-19 SINOVAC จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 23 เมษายน-5 พฤษภาคม 2564 รวม 88 ราย แล้วก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ แบ่งเป็น มีอาการรุนแรง 7 ราย และ มีอาการเล็กน้อย 2 ราย ดังนี้

bb

อาการรุนแรง 7 ราย

อาการรุนแรงรายที่ 1

  • นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 14 ชั่วโมง มีอาการหายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย ใช้หมอนนอนหนุน 2 ใบ อาการจึงดีขึ้น มีอาการอ่อนเพลีย ซึมร่วมด้วย (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

อาการรุนแรงรายที่ 2

  • นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 30 นาที มีอาการหายใจหอบเหนื่อย วันต่อมาเริ่มมีอาการชาตามร่างกาย ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

อาการรุนแรงรายที่ 3

  • นักศึกษาเพศหญิง รับวัคชีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีดวันแรกมีอาการบริเวณแขนข้างที่ฉีด วันที่ 2 – 10 วันต่อมา มีอาการชาปลายมือและเท้าข้างซ้าย ( ไปพบแพทย์เรื่องอาการชาในวันที่ 5 หลังได้รับวัคซีน แพทย์แจ้งว่าอาการปกติ ได้รับวิตามินบีรวม และ Amitriptyline

อาการรุนแรงรายที่ 4

  • นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 1 วัน มีอาการง่วงซีมหนักศีรษะ ปวดตามลำตัว ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

อาการรุนแรงรายที่ 5

  • นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 1 วัน มีอาการใจหอบเหนื่อย มีอาการเจ็บหน้าอกขณะหายใจ มีอาการติดต่อกัน 3 วัน ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

อาการรุนแรงรายที่ 6

  • นักศึกษาเพศชาย รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 1 วัน มีอาการหายใจลำบาก ง่วงซึม มีอาการติดต่อกัน 3 วัน ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

183728281 3943239112379529 5754532850566816535 n

อาการรุนแรงรายที่ 7

  • นักศึกษาเพศหญิง โรคประจำตัวภูมิแพ้ รับวัคซีนวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 หลังฉีดมีอาการทันที หนังตาตก อ่อนแรง พักสังเกตอาการบริเวณจุดปฐมพยาบาลกว่า 1 ชั่วโมง อาการดีขึ้น และเดินทางกลับ
    หลังฉีด 2 วันต่อมา ช่วงเช้ามีอาการชาบริเวณมือและเท้าเล็กน้อย ระหว่างวันอาการดีขึ้น และช่วงเย็นมีอาการง่วงซีม อ่อนเพลียมากขึ้น ตากระตุก มุมปากกระตุก แขนอ่อนแรง และชาบริเวณขา จึงไปพบแพทย์ แพทย์ให้ความเห็นว่า เป็นอาการข้างเคียง ได้รับวิตามินบีรวมและยานอนหลับ
    หลังฉีด 3 วันต่อมา ช่วงเข้ามีอาการชาบริเวณปลายมือปลายเท้า ระหว่างวันอาการดีขึ้น ช่วงเย็นมีอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาทั้งสองข้างลืมตาไม่ขึ้น จึงไปพบแพทย์ ระหว่างการเดินทาง มีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น ปากกระตุก เวียนศีรษะ เมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์ส่ง MR แจ้งว่า ไม่พบความผิดปกติและวินิจฉัยเป็น MG และแจ้งว่าไม่เกี่ยวเนื่องกับวัคซีน
    แพทย์นัดตรวจเลือดวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 เคยได้รับยา Clonazepam และวิตามินบีรวม เมื่อพบแพทย์ครั้งแรก หลังจากนั้นแพทย์สั่งหยุดยา Clonazepam และ จ่าย Pyridostigmine

อาการไม่พึงประสงค์เล็กน้อย 2 ราย

  • รายที่ 1 นักศึกษาเพศหญิง หลังฉีดวันแรกจนถึงปัจจุบัน มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดแขนซ้ายเล็กน้อย เป็น ๆ หาย ๆ นอนตะแคงทับแขนซ้ายไม่ได้ (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
  • รายที่ 2 นักศึกษาเพศหญิง หลังฉีดวันแรก จนถึงปัจจุบัน มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย เป็น ๆ หาย ๆ (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงใคร่ขอให้  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิจารณาเรื่องของความปลอดภัยต่อการได้รับวัคซีน ของนักศึกษา และขอความกรุณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยจัดสรรวัคซีนชนิดที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการแจกจ่าย ให้กับประชาชนและบุคลากรทางแพทย์ เพื่อความปลอดภัย และป้องกันโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo