COVID-19

ปรับใหม่! การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาผู้ป่วยโควิด-19 เน้นให้เร็วขึ้น – ไม่หว่านแห

ปรับใหม่ การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาผู้ป่วยโควิด-19 กรมการแพทย์เผย ให้ยาเร็วขึ้น ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ไม่หว่านแหให้ทุกคน หวั่นเชื้อดื้อยา เกิดผลข้างเคียง

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือ เกี่ยวกับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด19 จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ทั้งจากโรคติดเชื้อ โรคปอด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะกรณีการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ สรุปจะ ปรับใหม่ การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ดังนี้

shutterstock 1690985308

  • กรณีผู้ติดเชื้อยืนยัน ที่ไม่มีอาการ และไม่มีโรคร่วม จะไม่มีการให้ยารักษาเฉพาะ
  • กรณีผู้ติดเชื้อยืนยัน และมีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการแต่มีโรคร่วม ปัจจัยเสี่ยง จากเดิมจะยังไม่ให้ยา เป็นการรักษาตามอาการ แต่แนวทางใหม่ เมื่อมีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการแต่มีปัจจัยเสี่ยง อย่างระลอกนี้ คนมีภาวะอ้วนเสียชีวิตมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญได้รวบรวมข้อมูล จึงระบุให้รักษา โดยการให้ยาต้านไวรัส ตามดุลยพินิจของแพทย์ที่รักษา
  • กรณีผู้ติดเชื้อยืนยัน ที่มีอาการเล็กน้อย และมีความเสี่ยง และปอดอักเสบเล็กน้อย นอกเหนือจากการให้ยาฟาวิพิราเวียร์แล้ว การให้ยาสเตียรอยด์ ในรายที่มีอาการรุนแรง สามารถลดอาการรุนแรง ที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งก็ทำได้
  • ผู้ติดเชื้อยืนยืน ปอดอักเสบ ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือด ที่อุณหภูมิห้องน้อยกว่า 96% หรือปอดอักเสบรุนแรง จะยังใช้แนวทางเดิม

 

นพ.สมศักดิ์

“เกณฑ์การให้ยาฟาวิพิราเวียร์ จะให้เร็วขึ้น แต่ไม่ได้ให้ทุกคน และไม่ให้แบบหว่านแห เพราะการกินยาฟาวิพิราเวียร์มีผลข้างเคียง ทานไปหลายคนมีปัญหาตับอับเสบได้ และการหว่านแหจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ เพราะตอนนี้เท่าที่ดูยังไม่มีหลักฐานยืนยัน มีต่างประเทศที่ยังอยู่ในการวิจัยสเตจ 2 และ 3 ซึ่งเป็นยาตัวอื่น ๆ”นพ.สมศักดิ์ กล่าว

ดังนั้น จึงต้องเก็บยาตัวนี้ เพื่อเป็นอาวุธในการใช้ จึงไม่อยากทำแบบหว่านแห ที่สำคัญยังพบว่า ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการและไม่มีโรคร่วม ซึ่งมีประมาณ 30-40% ในจำนวนนี้พบว่า 80-90% ไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือสีแดง โดยไม่จำเป็นต้องกินยาเลย หากให้ยาไปจะเป็นการเปล่าประโยชน์ ซึ่งข้อสรุปทั้งหมดนี้ มาจากการพิจารณาร่วมกัน จากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ทั้งแพทย์โรงเรียนแพทย์ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อฯ

ส่วนภาวะโรคร่วม หรือปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกันเรื้อรัง ร่วมโรคปอดเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ภาวะอ้วน ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ภาวะอื่น ๆ ที่แพทย์พิจารณาว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น

ยา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo