COVID-19

อัดฉีด! จ่ายโควิด-19 ทั้งค่าฉีดวัคซีน ชดเชยผู้ป่วยกักตัว ผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีน

จ่ายโควิด-19 เพิ่ม บอร์ดสปสช. เคาะเกณฑ์ให้เงินช่วยเหลือ ค่าบริการฉีดวัคซีนครั้งละ 20 บาท ผู้ป่วยกักตัววันละ 1,000 พร้อมอาหาร 3 มื้อ และเยียวยาผลกระทบจากฉีดวัคซีน

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ผ่านระบบออนไลน์มีมติเห็นชเรื่องทั้งหมดอบให้ปรับหลักเกณฑ์ และแนวทางการ จ่ายโควิด-19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ใน 3 ด้าน ดังนี้

จ่ายโควิด-19

1. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคโควิด-19 ได้แก่ การเพิ่มเติมการจ่ายสำหรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อัตราครั้งละ 20 บาท

2. เตรียมหลักเกณฑ์ แนวทางการจ่ายรองรับ กรณีกระทรวงสาธารณสุข ประกาศมาตรฐานบริการดูแลผู้ป่วย กรณีเข้าเกณฑ์การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation / Home quarantine) รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการพักรักษาที่พักอาศัย ภายใต้การดูแลของหน่วยบริการ

นอกจากจะจ่ายชดเชยตาม DRG แล้ว ยังจ่ายชดเชยเพิ่มเติม ในอัตราไม่เกินวันละ 1,000 บาท รวมอาหาร 3 มื้อ ให้กับหน่วยบริการ และสนับสนุนวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็น 3 อย่าง ได้แก่ เครื่องวัดความดัน ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ให้กับประชาชน โดยใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.กู้เงินฯ วงเงินไม่เกิน 22 ล้านบาท

3 .เงินจ่ายเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีประชาชนไทยทุกคน ที่ได้รับความเสียหาย จากการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบ่งเป็น ตาย ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 4 แสนบาท, เสียอวัยวะ พิการ ไม่เกิน 2.4 แสนบาท และบาดเจ็บ เจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 1 แสนบาท โดย สปสช.จะแต่งตั้งกลไก เพื่อให้สามารถจ่ายได้ภายใน 5 วัน หลังยื่นคำร้อง

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ ให้ปรับเพิ่มอัตราจ่ายค่าบริการผู้ป่วยใน กรณีบริการในเขต เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ให้แก่หน่วยบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) โดยจะเพิ่มอัตราการจ่าย ตามค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ใหม่ จาก 8,350 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ เป็น 8,750 บาท ต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ ซึ่งจะประมวลผลจ่ายตามผลงานย้อนหลัง เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564 ใช้งบประมาณเพิ่ม 2,596.13 ล้านบาท

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี

ทั้งนี้ จะใช้กลไกคณะทำงาน กำหนดอัตราค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข ภายใต้อนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุน รับผิดชอบดำเนินการต่อรองราคา และมอบให้เครือข่ายหน่วยบริการ ด้านยาและเวชภัณฑ์ ดำเนินการจัดหาตามแผน และวงเงินที่กำหนด

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดย สปสช. ช่วยเหลือดูแลคนไทยทุกสิทธิ์ ทั้งสิทธิประกันสังคม บัตรทอง และสิทธิราชการ รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุข หากได้รับความเสียหาย จากการรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยรัฐ

สำหรับการเริ่มให้ความคุ้มครอง นับตั้งแต่วัคซีนเข็มแรก ที่ฉีดให้คนไทย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ตามหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ มาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ย้ำหลักการไม่ใช่พิสูจน์ถูกผิด โดยประชาชนสามารถยื่นเรื่องได้ ทั้งที่โรงพยาบาล สาธารณสุขจังหวัด และเขต สปสช.

พร้อมกันนี้ จะมีคณะกรรมการพิจารณาอัตราช่วยเหลือเยียวยา ภายใน 5 วัน หลังจากที่อนุกรรมการได้รับเรื่อง ซึ่งจะเป็นใช้จ่ายงบประมาณจากงบใช้จ่ายเงิน (กู้) เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19

ดังนั้น ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า รัฐบาลดูแลความมั่นคงด้านสุขภาพ ของคนไทยทุกคน อย่างดีที่สุด รวมทั้งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทั้งประชาชน บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ด่านหน้า หากได้รับความเสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุข หรือกรณีของการรับวัคซีนโควิด-19 ของภาครัฐ ที่บางรายเท่านั้น ที่เกิดอาการหรือผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ จะได้รับการดูแลช่วยเหลือจากรัฐบาล

ในส่วนของผู้ลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด-19 จนถึงวันนี้ (ณ เวลา 08.00 น.) รวมจำนวน 1,016,893 คน โดยลงทะเบียนผ่านไลน์ 818,962 คน และแอปพลิเคชั่น 197,931 คน โดยได้มีการรายงานให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว 1,573,075 โดส เป็นเข็มที่ 1 จำนวน 1,150,564 ราย และมีผู้ได้รับแล้ว 2 เข็มจำนวน 422,511 ราย

ขณะที่การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สะสมแล้ว 285,735 โดส ในส่วนจังหวัดภูเก็ต มีรายงานว่า มีประชาชนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วราว 1 แสนคน โดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตร่วมกับภาคเอกชน กระจายจุดฉีดวัคซีน 5 จุดใน 3 อำเภอ ที่ รร.อังสนา ลากูนา, สะพานหิน, ภูเก็ต ออร์คิด รีสอร์ท และห้างจังซีลอน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo