COVID-19

3 หมอใหญ่ ระดมสมองมองอนาคต วางแผนรับมือ กรณีวิกฤติโควิด ‘รุนแรง’

หมอธีระวัฒน์ เผย 3 หมอใหญ่ ร่วมระดมสมอง วางแผนแนวทางรับมือโควิด-19 กรณีเกิดรุนแรง ตั้งแต่การวางแผนคัดกรอง เริ่มจากในบ้าน จนถึงโรงพยาบาลที่รักษา

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” เผยแนวคิดในการรับมือสถานการณ์โควิด-19 กรณีรุนแรง จาก ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันโรคทรวงอก และ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ โดยระบุว่า

cell virusโควิดใน ม ๒๑๐๕๐๓ 1

การมองไปข้างหน้า ถ้าสถานการณ์รุนแรง ไม่เกิดไม่เป็นไร

วางแผนในพื้นที่ ตั้งแต่ ระดับบ้าน รพ และรพ สนาม ที่ใช้รักษา “อาการหนัก ต้องสอดท่อ” ได้

1. ประเมินสถานการณ์พื้นที่ ว่ามีคนติดเชื้อทั้งหมดกี่คน ด้วยการตรวจคัดกรองมากที่สุด “ไม่ใช่สุ่ม”

2. ประมาณสูงสุดว่าคนติดเชื้อ 20% จะมีอาการทั้งหมด ถ้าอยู่บ้านโดย “รู้จักวินัยไม่แพร่ให้คนในบ้าน” ให้อยู่ในบ้านและต้อง “รู้สัญญาณเตือนภัย” ว่าขณะนี้ต้องแจ้งสายด่วนต้องเข้าโรงพยาบาล

3. ในขณะที่ คนติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย ที่อยู่ที่บ้านไม่ได้ เพราะข้อจำกัดให้อยู่ที่ ฮอสพิเทล หรือโรงพยาบาลสนามขั้นที่หนึ่ง และพร้อมไป รพ. จริง โดยด่วนเมื่อพบมีอาการหนักขึ้นอีกระดับ

หมอ

4. จำนวนคนติดเชื้อทั้งหมดในข้อหนึ่ง ประเมินไว้ว่า 5% ต้องอยู่ที่โรงพยาบาลจริง แบบหนักถึงสอดท่อ

5. ดูจำนวนเตียงในโรงพยาบาลแยกออกเป็น ห้องความดันลบครบสูตร AIIR กึ่งความดันลบ modified AIIR หอผู้ป่วยรวมแยก Cohort isolation ward

6. ต่อจากช้อ 5 คือประเมินเครื่องช่วยหายใจ แบบที่สอดท่อปั๊มอากาศเข้าปอด ไม่ใช่เพียงเครื่องออกซิเจน high flow O2 หรือที่อัดอากาศ ผ่านจมูก bipap

7. ใน รพ. ประเมินบุคลากรจำนวน ผู้เชี่ยวชาญในการดูผู้ป่วยวิกฤติและทีม ทีมประกอบด้วยหมอดมยา พยาบาล หมอโรคไต หมอโรคหัวใจ ติดเชื้อ ผลัด ละ กี่คนต่อ 8 ชม

8. สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด จำนวนห้องและทีมไม่พอ ดังที่วางแผนตั้งแต่ข้อ 4 – 7 แยกโรงพยาบาลสนาม ไม่ติดเครื่องปรับอากาศให้อากาศถ่ายเทสะดวก แยกส่วน อาการน้อย
กลาง ใช้ ออกซิเจน และ ที่อัดอากาศทางจมูก bipap ไม่สอดท่อหนัก แบบสอดท่อ และ ใช้เครื่องช่วยหายใจ portable แบบพกพา เคลื่อนย้ายได้

โดยวิธีทั้งหมดใน รพ. สนามจะใช้บุคลากรชุดเดียวกัน และสามารถครอบคลุม และประเมินผู้ป่วยอาการระดับต่าง ๆ และสามารถมองไปข้างหน้าได้ว่า ต้องเพิ่มโรงพยาบาลสนาม เป็นเท่าใด

9. ไม่ควรคิดทำโรงพยาบาลสนาม ให้เหมือนโรงพยาบาล เพราะความพร้อมไม่เท่าจีน ที่เสร็จใน 7 วัน หรือโดยทำเต้นท์ความดันลบ เพราะแต่ละเต็นท์จะสามารถจุได้แปดถึง 15 คนเท่านั้น และยุ่งยากในการดูแต่ละเต้นท์ (ตามที่สมาคมธุรกิจ ไทย พม่า ออกแบบและ ส่งโรงพยาบาลสนามให้ประเทศพม่า เมื่อเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่รับมือผู้ป่วยจำนวนมาก ๆ ไม่ได้)

ทั้งนี้ รพ.สนาม เปรียบเสมือนทำจากสวนสาธารณะ และรักษาผู้ป่วยอาการหนักสอดท่อได้ โดยไม่ติดปัญหาเรื่องอาคารที่ใช้เครื่องปรับอากาศระบบเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการแพร่ทางอากาศ จากการปฎิบัติรักษาทางการแพทย์ เกิดละอองฝอยติดเชื้อขนาดเล็กมากแพร่ทางอากาศ

เครื่องช่วยหายใจแบบที่ไม่ต้องใช้ระบบออกซิเจนในโรงพยาบาลมีจำหน่าย แต่ต้องเลือกที่ไม่ราคาสูง เช่น ตัวละครึ่งล้าน แบบไอซียูเต็มสูตร ที่หมอทั่วไป จะปรับไม่เป็น ใน รพ. สนาม ต้องใช้ที่ถูกใช้ ง่าย ต่อเข้ากับท่อที่สอดเข้าหลอดลมและปอด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo