COVID-19

เซ็ตระบบใหม่! เตียงโควิด แบ่ง 7 โซนกลุ่ม รพ.รัฐ-เอกชน ในกทม. เปิดศูนย์แรกรับส่งต่อคนไข้

เซ็ตระบบ เตียงโควิด กรมการแพทย์ แบ่ง 7 โซนโรงพยาบาล พร้อมไขข้อข้องใจ คนไข้รอเตียง เพราะเตียงว่างส่วนใหญ่ เป็นของเอกชน ติดขั้นตอนความปลอดภัย

นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ล่าสุด ในกรุงเทพมหานคร ได้ เซ็ตระบบ เตียงโควิด โดยแบ่งออกเป็น 7 โซนตามพื้นที่ติดต่อกัน เพื่อบริหารจัดเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมทั้งขอให้ทุกโรงพยาบาล ส่งข้อมูลเข้ามาที่ส่วนกลาง รวมทั้งข้อมูลผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล โดยแบ่งออกเป็น 7 โซน ดังนี้

เซ็ตระบบ เตียงโควิด

  • โซนที่ 1 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลราชวิถี เป็นหัวหน้าโซน โดยจะช่วยดูโรงพยาบาลเล็ก เป็นกลุ่มเครือข่ายในโซนนั้น ๆ
  • โซนเหนือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • โซนเหนือ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลภูมิพล
  • โซนตะวันออก โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • โซนโรงพยาบาลศิริราช
  • โซนโรงพยาบาลวชิรพยาบาล
  • โซนโรงพยาบาลภาคเอกชน จะมีโรงพยาบาลเครือใหญ่ มีระบบดูแลในเครือกันเอง หากมีความจำเป็นต้องข้ามโซนก็จะประสานมาศูนย์บริหารจัดการที่โรงพยาบาลราชวิถี

เซ็ตระบบ เตียงโควิด

ทั้งนี้ สถานการณ์เตียงของประเทศข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2564 เวลา 16.30 น. โดยแบ่งเป็น 13 เขตสุขภาพ มีเตียงทั้งหมด 44,560 เตียง ครองเตียงทั้งหมด 21,695 เตียง โดยเฉพาะพื้นที่เขตสุขภาพที่ 13 หรือกรุงเทพมหานคร มีเตียง 12,679 เตียง อัตราครองเตียง 7,959 เตียง มีเตียงว่าง 4,720 เตียง

ขณะที่มีข้อสงสัยจากประชาชนว่า ยังมีเตียงว่าง แต่ทำไมถึงยังมีการรอเตียงอยู่ ต้องชี้แจงว่า ในจำนวนเตียงที่มีอยู่ในกทม. เป็นของภาคเอกชน และในจำนวนเตียงที่มีอยู่ เป็นเตียงเตียงของห้องความดันลบ เป็นห้องที่เพียบพร้อม มีเครื่องมือครบหมด หรือ (AIIR-ICU) และเตียงของห้อง Modified AIIR ซึ่งรองลงมาสามารถดูแลผู้ป่วยหนักได้ โดย 2 ส่วนนี้มีผู้ป่วยเข้าไปครองเตียงแล้ว 70-80%

“พูดจริง ๆ คือ ถึงจุดตึง ไม่มีสเปซเหลือให้ผู้ป่วยรายใหม่ ตรงประเด็นนี้ จึงต้องบริหารจัดการเตียงด้วยการสำรองเตียง โดยจะนำผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ไอซียู ให้ถอยมาอยู่หอผู้ป่วยสามัญมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยจำเป็นจริง ๆ มาอยู่ และต้องไปเพิ่มห้องความดันลบ

เตียงประเทศ

ล่าสุด ห้องความดันลบ ในโรงพยาบาลเอกชนยังมีอยู่ แต่การจะเอาผู้ป่วยเข้าไป ต้องอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์ ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน ส่วนห้องประเภทต่าง ๆ ทั้งห้องโรงพยาบาลสนาม หรือฮอสพิเทล ยังมีเตียงว่างอยู่ โดยผู้ป่วยสีเขียว ที่ไม่มีอาการสามารถรับบริการได้

ส่วนที่ประชาชนถามว่า กรณีมีคนรอเตียงอยู่ต้องใช้เวลานานแค่ไหนนั้น ต้องเรียนให้ทราบว่า ในกระบวนการนำผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือเพิ่งตรวจพบวันแรก เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา มีขบวนการโดยผู้ป่วยที่มีอาการมาก จะให้เข้ารับการรักษาก่อน แต่หากมีอาการที่รอได้ ก็จะเป็นกระบวนการถัดมา

ในภาคเอกชนก็เช่นกัน เมื่อมีผู้ป่วยรอที่ โรงพยาบาลจำนวนมาก ได้เปิด ฮอสพิเทล เพื่อรับผู้ป่วยอาการน้อย หรือไม่มีอาการไปพัก ห้องละไม่เกิน 2 คน หรือบางท่านมาเป็นครอบครัวก็ดูแลได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ส่วน โรงพยาบาลสนาม ก็มีระบบทางการแพทย์เพรียบพร้อมเท่ากับอยู่ โรงพยาบาลใหญ่เช่นกัน ดังนั้น หากใครต้องไปอยู่ โรงพยาบาลสนาม ขออย่าปฏิเสธ เพื่อให้หายจากโรค

เตียง 1

ทั้งนี้ โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และปริมณฑลประมาณ 75-85% จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น เรื่องไอซียู ซึ่งการเพิ่มโครงสร้างไม่สามารถทำได้ทันที แต่สามารถปรับหอผู้ป่วยภายในให้คล้ายไอซียูได้ ส่วนนี้หลายโรงพยาบาลได้เพิ่มแล้ว และต้องเอาผู้ป่วยที่ไม่ได้จำเป็นอยู่ความดันลบ ออกมาอยู่หอผู้ป่วยสามัญก่อน ส่วนห้องอื่นๆประมาณ 50% ซึ่งรวมโรงพยาบาลสนาม และฮอสพิเทล สามารถบริหารจัดการได้

พร้อมกันนี้ ยังได้เปิดโรงพยาบาลแรกรับ ของ กระทรวงสาธารณสุข ที่อาคารนิมิตรบุตร ภายในวันที่ 29 เมษายนนี้ ซึ่งผู้ป่วยทุกราย จะเข้ารับการรักษาได้ทั้งหมด และมีการขยายโรงพยาบาลสนาม และเพิ่มเตียงกลุ่มสีเหลืองมากขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo