COVID-19

เช็คตัวเองด่วน! แบบไหนเรียกว่า ‘เสี่ยงสูง’ พร้อมวิธีกักตัวให้ปลอดภัยคนในบ้าน

โควิดระบาดหนัก หลายคนสงสัย แบบไหนเรียกว่าเสี่ยงสูง เปิดวิธีเช็คตัวเองเบื้องต้น พร้อมแนวทางปฏิบัติตัว เมื่อรู้ตัวว่าติดเชื้อโควิด ยังหาเตียงไม่ได้ ต้องกักตัวอยู่บ้าน

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสาม ที่ยังคงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่แตะหลักพัน สิ่งที่ตามมาคือ ความหวาดระแวง ว่าจะติดเชื้อโควิดหรือไม่ เพราะการติดเชื้อรอบใหม่นี้ ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในกลุ่มคนหนุ่มสาว และไม่แสดงอาการ ดังนั้น แบบไหนเรียกว่าเสี่ยงสูง จึงเป็นสิ่งที่ควรรู้ เพื่อเฝ้าระวังสังเกตตัวเอง

แบบไหนเรียกว่าเสี่ยงสูง

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้ออกมาตรการปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อ โควิด-19 โดยต้องประเมินว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงระดับใดจากทั้งหมด 3 องค์ได้แก่ วงที่ 1 ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง วงที่ 2 ผู้สัมผัสกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และวงที่ 3 ผู้ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ

วงที่ 1 ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หมายถึง ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อยืนยันโรคโควิด-19 ที่เข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่เรียนผู้อาศัยร่วมห้องพักหรือทำงานในห้องเดียวกัน
  • ผู้คลุกคลีกับผู้สัมผัส ที่มีการพูดคุยกับผู้ติดเชื้อ ในระยะ 1 เมตร นานกว่า 5 นาที
  • ถูกไอ จาม รด จากผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยไม่มีการป้องกัน เช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
  • ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท เช่น ในรถปรับอากาศ ในห้องปรับอากาศร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 และอยู่ห่างจากผู้ติดเชื้อไม่เกิน 1 เมตร นานกว่า 15 นาที โดยไม่มีการป้องกัน

screenshot 1 75

สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง สิ่งที่ต้องทำ คือ เข้ารับการกักกันโรค และตรวจหาเชื้อจากห้องปฏิบัติการ

วงที่ 2 ผู้สัมผัสกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ในกรณีผู้ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จัดเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้สัมผัสอีกครั้งหนึ่ง คนที่อยู่ใกล้ผู้สัมผัส จึงไม่มีความเสี่ยง โดยสิ่งที่ต้องทำ คือ

  • สังเกตอาการตัวเอง 14 วัน
  •  หลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชน
  • แยกการรับประทานอาหารกับคนในครอบครัว
  • สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ
  • หากพบว่ามีไข้ หรืออาการของระบบทางเดินหายใจ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขทันที เพื่อเก็บส่งสิ่งตรวจ ติดตามอาการ และวัดไข้ ตามแนวทางผู้สัมผัสใกล้ชิด ที่มีความเสี่ยงสูง

 

วงที่ 3 ผู้ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสียงต่ำ หรือผู้สัมผัสกับวงที่ 2 จัดเป็นผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงสูง เช่น อยู่ในโรงเรียนร่วมกับผู้ติดเชื้อ แต่ไม่มีกิจกรรม หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ สิ่งที่ต้องทำ คือ ไม่ต้องกักตัว ควรสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ไม่ต้องตรวจหาเชื้อ

ทั้งนี้หากพบว่าตัวเองเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แต่ยังต้องรอกระบวนการคัดกรอง หรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาเตียงเต็ม สิ่งที่ต้องทำ คือ การกักตัวอยู่ที่บ้านระหว่างการรอเตียง

กักตัว1 1

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ควรมีข้อปฏิบัติ สำหรับการกักตัวที่บ้าน ดังนี้

1. หยุดเรียนหยุดงาน แล้วพักอยู่ที่บ้าน โดยควรอยู่ในห้องพักที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรเปิดหน้าต่างให้มีการระบายอากาศที่ดี แยกตัวจากสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร

2. หากพบว่ามีไข้ ให้เช็ดตัว และรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ส่วนอาการอื่น ๆ ให้รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์

3. หากมีอาการไอ หรือจาม ต้องปิดปากและจมูก ด้วยกระดาษชำระทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชำระในถุงพลาสติก และปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำ และสบู่ทันที

4. ควรล้างมือด้วยสบู่ และน้ำ หรือแอลกอฮอล์เจลเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ปัสสาวะ หรืออุจจาระ

5. ควรติดต่อ หรือสัมผัสกับบุคคลในครอบครัวให้น้อยที่สุด และควรหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้สูงวัย หรือผู้มีโรคประจำตัว หากจำเป็นต้องติดต่อ ให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง

6. ไม่ควรออกไปนอกบ้าน ไม่เดินทางไปที่ชุมชน หรือที่สาธารณะ

7. รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น

8. ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว และอื่น ๆ

9. เข้าห้องน้ำควรปิดฝาโถส้วมก่อนกดชักโครก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และใช้น้ำยาทำความสะอาดอีกครั้ง

10. เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่มือสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ก๊อกน้ำ ลูกบิด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อตามความเหมาะสม

11. การทำความสะอาด ควรทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู และอื่น ๆ โดยสามารถซักด้วยผงซักฟอกธรรมดา หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 องศาเซลเซียส

12. หากท่านมีอาการรุนแรง เช่น ไข้ขึ้นสูง หอบเหนื่อย ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที โดยให้ใส่หน้ากากอนามัย และควรเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ให้เปิดหน้าต่างรถยนต์ไว้เสมอ เมื่อถึงโรงพยาบาล ให้แจ้งประวัติเสี่ยงกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เพื่อแยกไปยังจุดแยกโรคของโรงพยาบาล

13. สมาชิกในครอบครัว ให้ล้างมือบ่อยครั้งที่สุด เพื่อลดการรับเชื้อ และควรเฝ้าระวังอาการเจ็บป่วย ได้แก่ ไข้ ไอ น้ำมูก หายใจหอบเหนื่อย หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo