COVID-19

มติ ศบค. ปิด ‘สถานบันเทิง – ห้ามขายเหล้าในร้าน’ ยก 18 จังหวัดเป็น ‘พื้นที่สีแดง’

มติ ศบค. ไม่มีประกาศเคอร์ฟิว สั่งปิด “สถานบันเทิง – ห้ามขายเหล้าในร้าน” ทั่วประเทศ ยก 18 จังหวัดเป็น “พื้นที่สีแดง”

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงผลการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน วันนี้ (16 เม.ย.) ว่า ที่ประชุม ศบค. ไม่ได้มีมติเกี่ยวกับมาตรการห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) แต่ มติ ศบค. ให้ใช้มาตรการอื่น ๆ เพื่อควบคุมสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แทน ซึ่งเชื่อว่าเป็นทางการที่ดีที่สุด

โดยจะออกเป็นข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) มีผลตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป โดยจะติดตามผลเป็นเวลา 2 สัปดาห์

มติ ศบค.

(ร่าง) ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) ซึ่งจะใช้ยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 มีผลเนื้อหาดังนี้

ข้อ 1 การห้ามการดำเนินการ หรือจัดกิจกรรม หรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

1.ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถานบันการศึกษาทุกประเภท เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค

2.ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันเกิน 50 คน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค

ข้อ 2 การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร โดยให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณาสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยให้สั่งปิดสถานที่ดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน

ข้อ 3 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามพื้นที่ ดังนี้

1.พื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดง 18 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, ขอนแก่น, ชลบุรี, เชียงใหม่, ตาก, นครปฐม, นครราชสีมา, นนทบุรี, ปทุมธานี, ประจวบคีรีขันธ์, ภูเก็ต, ระยอง, สงขลา, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สุพรรรณบุรี และอุดรธานี

2.พื้นที่ควบคุม หรือพื้นที่สีส้ม 59 จังหวัดที่เหลือ

พื้นที่สีแดงควบตคุม 18 จังหวัด e1618487533779

ข้อ 4 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ กำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นเร่งด่วน สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรค ซึ่งทางราชการกำหนด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน ดังนี้

1.พื้นที่ควบคุมสูงสุด

ก.การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ให้บริการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกิน 21.00 น. และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ในลักษณะการนำไปบริโภคที่อื่น ได้จนถึงเวลา 23.00 น.

ข.ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

ค.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ถึงเวลา 21.00 น. โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุกให้งดการให้บริการ

ง.ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ้ง ถนนคนเดิน เปิดได้ถึง 23.00 น. หรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ในเวลา 04.00 น.

จ.สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกิน 21.00 น. และสามารถจัดการจัดการแข่งขันกีฬาได้ โดยจำกัดผู้ชมในสนาม

โควิด 161

2.พื้นที่ควบคุม

ก.การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ให้บริการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และการบริโภคในร้านได้ไม่เกินเวลา 23.00 น.

ข.ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

ค.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ถึงเวลา 21.00 น. โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุกให้งดการให้บริการ

ร่างข้อกำหนด โควิด

ข้อ 6 ขอความร่วมมือให้ประชาชนเลื่อนหรืองดการจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ งานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ก่อน

ข้อ 7 ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาและดำเนินการรูปแบบการปฏิงานของบุคลากรในความรับผิดชอบในช่วงเวลานี้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ การสลับวันทำงาน หรือวิธีอื่นใดที่เหมาะสม

ข้อ 8 ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19” ร่วมกับ “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทย” และ “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง” เร่งดำเนินการจัดการสถานที่เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับ ดูแลรักษา และแยกกัน กักกันผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อโดยด่วน

ทั้งนี้ ให้ผู้ติดเชื้อทุกรายเข้ารับการตรวจรักษาและแยกกัก ในสถานที่และตามระยะเวลาซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือพนักงาเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขกำหนด

ข้อ 9 การประเมินสถานการณ์ ให้ ศปก.ศบค. พิจารณาและประเมินสถานการณ์ เพื่อการปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการควบคุมบูรณาการ รวมทั้งแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในห้วงเวลาต่าง ๆ และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาต

เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ ผู้ว่าราชการ กทม. หรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาจพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัด หรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือพาหานะ หรือสั่งให้งดการทำกิจกรรมซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo