COVID-19

‘หมอวัฒนพงศ์’ เทียบประสิทธิภาพวัคซีน ใครรุ่ง-ใครร่วง ลั่น ‘โนวาแวกซ์’ ดีสุด

เทียบประสิทธิภาพวัคซีน โควิด-19 “หมอวัฒนพงศ์” เชียร์ โนวาแวกซ์ ดีสุด ใช้หนามไวรัสกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หลังทั่วโลกฉีดรวมกันแล้ว หลาย 100 ล้านโดส

นพ.วัฒนพงศ์ ศุภมงคงชัยกุล โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “Watthanapong Suphamongkholchaikul” เทียบประสิทธิภาพวัคซีน โควิด-19 ที่มีการฉีดไปแล้วกว่า 100 ล้านโดสทั่วโลก ชี้ซิโนแวค ประสิทธิภาพต่ำสุด แต่ผลข้างเคียงน้อยสุด พร้อมฟันธง โนวาแวกซ์ ดีที่สุดตอนนี้ โดยระบุว่า

เทียบประสิทธิภาพวัคซีน

“ประสิทธิภาพของ วัคซีน ในชีวิตจริง ใครรุ่ง ใครร่วง มาดูกัน และ ทำไม รมว.บางท่านฉีดแล้วยังติดเชื้อได้

หลังจากมหกรรมฉีด วัคซีน ครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มขึ้น ขณะนี้ทั่วโลกฉีดรวมกันแล้ว หลายร้อยล้านโดส

หลายคนคาดว่า สถานการณ์การระบาดน่าจะดีขึ้น แต่ในความจริง กลับไม่เป็นเช่นนั้น

สถานการณ์ โควิด-19 ในภาพรวม จะพบว่าเริ่มเข้า WAVE 4 บางประเทศทำ ยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสูงสุดอีกครั้ง อย่างเช่น อินเดีย, บราซิล

บางประเทศ ทำสถิติมีผู้เสียชีวิตสูงสุดต่อวันสูงสุด จนฝังไม่ทันต้องขุดศพเดิมขึ้นมา อย่างเช่น บราซิล (ตายถึงวันละกว่า 4,000 คน ตายประมาณ 3คน /นาที)

บางประเทศต้องล็อกดาวน์ อีกรอบ และการแพทย์ใกล้เกินขีดจำกัด อย่างเช่น ฝรั่งเศส

ในขณะที่บางประเทศ ควบคุมสถานการณ์ได้ ทั้งที่ในการระบาดรอบแรกพ่ายแพ้ต่อ โควิด อย่างราบคาบ เช่น สหรัฐ อังกฤษ อะไรทำให้ สหรัฐและ อังกฤษ รอบนี้รอดพ้นจากการระบาด Wave 4 ได้

สิ่งที่ทำให้สถานการณ์ในแต่ละประเทศแตกต่างกันมีหลายปัจจัย แต่หนึ่งในปัจจัยหลัก นั้นก็คือ การบริหารวัคซีน ซึ่งหมายถึง

  • วิธีการกระจายวัคซีน เพื่อให้เกิดความครอบคลุมมากพอจนให้เกิด herd immunity
  • ชนิดวัคซีน ที่เลือกฉีดให้แก่ประชาชน
  • วิธีการบริหารใน วัคซีน  ว่าจะเลือกให้คนกลุ่มใดก่อน

วัคซีน จำนวนฉีด

โดยความครอบคลุมในการฉีด วัคซีน เรา สามารถดูได้จาก กราฟที่ 1 จะพบ 5 ประเทศ อันดับแรก ที่ ประชาชนได้ วัคซีน อย่างน้อย 1 โดส ต่อ 100 คน

1. อิสราเอล 61%

2. อังกฤษ 46.5%

3. ชิลี 36.7 %

4. สหรัฐ 32.1%

5. บาร์เรน 31.4%

ทั้ง 5 ประเทศ เลือกใช้ วัคซีน คนละชนิด ดังนั้นเราสามารถดูประสิทธิภาพของวัคซีน ในสนามจริงคร่าวๆ จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวัน เทียบระหว่าง ก่อนและหลังฉีด 1 เดือน แล้วเป็นอย่างไรบ้าง

  • อิสราเอล และสหรัฐ เลือกใช้ แพลตฟอร์มวัคซีน เป็น m-RNA ของ ไฟเซอร์ / ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา
  • อังกฤษ เลือกใช้ แพลตฟอร์มวัคซีน เป็น ไวรัล เวกเตอร์ ของ ออกซ์ฟอร์ด / แอสตร้าเซนเนก้า เป็นหลัก, ไฟเซอร์ / ไบโอเอ็นเทค
  • ชิลี บริหารแบบหลายตัว แต่หลักๆ เป็นวัคซีน  ซื้อ+ บริจาคมาจากจีน ทั้ง ซิโนแวค, ไฟเซอร์ / ไบโอเอ็นเทค

แล้ว ใครรุ่ง ใครร่วง กันหล่ะ เรามาดูยอดผู้ติดเชื้อกัน

1. อิสราเอล และสหรัฐ : m-RNA กราฟที่ 2 เหมือนกันมาก คือ หลังจากมีการระดมฉีดวัคซีน ในช่วงก่อนปีใหม่ จากนั้น 1 เดือน กราฟจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ หักหัวลงชัดเจนจำนวน active case ลดลง จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงชัดเจน จนน่าจะกล่าวได้ว่าใกล้จะควบคุมได้แล้ว ไม่น่าจะต้องล็อกดาวน์อีก แต่น่าจะเปิดประเทศไม่ได้ เนื่องจากจำนวนประชากรที่ fully vaccinate ยังไม่ถึงระดับที่เกิด herd immunity

แต่ ประธานาธิบดีไบเดน น่าจะระดมฉีดจนถึงระดับที่เกิด Herd immunity ได้ภายในต้นปีหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า m-RNA เป็นแพลตฟอร์มวัคซีน ที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งในแง่การควบคุมโรค และลดความรุนแรงของโรค

ส่วนอาการข้างเคียง คือ เรื่องแพ้รุนแรงชนิด Anaphylaxis ที่พบได้บ่อยกว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ประมาณ 8-10 เท่า แต่ในด้านอื่น ๆ ถือว่ามีความปลอดภัยในระยะสั้นที่ดี

22
นพ.วัฒนพงศ์ ศุภมงคงชัยกุล

2. อังกฤษ เริ่มฉีด ช่วงปีใหม่ วัคซีนที่เลือกใช้ เป็นหลักคือ ไวรัล เวกเตอร์ ของ ออกซ์ฟอร์ด / แอสตร้าเซนเนก้า มีช่วงแรกที่ฉีดไฟเซอร์ แต่ฉีดแค่โดสเดียว เพื่อเน้นการเข้าถึงวัคซีน แต่ ประสิทธิภาพก็ออกมาดีมาก ไม่ต่างจากสหรัฐ

กล่าวคือ จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ จำนวน active case และจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงชัดเจน ในขณะที่ ฝรั่งเศส อ่วมจนต้อง ล็อกดาวน์ อีกรอบ แต่อังกฤษ ที่ระดมฉีดวัคซีน สามารถควบคุมการระบาดได้ ทั้งที่เจอเชื้อกลายพันธุ์

แต่จุดตาย วัคซีน ของ แอสตร้าเซนเนก้า คือ อาการข้างเคียง เนื่องจาก เป็นการฉีด Actived Virus ที่ยังมีชีวิต ดังนั้นจึงพบ Flu like illness ได้บ่อย และยังปัญหาเรื่องของลิ่มเลือดอุดตัน ที่เริ่มพบว่ามีความสัมพันธฺกับการฉีด

สามารถอ่านเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/175994423041493/posts/807304479910481

แต่โอกาสเกิดน้อยมาก คือ ประมาณ 6 ใน 1ล้านคน มักเกิดในสัปดาห์ที่ 1-2 หลังจากฉีด เทียบระหว่างโอกาสในในการติดเชื้อ กับโอกาสในการเกิดเลือดอุดตัน 30,000: 70 ล้าน VS 6 : 1 ล้าน จะเห็นว่า โอกาสติดเชื้อ สูงกว่า ถึง 70 เท่า ประโยชน์ น่าจะเยอะกว่าโทษแน่นอน

สรุปแล้ว ไวรัล เวกเตอร์ วัคซีน ของ ออกซ์ฟอร์ด / แอสตร้าเซนเนก้า เป็น แพลตฟอร์มวัคซีน ที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งในแง่การควบคุมโรคและลดความรุนแรงของโรค แต่ อาการข้างเคียง ในระยะสั้น เยอะกว่าวัคซีน m-RNA

วัคซีน 1

3. ชิลี เลือกใช้ เป็นหลักคือ Inactivated Virus ของ ซิโนแวค ซึ่งได้รับบริจาค+ซื้อ มาในช่วง กพ.ถึง มีนา มีตัวอื่น ๆ บ้างตามรูปด้านบน

1 เดือนหลังฉีด ปรากฏว่า ไม่ลดลงเลยจ้า แถมเจอ Wave 4 เต็ม ๆ ซึ่งอาจจะเป็นจาก ประสิทธิภาพของตัววัคซีน ที่มีผลการศึกษาระยะ 3 ที่ไม่โปร่งใสและไม่ผ่าน Peer Review
รวมถึง ผลการศึกษาที่ออกมก็ค่อนข้างด้อยกว่า ทั้ง แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ อยู่แล้ว, เจอสายพันธุ์บราซิล ที่ดื้อต่อวัคซีน, False sense of security

แต่แม้ว่า จะเจอ Wave 4 ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ทำ สถิติสูงสุด แต่อัตราตาย ก็ไม่เพิ่มขึ้น

ดังนั้น ซิโนแวค : Inactivated Virus platform เป็นแพลตฟอร์มวัคซีน ที่มีประสิทธิภาพสูง ในแง่การลดความรุนแรงของโรค แต่ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีพอ โดยประสิทธิภาพน่าจะต่ำกว่า 60% แน่ ๆ จึงทำให้ R0 ยัง >1 ส่งผลให้ไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดโรคโควิด-19 ดังจะเห็นได้จากใน ข่าว ที่ รมว. ฉีดซิโนแวคแล้วยังติดได้

จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้มีโอกาสสูงมากที่ ซิโนแวค ที่อาจจะไม่ได้รับการยอมรับใน สหรัฐ และสหภาพยุโรป และน่าจะไม่ดีพอ ที่จะทำให้เปิดประเทศ เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวได้

แต่ใช่ว่า ซิโนแวค จะไม่มีข้อดีเลย เนื่องจากเป็น ไวรัสเชื้อตาย และ ใช้วิธีการผลิตวัคซีน ดั้งเดิม จึงทำให้มีผลข้างเคียงน้อย และน่าจะมีความปลอดภัยในระยะยาวที่ดีกว่า เพราะทั้ง m-RNA + ไวรัล เวกเตอร์ ต่างก็เป็นแพลตฟอร์มวัคซีน ที่ใช้วิธีการส่ง rna เข้าไป ในเซลล์ และให้ร่างกาย code RNA เพื่อผลิต spike protein และไปกระตุ้นให้เกิด protective ab ต่อไป

ต่างกันแค่ วิธีการส่ง RNA เข้า เซลล์ โดย m-RNA (ไฟเซอร์, โมเดอร์นา) ใช้ Nano Lipid coating นำพาเข้าเซลล์, แอสตร้าเซนเนก้า, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ใช้ ไวรัส เวกเตอร์ ในการนำพา RNA เข้า เซลล์ ซึ่งผู้ผลิต ทั้ง 2 วิธี ต่างก็บอกว่า “Non-Replicate and Non integrated” หมายความว่า RNA ที่เข้าเซลล์เราไปนั้น จะไม่เพิ่มจำนวน และไม่เหลือซากอะไรไว้ในเซลล์ หรือ DNA เรา ตามที่ข้อมูลที่เรามีในปัจจุบัน

แต่ในอนาคตข้างหน้า เราอาจจะพบผลข้างเคียงในระยะยาว เกี่ยวกับ Immune system และ Cancer related หรือไม่ ก็ยังไม่มีใครตอบได้ คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

ถึงตอนนี้ ทุกคนคงบอกว่า ไม่มีตัวไหนดีเลย ตัวหนึ่ง ก็ดีด้าน Efficacy อีกตัว ก็efficacy ไม่ดี แต่ safety น่าจะดี อยากได้ทั้ง Efficacy + Safety

วัคซีน1

นั้นก็คือ แพลตฟอร์มวัคซีน ตัวสุดท้าย

Protein based Vaccine ==> โนวาแวกซ์ แทนที่ ต้องฉีดไวรัสทั้งตัว เหมือน ซิโนแวค ก็ฉีดเอาแค่เฉพาะหนามของไวรัส เพื่อเน้นให้เกิดภูมิ ต่อจุดที่ทำให้ติดเชื้อ แต่ไม่ต้องให้ร่างกายผลิตเอง แบบ แอสตร้าเซนเนก้า, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และไฟเซอร์ เพราะเราฉีดหนามแบบสำเร็จรูป ไปกระตุ้นภูมิให้เลย ทำให้ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวอะไรกับ เซลล์และดีเอ็นเอ

แถมเป็นวิธีการผลิตวัคซีน ที่ใช้มานานแล้ว กับ ไวรัสตับอักเสบ B เรียกว่า ได้ครบ ทั้ง efficacy + safety ผลของการทดลองระยะ 3 ก็ออกมาดีไม่แพ้แพลตฟอร์ม วัคซีน อื่น ๆ ทั้งสายพันธุ์ อังกฤษที่ไทยกำลังเจอจากคลัสเตอร์ทองหล่อ แต่เพิ่งเริ่มมีขาย+ผ่าน อย คงต้องรอดูผลงานจริง ในระดับหลักล้านโดสขึ้นไปก่อน จึงจะพอบอกได้ว่า มีประสิทธิภาพและ safety ที่ดีจริงเหมือน ในงานวิจัยหรือไม่

จากข้อมูลทั้งหมด สรุปได้ว่า “Any Vaccine is better than No Vaccine” แน่นอน ถ้ามีให้ฉีด ก็ฉีดเลย เพราะดีกว่าไม่ฉีดแน่นอน

แต่ไม่ใช่ วัคซีนทุกชนิด จะได้ผลเท่ากัน ดังนั้นสำหรับประเทศไทย ม้าตัวเต็ง และม้ารองเรา ไม่รู้ว่าจะมาทันเวลาไหม แต่ นายก ควรตั้งเป้าหมายของการฉีดวัคซีน และแจ้งประชาชนทราบว่า

1. หวังแค่ลด severe case เพื่อไม่ให้การแพทย์ล่มสลาย หรือหวังให้คุมได้ทั้งหมดเพื่อเปิดประเทศได้ เพราะวัคซีนบางชนิด อย่างเช่น ซิโนแวค ฉีดครบทั้งประเทศ ก็ไม่สามารถเกิด Herd immunity เพื่อเปิดประเทศได้ ดังเช่นที่เจอใน ชิลี เนื่องจากประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อต่ำเกินไป

2. จากเป้าหมายในข้อ 1 ต้องฉีดให้ประชากรกี่ % ถึงบรรลุเป้าหมายนั้น

3. จากข้อ 2 พอรู้ว่าต้องฉีดให้กี่คน เรามีวัคซีนเพียงพอไหม ถ้าไม่พอจะหาจากไหน

4. เรามีระบบและแบบแผนการฉีดให้รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์การระบาดอย่างไร

5. เราจะฉีดได้ครบตามเป้าหมายทั้งหมดเมื่อไร

6. เรามีแผนรองรับผลข้างเคียงหลังจากฉีด Vaccine ยังไง

ตอนนี้ ผมเองก็ยังไม่รู้คำตอบหรือ คำชี้แจงจากรัฐบาลเลยสักข้อ ดังนั้นในระหว่างที่รอวัคซีนจากรัฐบาล เราคงต้อง ยกการ์ดสูงสด ขึ้นมาอีกรอบ เพราะรอบนี้หนักแน่ กระจายไปหลายจุดแบบหาที่มาของเชื้อไม่เจอ แถมเจอเชื้อกลายพันธุ์อังกฤษที่แพร่เชื้อได้เร็วกว่าเดิม 1.7 เท่า และรุนแรงมากขึ้น มีอัตราตายที่สูงกว่าเชื้อสายพันธุ์เดิม

เพราะ ไม่ว่าวัคซีน ตัวไหนก็กันไม่ได้ 100% และประสิทธิภาพจะลดลงหรือใช้ไม่ได้เลย เมื่อเจอเชื้อกลายพันธุ์บางตัว แต่ ใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยง ไม่ว่าสายพันธุ์ไหน กลายพันธุ์แค่ไหน ก็ยังป้องกันและใช้ได้เสมอ ไม่มีเปลี่ยน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo