COVID-19

สธ.ยัน ยังไม่ระบาดระลอกสาม ฉีดวัคซีน 100% แล้ว 8 จังหวัด

สธ.ยัน ยังไม่ระบาดระลอกสาม เผยจังหวัดกาฬสินธุ์ พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายแรกของระลอกใหม่ เชื่อมโยงตลาดบางแค เผย 8 จังหวัด ฉีดวัคซีนเข็มแรกครบ 100%

นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สธ.ยัน ยังไม่ระบาดระลอกสาม เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศระลอกสองมีความต่อเนื่องจากปลายเดือน ธ.ค.63 เรื่อยมา ไม่ได้มีสาเหตุต้นทางแยกเด็ดขาดกัน เหมือนที่เกิดการแพร่ระบาดระลอกแรก

สธ.ยัน ยังไม่ระบาดระลอกสาม

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สถานการณ์ขณะนี้ มียอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ ลดลงเป็นลำดับ โดยรอบสัปดาห์นี้ พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 8 จังหวัด และอยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขสามารถควบคุมได้ และสามารถติดตามผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการได้มากขึ้น

ดังนั้น จึงยังจำเป็นต้องคงมาตรการชีวอนามัยอย่างเคร่งครัดต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดเกิดขึ้นอีก ขณะเดียวกันในทางระบาดวิทยา ต้องติดตามทิศทางการแพร่ระบาด เพื่อกำหนดแนวทางควบคุมให้เหมาะสมกับสถานการณ์

สำหรับวันนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 39 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาล 16 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชน 12 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 11 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต และรักษาหายเพิ่มขึ้น 74 ราย

ส่วนการติดเชื้อระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 29 มีนาคม 2564 มีผู้รักษาหายแล้ว 23,136 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.29 อยู่ระหว่างการรักษา 1,366 ราย และเสียชีวิตสะสม 34 คน

ในวันนี้พบผู้ติดเชื้อใน 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร 10 ราย กทม. 15 ราย ราชบุรี มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ จังหวัดละ 1 ราย

กาฬสินธุ์

ในส่วนของผู้ติดเชื้อรายแรกของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหญิง อายุ 35 ปี อาชีพพนักงานขายประกัน ในห้างสรรพสินค้า มีความเชื่อมโยงกับเพื่อน ที่ค้าขายอยู่ในตลาดบางแค โดยเมื่อวันที่ 22 มีนาคม เดินทางไปหาเพื่อนที่กทม. พักอาศัยอยู่ในห้องเดียวกัน ใกล้ชิด ไม่ได้สวมหน้ากาก

วันที่ 24 มีนาคม เดินทางกลับจ.กาฬสินธุ์ โดยเครื่องบิน จากนั้นวันที่ 26 มีนาคม เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ และวันที่ 27 มีนาคม เดินทางไปโรงพยาบาลตรวจหาเชื้อ ผลพบเชื้อ ขณะนี้เข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว

ในส่วนการฉีดวัคซีนโควิด 19 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 28 มีนาคม 2564 ฉีดวัคซีนแล้ว 154,293 โดส แบ่งเป็นฉีดเข็มแรกแล้ว 133,110 ราย ฉีดครบ 2 เข็ม 21,183 ราย ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย สำหรับจังหวัดที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกได้ครบ 100 % ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม ชลบุรี ภูเก็ต และสุราษฏร์ธานี

อย่างไรก็ตามแม้จะฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ขอให้ยังคงเข้มมาตรการป้องกันส่วนบุคคล สวมหน้ากากให้ได้ 100% เว้นระยะห่าง ล้างมืออย่างต่อเนื่อง หากประมาท การ์ดตก ก็มีโอกาสติดเชื้อได้

เฉวตสรร1 2
นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท

“ใกล้เข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ ควรมีการวางแผนการเดินทาง หลีกเลี่ยงจุดพักรถที่มีคนแออัด และขอความร่วมมือประชาชน เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิต แล้วอาจติดเชื้อโควิด 19 ได้ จากการมึนเมา ทำให้ขาดสติ ละเลยการเว้นระยะห่าง กินดื่มสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบการติดเชื้อในหลายครั้งที่ผ่านมา”นายแพทย์เฉวตสรรกล่าว

นพ.เฉวตสรร ยังกล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า ประเทศอินเดียชะลอการส่งออกวัคซีนโควิด โดยให้ความสำคัญกับการใช้ในประเทศมากขึ้น โดยยืนยันว่า ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบในส่วนนี้ เนื่องจากได้บริหารจัดการความเสี่ยงในการจัดหาวัคซีนโควิดไว้แล้ว

“ประเทศไทย มีมาตรการดูแลความเสี่ยงในหลาย ๆ ด้าน ถือว่าเราน่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากที่อินเดียใช้มาตรการลดการส่งออกวัคซีน” นพ.เฉวตสรร กล่าว

ขณะที่ความคืบหน้าในการกระจายและฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า นับตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-28 มี.ค.64 ได้กระจายวัคซีนซิโนแวก จำนวน 190,720 โดส ไปยัง 13 จังหวัด และวัควีนแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 79,780 โดส ไปยัง 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ 33,980 โดส สมุทรสาคร 30,000 โดส นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จังหวัดละ 5,000 โดส

สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศระลอกสองมีความต่อเนื่องจากปลายเดือน ธ.ค.63 เรื่อยมา ไม่ได้มีสาเหตุต้นทางแยกเด็ดขาดกันเหมือนที่เกิดการแพร่ระบาดระลอกแรก ดังนั้นจึงยังไม่ถือเป็นการระบาดระลอกสาม

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สถานการณ์ขณะนี้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่รายลดลงเป็นลำดับ โดยรอบสัปดาห์นี้ พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 8 จังหวัด และอยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขสามารถควบคุมได้ และสามารถติดตามผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการได้มากขึ้น ดังนั้นจึงยังจำเป็นต้องคงมาตรการชีวอนามัยอย่างเคร่งครัดต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดเกิดขึ้นอีก ขณะเดียวกันในทางระบาดวิทยาต้องติดตามทิศทางการแพร่ระบาด เพื่อกำหนดแนวทางควบคุมให้เหมาะสมกับสถานการณ์

นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า สำหรับประเด็นเสี่ยงของตลาดบางแคที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีแผงค้าจำนวนมาก ไม่มีการจัดหมวดหมู่ ทำให้เกิดปัญหาลูกจ้างรับส่งสินค้าหลายแผง การให้พ่อค้า/แม่ค้าเมียนมาเช่าแผงค้าต่อ การไม่ควบคุมเรื่องสุขอนามัย ปล่อยให้มีการบ้วนน้ำหมากลงพื้น ส่วนแผงค้าที่คนไทยเป็นเจ้าของขายเอง จะมีการดูแลเรื่องความสะอาดได้ดีและไม่พบการแพร่เชื้อ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo