COVID-19

อ่านเงื่อนไขด่วน! กทม. ออกประกาศคุมโควิด สงกรานต์ 10 – 15 เม.ย. 64

กทม. ออกประกาศคุมโควิด สงกรานต์ 10 – 15 เม.ย. 64 จัดงานกิจกรรมพื้นฐาน เกิน 100 คน กิจกรรมเพิ่มเติม เกิน 300 คน ต้องขออนุญาต สำนักงานเขตพื้นที่ก่อน

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า เนื่องจากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของแต่ละปี จะมีการจัดงาน หรือกิจกรรม เพื่อส่งเสริมประเพณี และวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ มีการเล่นสาดน้ำ ประแป้ง มีการรวมกลุ่มคน เป็นจำนวนมาก และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบ ทำให้ กทม. ออกประกาศคุมโควิด สงกรานต์ ปีนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ประเทศไทย ยังเผชิญภาวะการระบาดของ โรคโควิด-19

กทม. ออกประกาศคุมโควิด สงกรานต์

ทั้งนี้ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ในการประชุม ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 จึงมีมติเห็นชอบ มาตรการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ระหว่างวันที่ 10 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2564)

ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมติของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ดังกล่าว จึงประกาศมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม การแพร่ระบาดของโรค ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ดังนี้

1. การจัดกิจกรรม ในเทศกาลสงกรานต์ โดยกิจกรรมพื้นฐาน อาทิ การจัดพิธีสรงน้ำพระ รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ทางศาสนา การจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ สามารถดำเนินการได้

ทั้งนี้ ให้ผู้จัดกิจกรรมและประชาชน ปฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 โดยเคร่งครัด

กรณีมีผู้ร่วมกิจกรรมเกิน 300 คน ผู้จัดกิจกรรม ต้องยื่นแผนการจัดงาน และมาตรการควบคุมโรค ต่อ สำนักงานเขตพื้นที่ก่อนจัดงาน

2. การจัดกิจกรรม ในเทศกาลสงกรานต์ โดยมีกิจกรรมเพิ่มเติม จากกิจกรรมพื้นฐาน ตามข้อ 1 เช่น การออกร้าน การจัดเลี้ยง ซึ่งมีผู้ร่วมกิจกรรมเกิน 100 คน ผู้จัดกิจกรรม ต้องยื่นแผนการจัดงาน และมาตรการควบคุมโรค ต่อสำนักงานเขตพื้นที่ก่อนจัดงาน

กทม. side

ทั้งนี้ ควรจัดในพื้นที่โล่งแจ้ง อากาศระบายได้ดี หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมพื้นที่คับแคบ หรือในพื้นที่ห้องปรับอากาศ และให้งดกิจกรรม ที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมากและอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบ หรือกิจกรรมที่มีการสัมผัสใกล้ชิดกัน เช่น การรวมกลุ่มเล่นสาดน้ำ คอนเสิร์ต ประแป้ง ปาร์ตี้โฟม

3. ควรหลีกเลี่ยงการจัดเลี้ยง และสังสรรค์ ในกลุ่มที่มาหลากหลายพื้นที่ และควรงดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มร่วมกัน เป็นเวลานาน

ผู้ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตาม อาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อ ประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่ง พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2564

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo