COVID-19

‘หมอธีระวัฒน์’ เตือนภัย ระวังไวรัสกลายพันธุ์ ‘เชื้อไทยแลนด์’

หมอธีระวัฒน์ เตือนภัย ฉีดวัคซีนช้า ปล่อยแพร่ระบาดรุนแรง เปิดโอกาสกลายพันธุ์ สร้างเชื้อไทยแลนด์ ลั่นอย่ามัวเปรียบเทียบ “ได้ฉีดก็ดีแล้ว”

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” โดย หมอธีระวัฒน์ เตือนภัย ปล่อยโควิดแพร่ระบาด ระวังกลายพันธ์ุ สร้างเชื้อไทยแลนด์ อย่ามัวเทียบประสิทธิภาพ ฉีดไว้ก่อนดีที่สุด โดยระบุว่า

shutterstock 1794475414
Russian COVID-19 Coronavirus Vaccine and Syringe Concept Image. 3d illustration.

“ฉีดไปแล้ว หวังว่า ถ้าติดจะได้ไม่ตาย แพร่เชื้อได้น้อย และระยะสั้น

ระวัง ต่างประเทศฉีดไปมากมายแล้วยังติดน่ากล้ว ไม่นับ เชื้อเก่งกาจ ร้ายกาจขึ้น

ฟิลิปปินส์ เชื้อใหม่ควบสามสาย

อินเดีย ดับเบิ้ล พันธุกรรมผันแปร E484Q-L452R; variant with the mutations designated E484Q and L452R แยกเชื้อจากในเขตที่ระบาดหนัก

ถ้าเราปล่อยให้ระบาดมากจะเจอคนป่วยจริงๆหนักๆมากขึ้นเรื่อยๆ และจะมีเชื้อไทยแลนด์ ผันแปรเอง”

ก่อนหน้านี้ หมอธีระวัฒน์ ยังโพสต์ถึงกรณีการฉีดวัคซีนโควิดไว้ ดังนี้

“พูดกันทั่วไป ก็จะเอาแต่ วัคซีน ตัวนั้น เพราะดีหรือเหนือกว่าตัวนี้

มีฉีดก็ดีแลัวครับ

หมอธีระวัฒน์ เตือนภัย

เช่น ตัวนั้นมีประสิทธิภาพ 95% 94% บ้าง ดีกว่าตัวอื่น ที่ เพียง 50 หรือ 60 % บ้าง

ทั้งนี้การประเมินไม่ได้ทำในช่วงเวลาเดียวกัน แม้ในประเทศเดียวกัน ช่วงเวลาประเมินนั้น มีอัตราการติดเชื้อสูงต่ำไม่เท่ากัน

และแม้กระทั่งทำในต่างประเทศ ออกไปจากประเทศที่ผลิต ก็จะมีเขื้อหน้าตาผิดเพี้ยน ที่ทำให้ วัคซีนนั้น ๆ ดูจะเก่งน้อยกว่า แต่ความจริงแค่นั้น ก็เก่งแล้ว

เป็นการยากที่จะเปรียบเทียบ แบบ head to head แข่งกันตัวต่อตัว เพราะต้องทำในเวลาเดียวกันในกลุ่มคนพื้นเพ ในพื้นที่เดียวกัน และเชื้อหน้าตาเหมือนกัน

สรุป อย่ากังวลเรื่อง % ตัวนั้นเก่งกว่าตัวนี้ “ได้ฉีดก็ดีแล้ว”

เพียงแต่ คนเปราะบางโรคประจำตัว สูงวัย “อยากได้” ที่เป็นเชื้อตาย (เช่น หมอเอง) ห้ามหาว่าหมอยุยงนะครับ พูดถึง คน สว

ในทางกลับกัน คนแข็งแรงหนุ่มสาวอายุน้อย กว่า 55 มีปฏิกิริยาแทรกซ้อนได้บ้าง แต่ย้ำน้อยมาก ๆ และเป็นกับวัคซีน ได้ทั้ง แอสตร้า และ ไฟเซอร์

เป็นการตอบสนองต่อวัคซีนของคนบางคน ที่เก่งกาจเกินไป (robust immune response) มีเลือดดำข้นได้และตัน ในตำแหน่งที่ไม่ธรรมดา เช่น ในท้อง และในสมอง ร่วมกับการที่มีเกร็ดเลือดต่ำ หรือ มีลักษณะคล้าย DIC

ลักษณะเช่นนี้ เลียนแบบสิ่งที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ โควิด-19 ที่ติดเชื้อ แล้ว กระตุ้นภูมิ แต่แล้วหมกมุ่นอยู่กับระบบ innate เกิดวงจรอักเสบ และต่อไปถึงระบบเลือดแปรปรวน

และบางรายเป็น “แพ้ จริงๆ” โดย มึ ภูมิต้านทานต่อเกร็ดเลือด ทำให้ เลือดออกง่าย (ITP) หรือ ช็อค หรือมี ระบบประสาทอักเสบ เป็นต้น

และประการสุดท้าย อย่าลืมว่าระลอกสาม ของจริง เชื้อเพี้ยน วัคซีนที่ฉีดไปทำอะไรไม่ได้ และติดใหม่ได้

ประเทศบราซิลปี 2563 ติดไปเกินครึ่งประเทศ 67% โดยต้องมีภูมิคุ้มกัน จากการติดเชื้อธรรมชาติ

แต่แล้ว ปลายปี 2563 ถึงปัจจุบันกลับติดเชื้อ มีอาการรุนแรงเข้าโรงพยาบาลมากมาย”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo